คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับพระภิกษุ สามเณร แม่ชี (พ.ศ. 2566)

0 0
Read Time:42 Second

คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับพระภิกษุ สามเณร แม่ชี (พ.ศ. 2566)

รัฐบาลจัดให้มี “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการดูแลรักษาสุขภาพและเป็นค่าบริการสาธารณสุขช่วยให้คนไทย ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะสามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ และการดำรงชีวิตตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ทำหน้าที่บริหารกองทุนตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการฯ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ปี2566

0 0
Read Time:54 Second

คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับประชาชน ปี 2566

  • คุณสมบัติของผู้มีสิทธิบัตรทอง
  • ตรวจสอบสิทธิด้วยตนเอง
  • ช่องทางลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ
  • เอกสารที่ใช้ลงทะเบียนเลือกหนว่ยบริการประจำ
  • หน่วยบริการ คืออะไร
  • การใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข
  • การบริการที่คุ้มครอง ครอบคลุมบริการที่จำป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
  • ช่องทางติดต่อสอบถามมีปัญหา
  • ใช้สิทธิบัตรทอง ร้องเรียน ร้องทุกข์
  • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค*
  • การรักษาพยาบาล โรคเรื้อรังและโรคค่าใช้จ่ายสูง
  • บริการสาธารณสุขรูปแบบใหม่
  • 4 นโยบายยกระดับบัตรทองสู่หลักประกันสุขภาพยุคใหม่
  • สปสช. ดูแลสุขภาพผู้สูงวัย
  • สิทธิการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
  • รู้จัก…กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.)
  • ใครบ้างมีสิทธิขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.)
  • แผนที่แสดงการจัดพื้นที่ในความรับผิดชอบของ สปสช. เขต 1-13
  • ที่อยู่และการติดต่อสปสช. เขต 1-13
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

4 วิธีเช็คสิทธิรักษาพยาบาล ทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง

0 0
Read Time:17 Second
เช็คสิทธิรักษาพยาบาลด้วยตนเอง

เช็คสิทธิรักษาพยาบาลด้วยตนเอง

  1. โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 2
  2. เว็บไซต์ สปสช. https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
  3. แอปพลิเคชั่น สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง
  4. ไลน์ สปสช. @nhso หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ
Happy
5 56 %
Sad
1 11 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 11 %
Surprise
2 22 %

ย้ายหน่วยบริการ ‘เกิดสิทธิทันที’

0 0
Read Time:1 Minute, 10 Second

ประชาชนสิทธิบัตรทอง 30 บาท (หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
ย้ายหน่วยบริการ ‘เกิดสิทธิทันที’

ย้ายหน่วยบริการ ‘เกิดสิทธิทันที’ ย้ายปุ๊บ ได้ปั๊บไม่ต้องรอ 15 วัน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมนโยบาย “ย้ายหน่วยบริการ เกิดสิทธิทันที่”ซึ่งมีผลพร้อมกันทั่วประเทศแล้ว หากผู้ใช้สิทธิบัตรทองต้องการย้ายหน่วยบริการในอดีต จะต้องรอให้ถึงวันที่ 15 และ 28 ของเดือน จึงจะสามารถไปรับบริการที่หน่วยบริการแห่งใหม่ได้ ทว่าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 เป็นต้นไป เมื่อยื่นเรื่องย้ายหน่วยบริการปุ๊บจะสามารถไปใช้สิทธิ ณ ที่ใหม่ได้ทันทีไม่ต้องเดินทางไปที่จุดรับลงทะเบียน โดยยื่นเรื่องผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้

  • Application สปสช. เพียงดาวน์โหลดแอป สปสช. ดาวน์โหลดฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ทั้งระบบ Android และ iOS
  • Line Official Account สปสช.” add เป็นเพื่อน… เพียงสแกน QR Code หรือพิมพ์ค้นหาใช้ช่อง ID ว่า @nhso

ทั้งนี้ สอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand

เช็คสิทธิการรักษา
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รับชุดตรวจATKฟรี

0 0
Read Time:17 Second

รับชุดตรวจ ATK ฟรีผ่านแอปฯ เป๋าตัง ทำยังไง?

คุณสมบัติผู้มีสิทธิ

  • สัญชาติไทย
  • อายุ 18 ปีบริบูรณ์ ณ วันลงทะเบียน
  • มีเลขบัตรปชช. 13 หลัก
  • เคยเข้าร่วมโครงการรัฐ ผ่าน เป๋าตัง
  • หากยังไม่เคยเข้าร่วม ให้ยืนยันตนที่ ATM /ธ.กรุงไทย

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 100 %
Surprise
0 0 %

ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโควิดเมื่อแยกกักตัวที่บ้าน

0 0
Read Time:8 Second
ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโควิดเมื่อแยกกักตัวที่บ้าน
ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโควิดเมื่อแยกกักตัวที่บ้าน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการจัดการ HI

0 0
Read Time:22 Second

HOME ISOLATION : HI หรือ การแยกรักษาตัวที่บ้าน

โดย หมอสมศักดิ์ เทียมเก่าอายุรแพทย์ระบบประสาท ที่มา : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

HOME ISOLATION : HI หรือ การแยกรักษาตัวที่บ้าน
HOME ISOLATION : HI หรือ การแยกรักษาตัวที่บ้าน
HOME ISOLATION : HI หรือ การแยกรักษาตัวที่บ้าน
HOME ISOLATION : HI หรือ การแยกรักษาตัวที่บ้าน
HOME ISOLATION : HI หรือ การแยกรักษาตัวที่บ้าน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การเปลี่ยนสถานพยาบาลในโครงการประกันสังคม

