Read Time:19 Second
การจัดทำบัญชีรายการวิเคราะห์ต้นทุนบริการ
Read Time:19 Second
วงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle หรือ CCC) เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินในธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการเปลี่ยนสินทรัพย์ให้กลายเป็นเงินสด วงจรเงินสดแสดงระยะเวลาที่ธุรกิจต้องรอเพื่อแปลงสินค้าคงคลังและลูกหนี้ให้เป็นเงินสด ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงเวลาที่ต้องชำระให้กับเจ้าหนี้
วงจรเงินสดสามารถคำนวณได้จากสูตรดังนี้:
CCC = DIO + DSO – DPO
โดยที่:
สมมติว่าธุรกิจมีข้อมูลดังนี้:
วงจรเงินสดจะเท่ากับ:
CCC = 30 + 45 – 20 = 55 วัน
ซึ่งหมายความว่า ธุรกิจต้องใช้เวลา 55 วันในการแปลงสินทรัพย์และหนี้สินให้กลายเป็นเงินสด
ตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ ให้ถือปฏิบัติการจัดทำและนำเสนอรายงานงบการเงินที่จัดทำตามหลักบัญชีเกณฑ์คงค้าง โดยรับรู้รายการที่เกี่ยวข้องในงวดบัญชีที่เกิดรายการ นั้น
จากการตรวจสอบงบทดลองหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ พบว่าหน่วยบริการรับรู้รายได้ไม่ตรงงวดบัญชี ได้แก่ บัญชีรายได้ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-OP/P จากสปสช. ในปังบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นการรับโอนเงินค่าบริการจากผลการดำเนินงานปีก่อน ทั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งแนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด 19 เพื่อรองรับการเป็นโรคประจำถิ่น มีผลตั้งแต่การให้บริการวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เพื่อให้หน่วยบริการปฏิบัติตามแนวทางบัญชีเกณฑ์คงค้างสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ จึงเห็นควรแจ้งเป็นแนวทางให้หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขปฏิบัติดังนี้
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณ์สุข กระทรวงสาธารณสุข
กองสาธารณสุขท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๘ กำหนดให้รัฐต้องมีการกระจายอำนาจทางปกครองไปให้ท้องถิ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และแบ่งเบาภาร กิจของส่วนกลาง รวมทั้งให้อำนาจแก่ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น โดยในปัจจุบันได้มีการกำหนดให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดการด้านสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น โดยมีกฎหมายที่กำหนดบทบาทของท้องถิ่นในด้านสาธารณสุขไว้ เช่น พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นต้น
กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต) โดยกำหนดจากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม เกิดการบูรณาการการดำเนินงานทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค รักษา ฟื้นฟูสุขภาพ และคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่หรือท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดความซ้ำซ้อนและช่องว่างในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่และเพื่อส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขขอขอบคุณผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีส่วนร่วมในการจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ฯ ฉบับนี้ ให้มีความสมบูรณ์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ฯ ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. และเทศบาล) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ต่อไป
การตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ มีหลายระบบแตกต่างกันเช่น ระบบกราวิเมตริก (Gravimetric) ระบบเบต้า เร (Beta Ray) ระบบเทบเปอ อิลิเม้น ออสชิเลติ้ง ไม่โครบาลานซ์ (Tapered Element Oscillating Microbalance) และระบบได้โคโตมัส (Dichotomous) เป็นต้น แต่ระบบที่ง่ายในการหาความเข้มข้น ของฝุ่นละอองรวมหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (Total Suspended Particulate Matter, TSP) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (Particulate Matter with an aerodynamic diameter less than or equal to a nominal 10 micrometers; PM10) คือระบบกราวิเมตริก ด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอากาศชนิดไฮโวลุม (High Volume Air Sampler)
คู่มือการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ เล่มนี้ ได้รวบรวมเทคนิควิธีการ เครื่องมือและอุปกรณ์ ในการตรวจวัด TSP และ PM, ด้วยระบบกราวิเมตริก โดยเรียบเรียงอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เข้าใจง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศที่ถูกต้อง สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในภาครัฐ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น เอกชน ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไป ให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการติดตามตรวจสอบ เฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองในบรรยากาศได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อสนับสนุนงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศของประเทศ ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
หน่วยบริการปฐมภูมิ หรือ สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม้จะเป็นหน่วยบริการเล็กๆ หรืออาจจะเล็กที่สุดในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ไม่ว่าจะเป็นความเล็กของสถานที่ ของทรัพยากรบุคคล หรือแม้แต่เครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับหน่วยบริการระดับโรงพยาบาล แต่เป็นหน่วยบริการที่สำคัญมีคุณค่ายิ่งนัก เป็นฟันเฟืองที่สำคัญของการพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีความใกล้ชิด มีความผูกพัน มีความเข้าใจสภาพของชุมชน
