หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยภาวะตาอักเสบซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง

0 0
Read Time:2 Minute, 33 Second

อ้างอิงหนังสือกรมบัญชีกลางที่

กค 0416.2/ว681 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2564

ด้วยกรมบัญชีกลางได้ดำเนินการจัดทำระบบเบิกจ่ายตรงสำหรับผู้ป่วยภาวะตาอักเสบจากโรคในกลุ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ได้แก่ Behcet, Noninfectious necrotizing scleritis, Ocular sarcoidosis และ Vogt Koyanagi Harada (VKH disease) ที่ไม่ตอบสนองหรือตอบสนองไม่เพียงพอต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน และมีความจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ลดโอกาสสูญเสียสายตาอย่างถาวร และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสมจำเป็น และปลอดภัย รวมทั้งเพื่อให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมบัญชีกลางโดยได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้

  1. กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ป่วยภาวะตาอักเสบจากโรค Behcet, Noninfectious necrotizing scleritis, Ocular sarcoidosis และ Vogt Koyanagi Harada (VKH disease) ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยา Adalimurab และ Infliximab โดยให้สถานพยาบาลดำเนินการลงทะเบียนแพทย์ผู้รักษา ผู้ป่วย แล้วส่งข้อมูลตามโปรโตคอลที่กำหนดในระบบ Uveitis ทางเว็บไซต์ https://bialogic.mra.or.th/index.php เพื่อขออนุมัติเบิกจ่ายค่ายาหรือขอต่ออายุการเบิกจ่ายค่ายา หรือขอหยุดการใช้ยา ตามแนวทางปฏิบัติที่สำนักวิจัยเพื่อพัฒนาการตรวจสอบการบริการสาธารณสุข (สพตส.) กำหนด สำหรับการเบิกจ่าย ให้เบิกจ่ายค่ายาในระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น โดยให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนดตามหนังสือที่อ้างถึง อีกทั้งการใช้ยาดังกล่าวต้องเป็นไปตามเงื่อนไขข้อบ่งขี้ที่กำหนดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย จึงสามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้
  2. สำหรับยาชีววัตถุและยาสังเคราะห์มุ่งเป้าซึ่งใช้ในการรักษาภาวะตาอักเสบจากโรคในกลุ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติข้างต้น ที่อยู่นอกระบบ Uveitis เช่น Golimumab เป็นต้น จะไม่สามารถเบิกจ่ายได้ อย่างไรก็ตาม กรมบัญชีกลางได้เร่งทยอยพิจารณาการปรับรายการยาที่จำเป็นเข้าระบบ Uveitis ต่อไป
  3. กรณีที่สถานพยาบาลจำเป็นต้องออกใบเสร็จรับเงิน ค่ายาชีววัตถุและยาสังเคราะห์มุ่งเป้าซึ่งใช้ในการรักษาภาวะตาอักเสบจากโรคในกลุ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติข้างต้น ทั้งที่เป็นยาในระบบ Uveitis และนอกระบบ Uveitis ให้แจงรายละเอียดชื่อรายการยา โดยระบุเป็น “ค่ายาที่เบิกไม่ได้” และมิให้ออกใบรับรองในการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เนื่องจากผู้มีสิทธิไม่สามารถนำใบเสร็จรับเงินค่ายาดังกล่าวทุกรูปแบบ ขนาด และความแรง มายื่นเบิกเงินกับส่วนราชการต้นสังกัดได้

ทั้งนั้นให้มีผลใช้บังคับสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป

แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Adalimumab และ Infliximab ข้อบ่งใช้โรค Behcet,Noninfectious necrotizing scleritis, Ocular sarcoidosis และ Vogt Koyanagi Harada (VKH disease)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

หลักเกณฑ์ HI CI สิทธิข้าราชการ

0 0
Read Time:1 Minute, 16 Second

กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการให้การรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ ที่สถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานที่อื่นที่สถานพยาบาลของทางราชการได้จัดเตรียมไว้เป็นอย่างมาก กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์ จึงได้กำหนดแนวทางการให้การรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ ที่บ้าน (Home Isolation) หรือในสถานที่อื่น ๆ (Community Isolation) ระหว่างรอเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน ประกอบกับได้มีการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่กระตุ้นการเกิดหลอดเลือดอุดตันจากภูมิคุ้มกันภายหลังได้รับวัคซีน (Vaccine-induced immune thrombotic thrombocytopenia (VT) เพื่อพิจารณาปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมการรักษาพยาบาลกรณีดังกล่าว

ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๘ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมบัญชีกลางโดยได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ อัตรา วิธีการ และเงื่อนไข การเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒0๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ (ฉบับที่ ๓) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว รายละเอียดปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย

Happy
0 0 %
Sad
1 100 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การจัดทำข้อมูล Lab catalog ของหน่วยบริการที่ส่งข้อมูลสิทธิข้าราชการ ผ่าน สปสช.