0 0
Read Time:2 Minute, 9 Second

สำนักงานประกันสังคมได้มีการปรับปรุงการกำหนดสิทธิการรักษาพยาบาล เพื่อความสะดวกรวดเร็ว สามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น จึงขอเรียนชี้แจงให้ผู้ประกันตนทราบ ดังนี้

  1. เมื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาล ผู้ประกันตนคนไทยต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ ผู้ประกันตนที่เป็นคนต่างด้าวต้องแสดงบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะท างทะเบียนที่ออกโดยส่วนราชการ หรือแสดงบัตรประกันสังคมและหนังสือเดินทาง (Passport)
  2. สิทธิในการรับบริการทางการแพทย์เกิดขึ้นต่อเมื่อภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนและผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้ตลอดอายุความเป็นผู้ประกันตน
  3. การเปลี่ยนสถานพยาบาล
    • เปลี่ยนประจำปี ให้ดำเนินการได้ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม จนถึงวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
    • เปลี่ยนระหว่างปี กรณีมีเหตุจำเป็น เช่น ย้ายที่พักอาศัย ย้ายสถานที่ประจำทำงาน หรือพิสูจน์ทราบว่าผู้ประกันตนมิได้มีการเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเอง ให้ยื่นเปลี่ยนสถานพยาบาลภายในระยะเวลาสามสิบวัน
    • ผู้ประกันตนสามารถทำการเปลี่ยนสถานพยาบาล ได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
      • 1) ยื่นแบบการเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์ (สปส. 9-02) ได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ
      • 2) ทำรายการผ่าน www.sso.go.th
      • 3) ทำรายการผ่าน Applications SSO Connect
  4. การตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคม ให้สอบถามจากนายจ้าง /เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือ สายด่วน 1506 โดยสถานพยาบาลที่ท่านขอเปลี่ยนจะต้องเป็นสถานพยาบาลซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดที่ท่านประจำทำงานหรือพักอาศัยในปัจจุบัน หรือจังหวัดรอยต่อของจังหวัดดังกล่าวและมีจำนวนผู้ประกันตนไม่เกินตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
  5. การตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล ตรวจสอบได้ที่ www.sso.go.th /Application SSO Connect โทรสายด่วน 1506 / สำนักงานประกันสังคม / สถานพยาบาลในโครงการประกันสังคม ทุกแห่งทั่วประเทศ เครื่อง Smart Kiosk ของกระทรวงมหาดไทย และ Add เพื่อน line @ssothai
  6. สำหรับผู้ประกันตนที่ไม่ประสงค์เปลี่ยนสถานพยาบาล สามารถใช้สิทธิรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิเดิมได้จนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน กรณีสิ้นสภาพจากความเป็นผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิต่อไปได้อีก 6 เดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพ

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนสถานพยาบาล ผู้ประกันตนมาตรา 33 ซึ่งทำงานกับนายจ้าง สำนักงานประกันสังคมจะแจ้งผลฯ การเลือกสถานพยาบาลผ่านนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 39 จะแจ้งเป็นหนังสือ หรือ SMS

หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัย โปรดติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วน 1506 หรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / สำนักงานประกันสังคมจังหวัด / สาขาทุกแห่ง ตามวันเวลาราชการ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การเปลี่ยนหน่วยบริการ “สิทธิบัตรทอง” ด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชัน

0 0
Read Time:40 Second

ขั้นตอนและวิธีการเปลี่ยนหน่วยบริการ “สิทธิบัตรทอง” ด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชัน สปสช.
ดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน สปสช. ดาวน์โหลดฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ทั้งระบบ Android และ iOS

เงื่อนไขการลงทะเบียน เปลี่ยนหน่วยบริการ สิทธิบัตรทอง ผ่านมือถือ บนแอปพลิเคชัน สปสช.

  1. ผู้ใช้งานต้องมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิว่าง
  2. อายุ 15 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
  3. ลงทะเบียนด้วยตนเองเท่านั้น ยังไม่สามารถลงทะเบียนแทนบุคคลในครอบครัวได้ (ณ ปัจจุบัน)

สอบถามเพิ่มเติม โทร สายด่วน สปสช. 1330 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชม.

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ขั้นตอนการเปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเอง

0 0
Read Time:30 Second

เปลี่ยนย้ายหน่วยบริการประจำเมื่อใด สิทธิเกิดทันที… ไม่ต้องรอ 15 วัน หนึ่งในนโยบาย… “ยกระดับสิทธิบัตรทอง” ทุกคนสามารถทำย้ายสิทธิการรักษาพยาบาลได้ง่าย ๆ ผ่านทาง ไลน์ สปสช. (Line Official Account สปสช.) เพียงแค่แอดไลน์ สปสช. พิมพ์ค้นหา Line ID @nhso หรือคลิกลิงก์เพื่อเพิ่มเพื่อนได้ทันที https://lin.ee/zzn3pU6 สามารถใช้งานง่าย ๆ เพียงเลือกฟังก์ชั่น “เปลี่ยนหน่วยบริการ” ในไลน์ สปสช. เพียงเท่านี้ก็สามารถย้ายสิทธิรักษาพยาบาลได้แล้วจ้า

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version