กรมบัญชีกลางปรับหลักเกณ์เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

0 0
Read Time:3 Minute, 25 Second

ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง
ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๖๒
ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๖

อ้างอิงถึง

๑. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๓๓ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑
๒. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๓๔ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑
๓. หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๘๕ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
๔. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๑๒๒ ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒

สิ่งที่ส่งมาด้วย

๑. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Sorafenib ในโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma (ปรับปรุงครั้งที่ ๑)
๒. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Sorafenib ในโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย (ปรับปรุงครั้งที่ ๑)
๓. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Lenvatinib ในโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma
๔. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Lenvatinib ในโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย
๕. รายการและอัตราเบิกจ่ายค่ายา

ตามหนังสือที่อ้างถึง ๑ – ๔ กรมบัญชีกลางได้กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง และดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง นั้น
กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสม จำเป็น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเพื่อให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นไปอย่างสมเหตุผล ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล .ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมบัญชีกลางโดยได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้

  • ๑. ปรับปรุงรายการยาและเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายาในโครงการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา (ระบบ OCPA) ดังนี้
    • ๑.๑ ปรับปรุงเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายา Sorafenib ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma (HCC) และโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย รายละเอียดปรากฎตาม สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ และ ๒
    • ๑.๒ กำหนดเพิ่มรายการยา Lenvatinib ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma (HCC) และโรคมะเร็งไทรอยด์ ระยะแพร่กระจาย พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายาดังกล่าว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๓ และ ๔ โดยสถานพยาบาลจะต้องดำเนินการลงทะเบียนแพทย์ผู้ทำการรักษา และผู้ป่วย และส่งข้อมูลตามโปรโตคอลที่กำหนดในระบบ OCPA เพื่อขออนุมัติเบิกค่ายา หรือขอต่ออายุการเบิกค่ายา หรือขอหยุดการใช้ยาตามแนวทางที่หน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายจากกรมบัญขีกลางกำหนด และให้เบิกจ่ายค่ายาในระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น รวมทั้งการใช้ยาดังกล่าวต้องเป็นไปตามเงื่อนไขข้อบ่งขี้ที่กำหนด จึงจะสามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้
  • ๒. ผู้มีสิทธิไม่สามารถนำใบเสร็จรับเงินค่ายา Lenvatinib และ Sorafenib ทุกรูปแบบ ขนาดและความแรง มายื่นเบิกเงินกับส่วนราชการต้นสังกัดได้ หากสถานพยาบาสมีการออกใบเสร็จรับเงินค่ายาดังกล่าวให้แจงรายละเอียดชื่อรายการยา โดยระบุเป็น “ค่ายาที่เบิกไม่ได้” และไม่ให้มีการออกใบรับรองในการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
  • ๓. กำหนดอัตราเบิกจ่ายค่ายา Lenvatinib และ Sorafenib รายละเอียดปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๕ โดยให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินอัตราที่กำหนด และให้ใช้กับการรักษาทุกข้อบ่งซี้ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับกับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เป็นต้นไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป อนึ่ง สามารถดาวน์โหลดหลักเกณฑ์ แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา รวมทั้งรายการและอัตราเบิกจ่ายค่ายา ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ – ๕ ได้ที่เว็บไชต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th หัวข้อ รักษาพยาบาล/ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล/รายการยาที่กรมบัญชีกลางกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง

0 0
Read Time:3 Minute, 1 Second

หนังสือกรมบัญชีกลางที่ กค 0416.2/ว1342 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2565 เรื่องปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง

ตามหนังสือที่อ้างถึง ๑ – ๕ กรมบัญชีกลางได้กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง และดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง นั้น
กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสมจำเป็น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเพื่อให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นไปอย่างสมเหตุผล ดังนั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมบัญชีกลางโดยได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้

  • ๑. ปรับปรุงหรือกำหนดเพิ่มเงื่อนไขข้อบ่งขี้ในการเบิกจ่ายค่ายาในโครงการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโร่คมะเร็งและโลหิตวิทยา (ระบu OCPA) ดังนี้
    • ๑.๑ ปรับปรุงเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายา Trastuzumab และ Pertuzumab ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเต้านม รายละเอียดปรากฎฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ และ ๒
    • ๑.๒ ยกเลิกเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายา Imatinib ในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ ชนิด Gastrointestinal Stromal Tumor (GIST) ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๒ ของหนังสือที่อ้างถึง ๒ และกำหนดเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายา Imatinib ในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ชนิด GIST และโรคมะเร็งผิวหนังชนิด Dermatofibrosarcoma protuberans (DFSP) รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๓
    • ๑.๓ กำหนดเพิ่มเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายา Trastuzumab ในการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะลุกลามหรือแพร่กระจาย รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๔
  • ๒. กำหนดอัตราเบิกจ่ายค่ายา Imatinib และ Trastuzumab รายละเอียดปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๕ โดยให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินอัตราที่กำหนด และให้ใช้กับการรักษาทุกข้อบ่งชี้