0 0
Read Time:1 Minute, 32 Second

ตามที่กรมบัญชีกลาง มีนโยบายให้สถานพยาบาลส่งข้อมูลการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นแบบรายละเอียดตามรายการในแต่ละหมวดค่ารักษานั้น กรณีการบันทึกข้อมูลเบิกจ่ายในหมวด 7 การตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา กำหนดให้สถานพยาบาลจัดทำรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยให้ระบุรหัสมาตรฐานการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ไทย (TMLT) ซึ่งการกำหนดรหัสดังกล่าวดำเนินการโดยสำนักพัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (สมสท.)

ในการนี้เพื่อให้การจัดทำบัญชีข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และพยาธิวิทยา (Lab catalog) ของสถานพยาบาลมีความครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)จึงขอแจ้งแนวทางการดำเนินการ ดังนี้

  1. สถานพยาบาลจัดทำบัญชีข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และพยาธิวิทยา (Lab catalog) ซึ่งประกอบด้วย รหัส Lab ของโรงพยาบาล,รหัส TMLT, รหัสในหมวด 7 ของกรมบัญชีกลางส่งไปยังสำนักพัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (สมสท.) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
  2. การส่งข้อมูล Mapping ให้ส่งผ่านโปรแกรม TMLT Mapping ซึ่ง Download ได้ทางเว็บไซต์ สมสท. ทาง =>> https://this.or.th/
  3. เมื่อผลการ Mapping ผ่านการตรวจสอบจาก สมสท. แล้ว จึงนำไฟล์ดังกล่าวส่งผ่านเวบhttps://catalogue.nhso.go.th/labcatalogue/ ของ สปสช.
  4. Lab catalog ที่ผ่านการอนุมัติจาก สปสช. แล้ว สถานพยาบาลดาวโหลดไฟล์ที่ได้รับการอนุมัตินำเข้าโปรแกรม e-claim เพื่อดำเนินการบันทึกข้อมูลการเบิกจ่ายต่อไป

การติดต่อประสานงาน

  • Drug catalog : เมลล์ tmt.nhso@gmail.com / หมายเลขโทรศัพท์ 02-832-9298
  • Lab catalog : เมลล์ tmlt.nhso@gmail.com / หมายเลขโทรศัพท์ 02-832-9295 ,02-832-9299

หมายเหตุ : กรณีบัญชีข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และพยาธิวิทยา (Lab catalog) ของสถานพยาบาลที่เคยผ่านการอนุมัติจาก สปสช.แล้ว แต่หากตรวจพบในภายหลังว่ารหัสไม่ถูกต้องตามที่ สมสท.กำหนด ข้อมูลการเบิกจ่ายหลังจากนั้นจะไม่ผ่านการตรวจสอบ ขอให้สถานพยาบาลดำเนินการตามที่แจ้งข้างต้นใหม่อีกครั้ง

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

TMLT-แนวทางปฏิบัติการเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล หมวด 6

0 0
Read Time:1 Minute, 18 Second

ตามที่ กรมบัญชีกลางได้กำหนด ให้ระบุรหัสรายการหมวด 6 และหมวด 7 ในการส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลตามที่อ้างถึง 1. นั้น ซึ่งสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส. ได้แจ้งแนวทางปฏิบัติให้สถานพยาบาลจัดส่งรหัส TMLT เฉพาะหมวด 7 ตามที่อ้างถึง 2. นั้น บัดนี้ สำนักพัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (สมสท .) ได้จัดทำรหัส TMLT ของรายการหมวด 6 (ค่าบริการโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต) แล้ว สกส. จึงขอแจ้งแนวทางปฏิบัติการเบิกงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล หมวด 6 ดังนี้

  1. ให้สถานพยาบาลจัดทำข้อมูลบัญชีอ้างอิงการตรวจห้องปฏิบัติการ (Lab catalog) ของรายการค่ารักษาพยาบาลหมวด 6 โดยมีโครงสร้าง รูปแบบ ขั้นตอน และการบันทึกช้อมูล เหมือนกับรายการหมวด 7 ที่สถานพยาบาลได้ปฏิบัติแล้ว ตามที่อ้างถึง 2.
  2. กำหนดระยะเวลาการดำเนินการ
    • 1 กรกฎาคม 2564 สกส. เริ่มรับ Lab catalog หมวด 6
    • 1 สิงหาคม 2564 สกส. เริ่มติดรหัสเตือน ในข้อมูลเบิก
    • 1 ตุลาคม 2564 สกส. เริ่มติดรหัส Error (ติด C) ในข้อมูลเบิก

ติดต่อเพิ่มเติมที่ ส่วนงานมาตรฐานและบริการสารสนเทศระบบบริการสาธารณสุข สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ
โทร. 0-2298-0405-8 ต่อ 110,114, 122,125

อ้างถึง

1.หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0416.2/ว 372 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2561
2.หนังสือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เลขที่ สวรส 04.1/0173 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2563
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version