และประชาชนในพื้นที่ได้อย่างดีที่สุด ในบางพื้นที่อาจจะจัดได้ว่าเป็นจุดเล็กๆที่มีพลังมากที่สุดในเครือข่ายบริการปฐมภูมิก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นที่ที่ประชาชน และชุมชนให้ความรัก ความศรัทธาเป็นอย่างมาก หน่วยบริการปฐมภูมิหรือจะเรียกว่าสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจึงถือได้ว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการจัดบริการปฐมภูมิ ขอเพียงแต่หน่วยบริการเล็กๆเหล่านี้มีความเข้มแข็ง มีกำลังใจ มีความมุ่งมั่น และความตั้งใจที่จะให้บริการสุขภาพที่ตอบสนองสภาพปัญหา ความต้องการของประชาชนและซุมชน เชื่อว่า สุขภาวะที่ดีของประชาชนและชุมชนคงเกิดได้ไม่ยากนัก “เครื่องมือทบทวนและพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ” จึงได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยบริการปฐมภูมินำไปใช้ในการประเมินหรือทบทวนตนเองบนความคาดหวังว่า “เครื่องมือทบทวนและพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ” นี้จะช่วยให้หน่วยบริการปฐมภูมิมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพที่มีความจำเพาะ และมีความพิเศษสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมินั้นๆ เป็นสำคัญ
จากการที่ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายที่จะพัฒนาสาธารณสุขส่วนภูมิภาคในระดับอำเภอให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และได้สั่งให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) วัตถุประสงค์ให้องค์กรดังกล่าวรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับ การประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ประสานการปฏิบัติงาน รวมทั้งช่วยติดตามและประเมินผลงานสาธารณสุขระดับอำเภอ แต่เนื่องจากมีการ”ปรับเปลี่ยนระบบการดูแลสุขภาพ ก่อให้เกิดการจัดบริการสุขภาพ ในรูปแบบ ศูนย์สุขภาพชุมชน รวมทั้งการจัดงบประมาณต่อหัวประชากรลงสู่คู่สัญญาการให้บริการระดับปฐมภูมิ (Contracting Unit for Primary Care: CUP) ที่ผ่านมาการบริหารจัดการในรูปแบบเครือข่ายบริการระดับปฐมภูมิ ยังไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งการขาดความชัดเจนในรูปแบบการดำเนินการในเครือข่าย ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาสาธารณสุข ตามแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพอย่างมาก
ดังนั้น จึงได้หาแนวทางแก้ปัญหาโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยเชิญผู้แทนจากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ เข้าร่วมประชุมหารูปแบบที่เหมาะสม มติที่ประชุมได้ตกลงให้มี คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ( คปสอ.) เช่นเดิม แต่ปรับบทบาทภารกิจของคณะกรรมการฯ ให้มีแนวทางดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการเครือข่ายบริการทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ รวมทั้งการประสานงานที่ดีระหว่าง โรงพยาบาล, สถานีอนามัย, สาธารณสุขอำเภอและหน่วยที่จัดบริการด้านสุขภาพระดับต่างๆ รูปแบบการบริหารและพัฒนาเครือข่ายบริการทั้ง 3 ระดับนี้ จะนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้เป็นจริงยิ่งขึ้น
ชื่อองค์กร คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.)
ชื่อภาษาอังกฤษ District Health Coordinating Committee คำย่อ DHCC
องค์ประกอบหลักของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ จำนวน 10-20 คน ประกอบด้วย
ประธาน กำหนดให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้พิจารณา โดยความเห็นชอบของผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต และเสนอให้ผู้ว่าราชการแต่งตั้ง
เลขานุการ เลือกจากผู้เป็นกรรมการในที่ประชุม โดยความเห็นชอบของประธาน
การประชุม กำหนดให้ต้องมีการประชุมทุกเดือน
คณะกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ( คปสอ.) ซึ่งคัดเลือกจากองค์ประกอบในส่วนโรงพยาบาลและสาธารณสุขอำเภอฝ่ายละเท่าๆ กัน และคัดเลือกผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยละ 1 คน และให้คณะกรรมการฯ มีวาระ 1 ปี สำหรับประธานคณะกรรมการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้พิจารณา และเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง พร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ( คปสอ.) ให้กับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
กรอบอำนาจหน้าที่ และบทบาทของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) มีดังนี้
เป้าหมายสูงสุดในการดูแลสุขภาพ ของ คณะกรรมการประสานการพัฒนาสาธารณสุขระดับอำเภอ(คปสอ.) คือ “ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่ดี” โดยเชื่อมโยงกับโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงเป็นผู้บริหารจัดการโครงการประกันสุขภาพในระดับเครือข่ายปฐมภูมิ และเชื่อมต่อกับระดับทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการให้บริการด้านสุขภาพ และสามารถบริหารจัดการในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นการ วางแผนคน แผนเงิน และแผนงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารและการบริการดีขึ้น และเกิดประโยชน์กับราชการอย่างแท้จริงต่อไป
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔’๖ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ก.พ. รวมทั้งให้สอดคล้องกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrtty and Transparency Assessment : ITA) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงกำหนดนโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดังนี้
จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน
บระกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