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ตามข้อ ๑.๑ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เป็นต้นไป สำหรับหลักเกณฑ์ตามข้อ ๑.๒ ๑.๓ และ ๒ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เป็นต้นไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป อนึ่ง สามารถดาวน์โหลดหลักเกณฑ์ แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา รวมทั้งรายการและอัตราเบิกจ่ายค่ายา ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ – ๕ ได้ที่เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง ww.w.cgd.go.th หัวข้อ รักษาพยาบาล/ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล/กฎหมายระเบียบและหนังสือเวียน (สวัสดิการรักษาพยาบาล)

กองสวัสดิการรักษาพยาบาล กลุ่มงานนโยบายสวัสดิการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง
โทร. ๐๒๑๒๗ ๗๐๐๐ ต่อ ๖๘๕๐
โทรสาร ๐๒๑๒๗ ๗๑๕๗

หนังสือแจ้งและสิ่งที่ส่งมาด้วย

เงื่อนไขการตรวจสอบกรณีส่งข้อมูลผ่านระบบของ สกส.
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือการจัดทำ Drug Catalog สกส.

0 0
Read Time:3 Minute, 6 Second

แนวทางในการจัดทำบัญชีรายการยาอ้างอิง drug catalog และช่องทางการส่งรายการที่มีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมให้แก่ สกส. เพื่อใช้กับระบบเบิกจ่ายตรงของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

กรมบัญชีกลางได้กำหนดให้สถานพยาบาล 34 แห่งในปี 2554 และอีก 134 แห่งในปี 2555 ส่งข้อมูลการเบิกระบบจ่ายตรงผู้ป่วยนอกสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรายละเอียดของยาแต่ละตัว บัญชีรายการยาอ้างอิงของสถานพยาบาล (drug catalog) เป็นรายการยาทั้งหลายที่สถานพยาบาลมีใช้และสั่งจ่ายให้แก่ผู้ป่วย สำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) ขอให้สถานพยาบาลจัดส่ง drug catalog นี้ให้แก่ สกส. ซึ่งใช้บัญชีรายการยานี้เป็นชุดข้อมูลอ้างอิงสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเบิกของแต่ละสถานพยาบาล และเนื่องจากรายการยาและราคายามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ จึงมีความสำคัญยิ่งที่สถานพยาบาลจะต้องปรับปรุงบัญชีนี้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ และจัดส่งรายการที่มีการปรับปรุงไปยัง สกส. อย่างสม่าเสมอ เนื่องจากการตรวจสอบข้อมูลเบิกจะใช้รายละเอียดของยาแต่ละรายการในบัญชี ทั้งตัวยา, ราคาและวันที่กำหนดใช้ราคา, และเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวกับการเบิกจาก drug catalog ของแต่ละสถานพยาบาลเป็นเกณฑ์
ในปี 2556 กรมบัญชีกลางประกาศใช้รหัสยาและข้อมูลยาจาก TMT เป็นข้อมูลอ้างอิงที่ใช้กับระบบเบิกค่ารักษาพยาบาลของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ในปี 2557 กรมบัญชีกลางมีแผนปรับปรุงข้อมูลยาที่ส่งเบิกให้ได้ข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน สามารถใช้ติดตาม, วิเคราะห์และกำกับมาตรการที่ส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสมที่มีแผนดำเนินการในปีนี้ และมาตรการอื่นที่จะมีตามมาตามความพร้อมของระบบงานของสถานพยาบาล โดย ศมสท ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด สวรส. ได้พัฒนา TMT

  • ให้ครอบคลุมรายการยาที่ใช้ในระบบเบิกจ่ายตรงให้ได้มากที่สุด และออกแบบให้มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานรองรับการใช้อ้างอิงกับกรณีการจัดจ่ายยากรณีต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในสถานพยาบาลได้
  • มีความครอบคลุมเกินกว่าร้อยละ 95 ของยาที่มีใช้อยู่ในสถานพยาบาลทั่วประเทศ และได้จัดระบบให้สถานพยาบาลแจ้งขอเพิ่มรายการยาได้อย่างสะดวกในกรณีสถานพยาบาลมียาที่ยังไม่ได้บรรจุอยู่ใน TMT
  • รองรับการเพิ่มเติมและปรับปรุงรายการที่มีกาหนดระยะเวลาที่แน่นอน ปัจจุบันมีการ release update ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่สามของทุกเดือน

สถานพยาบาลอื่นที่ไม่อยู่ในกลุ่ม 168 แห่ง

สำหรับสถานพยาบาลของทางราชการอื่นที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อสถานพยาบาล 168 แห่งข้างต้น กรมบัญชีกลางมีแผนที่จะให้สถานพยาบาลต้องส่งข้อมูลยาที่เบิกในระบบจ่ายตรงในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรายละเอียดเช่นเดียวกัน โดยในระยะแรกของต้นปี 2557 จึงเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลโดยกำหนดให้สถานพยาบาลของทางราชการนอกกลุ่ม 168 แห่งจัดทา drug catalog ในรูปแบบที่กาหนดในเอกสารนี้และจัดส่ง drug catalog ให้แก่ สกส. ด้วย ในระยะต่อไป drug catalog ที่จัดทำคู่กับการศึกษาฐานข้อมูล TMT ของสถานพยาบาลกลุ่มนี้ จะถูกใช้ประโยชน์ในระบบเบิกยาด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยสถานพยาบาลไม่ต้องมีการทางานส่วนนี้อีก

เอกสารบัญชีรายการยาอ้างอิงของสถานพยาบาลฉบับนี้เป็นการปรับปรุงครั้งแรกหลังประกาศใช้เมื่อ เม.ย. 2556 เป็นการปรับปรุงให้รองรับการใช้งานกับ Thai Medical Terminology (TMT) ที่เป็นฐานข้อมูลยามาตรฐานที่ ศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (ศมสท.) พัฒนาและบำรุงรักษาอยู่ และเพิ่มรายละเอียดให้พร้อมใช้กับแนวทางการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่เกี่ยวกับยา ตามประกาศ ว. 472 ของกรมบัญชีกลาง

สำหรับสถานพยาบาลรัฐ

สำหรับสถานพยาบาลเอกชน

เพิ่มเติม

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

CSOP: วิธีการหาค่า MD5 ระบบ CSOP

0 0
Read Time:4 Second

CSOP: วิธีการหาค่า MD5 ระบบ CSOP

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเบิกกรณีผู้ป่วยโควิดสิทธิข้าราชการ

0 0
Read Time:16 Second

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID
การปรับอัตราค่ารักษา ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ว 805
ลงวันที่ 12 ก.ค. 2565
โดยสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ(สกส.) 18 กรกฎาคม 2565

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมชี้แจงแนวทางการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของกรุงเทพมหานคร

0 0
Read Time:51 Second

กำหนดการประชุมชี้แจงแนวทางการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล
สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของกรุงเทพมหานคร
ในวันที่ 1 กันยายน 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น.

วาระประชุม

  • กล่าวเปิดประชุม โดย นายชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร
  • บทบาทของ สปสช. กับการทำหน้าที่ National Clearing House โดย นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ ที่ปรึกษา สปลช.
  • เงื่อนไข สิทธิประโยชน์การเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของกรุงเทพมหานคร โดย กรุงเทพมหานคร
  • ระบบโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายของ สปสช. โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
  • แนวทางการตรวจสอบเวซระเบียน โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

โครงสร้างและรูปแบบข้อมูลผู้ป่วยนอก สวัสดิการข้าราชการ CSOP

0 0
Read Time:23 Second

CSOP เป็นการจัดทำข้อมูลเพื่อส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก สิทธิกรมบัญชีกลาง, กทม, กสทช.,กกต.. เมืองพัทยา และ สผผ.

จุดประสงค์ เพื่อให้สถานพยาบาลดึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศของสถานพยาบาลที่มีอยู่ในระบบแล้ว (HIS) จัดเตรียมเป็นข้อมูลตามรูปแบบที่กำหนดส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลให้กับ สำนักงานสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) รุ่นของโครงสร้าง ที่ใช้ปัจจุบันเป็น Version 0.93

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

โครงสร้างและรูปแบบของข้อมูลผู้ป่วยนอกสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ

0 0
Read Time:21 Second

โครงสร้างและรูปแบบของข้อมูลผู้ป่วยนอกสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ

เป็นการจัดทำข้อมูลเพื่อส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก สิทธิกรมบัญชีกลาง, กรุงเทพมหานคร(กทม.), คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.), เมืองพัทยา และ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน(สผผ.)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การประชุมชี้แจงสิทธิรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น

0 0
Read Time:1 Minute, 10 Second

การประชุมชี้แจงแนวทางการดําเนินงานและการบริหารจัดการสิทธิสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น ในวันจันทร์ ที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ผ่าน facebook live https://fb.watch/dLC8p_-XLK/

  • ประธานแจ้งวัตถุประสงค์ในการประชุม โดย นายแพทย์ดุสิต ขำชัยภูมิ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น
  • สิทธิประโยชน์ ระเบียบ หลักเกณฑ์ สิทธิสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น โดย วิทยากรจาก กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
  • ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย วิทยากรจาก กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
  • บรรยายแนวทางการเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนของพนักงานส่วนท้องถิ่น โดย วิทยากรจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • บรรยายแนวทางการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีสำรองจ่าย (ใบเสร็จรับเงิน) โดย วิทยากรจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • บรรยายการใช้โปรแกรมระบบทะเบียนบุคลากรองค์กรส่วนท้องถิ่น โดย วิทยากรจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • ถาม-ตอบ ปัญหาที่พบจากการดำเนินงาน

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเบิกค่าบริการผู้ป่วยนอกกรมบัญชีกลางล่าช้า

0 0
Read Time:2 Minute, 10 Second

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยผู้ป่วยนอก กรณีส่งเบิกล่าช้าเกิน 1 ปี ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ว79 ลงวันที่ 31 มกราคม 2565 จากสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.)

การบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาล ตามประกาศของกรมบัญชีกลาง ว79 (31 ม.ค. 65) เรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายดรงเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกของสถานพยาบาลทางราชการ กรณีส่งเบิกล่าช้าเกิน 1 ปี โดยประกาศให้สถานพยาบาลสามารถบิกค่ารักษาฯ กรณีที่เกิน 1 ปีใด้ สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) ในฐานะหน่วยงานที่รับข้อมูลการเบิกจ่าย ขอแจ้งแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

  1. สำหรับธุรกรรมที่เกิดก่อนวันที่ 4 พ.ค. 2561 (ก่อนที่จะเริ่มใช้ระบบ EDC)
    • 1.1 กรณีที่สถานพยาบาลเตยส่งเบิกมาก่อน
      • ธุรกรรมที่เคยติด C มาก่อน สกส. ใช้ Invno เป็น key กรณีที่สถานพยาบาลมีการเปลี่ยน Invn0 ในการแก่ C ให้ดำเนินการตามข้อ 1.2
      • สถานพยาบาลสามารถส่งข้อมูลเบิกได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2565 – 31 ก.ค. 2565
    • 1.2 กรณีที่สถานพยาบาลไม่เคยส่งเบิกมาก่อน
      • สถานพยาบาลบันทึกสำเนาเวชระเบียนเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ลงแผ่น CD แล้วส่งไปที่กรมปัญชีกลาง และขอทำข้อตกลงและพิจารณาเป็นรายกรณี
  2. สำหรับธุรกรรมที่เกิดในช่วงวันที่ 4 พ.ด. 2561 – 31 ธ.ค. 2563
    • 2.1 สำหรับธุรกรรมที่มี เลข AppCode แล้ว
      • กรณีที่สถาน พยาบาลยังไม่เคยส่งเบิกมาก่อน สถานพยาบาลสามารถส่งเปิกได้ โดยไม่ต้องขออุทธรณ์
      • สกส. จะเวันการตรวจ AppCode เฉพาะรหัส A04 (จำนวนเงินไม่ตรงกับที่แจ้งไว้กับเครื่อง edc) เท่านั้น หากติด C ด้วยรหัส AppCode ๆ ให้สถานพยาบาลดำาเนินการตามข้อ 2.2
      • สถานพยาบาลสามารถส่งข้อมูลเบิกได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2565 – 31 ก.ค. 2565
    • 2.2 สำหรับธุรกรรมที่ยังไม่มีเลข AppCode
      • สถานพยาบาลบันที่กสำเนาเวชระเบียนเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ลงแผ่น CD แล้วส่งไปที่กรมบัญชีกลาง และขอทำข้อตกลงและพิจารณาเป็นรายกรณี
  3. สำหรับธุรกรรมที่เกิดในช่วงวันที่ 1 ม.ค. 2564 – 31 ธ.ค. 2564
    • สถานพยาบาลส่งข้อมูลเบิกได้ภายใน 1 ปี 6 เดือน นับจากวันรับบริการ
    • กรณีที่สถานพยาบาลส่งลำช้าเกินกว่า 1ปี 6 เดือน สกส. ตรวจตัด C รหัส C33
      • C33: ส่งล่าช้ากว่า 1 ปี 6 เดือน สำหรับธุรกรรมที่เกิดช่วงวันที่ 1 ม.ค. 64 – 31 ธ.ค. 64
หมายเหตุ : หากพ้นกำหนดระยะเวลาที่กำหนด หรือระยะเวลาที่ขยาย สถานพยาบาลฯ จะไม่สามารถส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกเงินและกรมบัญชีกลางจะไม่รับพิจารณาคำขออนุมัติทุกกรณี
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version