หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

0 0
Read Time:6 Minute, 0 Second

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการที่เป็นประชาชนไทยทุกคนได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑๔) มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๖ (๒) แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบข้อ ๓.๒ แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๔ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

  • ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. ๒๕๖๔”
  • ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
  • ข้อ ๓ ในประกาศนี้
    • “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    • “หน่วยบริการ” หมายความว่า หน่วยบริการตามมาตรา แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้หมายความรวมถึงสถานบริการอื่นที่ให้บริการด้วย
    • “ผู้รับบริการ” หมายความว่า ผู้รับบริการซึ่งเป็นประชาชนคนไทยที่รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
    • “ผู้อุปการะ” หมายความว่า ผู้ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลหรือดูแลผู้รับบริการก่อนเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร
    • “เงินช่วยเหลือเบื้องต้น” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้ผู้รับบริการหรือทายาทหรือผู้อุปการะเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด
    • “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ระดับเขตพื้นที่
  • ข้อ ๔ ความเสียหายที่เกิดจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19(Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ที่จะเป็นเหตุให้ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามประกาศนี้ จะต้องเป็นการเข้ารับวัคซีนตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมการป้องกันและขจัดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) จากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและให้รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยจากการรับวัคซีนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวัคซีนทางเลือกที่ให้บริการโดยสถานบริการของเอกชนซึ่งเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้รับบริการข้อ ๕ ประเภทของความเสียหายที่เกิดจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) และอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแบ่งเป็น
    • (๑) เสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต และมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ในอัตราไม่เกิน 400,000 บาท
    • (๒) สูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ ในอัตราไม่เกิน 240,000 บาท
    • (๓) บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่องจากการได้รับวัคซีน โดยมีความเห็นของแพทย์ผู้ตรวจรักษาประกอบด้วย จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ในอัตราไม่เกิน 100,000 บาท
  • ข้อ ๖ ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) หรือทายาท หรือผู้อุปการะหรือหน่วยบริการที่ให้บริการ มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ที่หน่วยบริการหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ทั้งนี้ ต้องยื่นคำร้องภายในสองปีนับแต่วันที่ทราบความเสียหาย
  • ข้อ ๗ ให้มีคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ระดับเขตพื้นที่ จำนวนไม่เกินห้าคน โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ เป็นประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการอย่างน้อยต้องประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นว่า เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับความช่วยเหลือเบื้องต้นตามประกาศนี้หรือไม่ และถ้าควรได้รับควรจะได้ตามคำร้องขอหรือไม่เพียงใด ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความรุนแรงของความเสียหาย
  • และเศรษฐานะของผู้เสียหายด้วย คณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งมีอำนาจอนุมัติจำนวนเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดในข้อ ๕ การพิจารณาวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการให้กระทำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ ผลการวินิจฉัยเมื่อได้แจ้งแก่ผู้ยื่นคำร้องแล้ว ให้รายงานผลต่อเลขาธิการเพื่อทราบ
  • ข้อ ๘ ในกรณีผู้รับบริการหรือทายาทหรือผู้อุปการะของบุคคลดังกล่าว ไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการ ให้มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ต่อเลขาธิการภายในสามสิบวันนับแต่วัน
  • ที่ได้ทราบผลการวินิจฉัย ได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่ ให้เลขาธิการพิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ ก็ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครอง ตามความเห็นของตนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคสอง เลขาธิการอาจแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองอุทธรณ์ พิจารณาเสนอความเห็นก่อนก็ได้ หากเลขาธิการไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ก็ให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง เพื่อพิจารณาอุทธรณ์อีกชั้นหนึ่ง
  • ข้อ ๙ ให้ผู้รับบริการซึ่งได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับวัคนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายตามประกาศนี้ด้วย
  • ข้อ ๑๐ ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการและมีอำนาจวินิจฉัยขี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้


ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

Bright Spot Hospital 2564

0 0
Read Time:3 Minute, 52 Second

หลักเกณฑ์การพัฒนาประสิทธิภาพทางการเงินการคลัง สำหรับหน่วยบริการที่มีผลงานดีเด่น(Bright Spot Hospital) ประจำปีงบประมาณ 2564

หลักเกณฑ์และแนวทางการประเมิน :แบ่งระดับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan

บประมาณ : จากเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 10 ล้านบาท

  • ระดับบริการ A 5 M1 (วงเงิน 2 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 600,000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 400,000 บาท
  • ระดับบริการ M2 (วงเงิน 2 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 600,000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 400,000 บาท
  • ระดับบริการ F1 F2 (วงเงิน 4 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 800.000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 700,000 บาท
    • ลำตับที่ 4 จำนวน 500,000 บาท
    • ลำดับที่ 5 จำนวน 400,000 บาท
    • รางวัลชมเชย จำนวน 300,000 บาท จำนวน 2 รางวัล
  • ระดับบริการ F3 (วงเงิน 2 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 600,000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 400,000 บาท

หลักเกณฑ์การประเมิน : กรอบในการประเมินมี 3 ด้าน ประกอบด้วย

  1. นโยบายของผู้บริหาร/แผนพัฒนา/นวัตกรรม/ซอฟต์แวร์   (20 คะแนน)
  2. กระบวนการในการดำเนินงาน (Process Indicator)   (55 คะแนน)
  3. ผลงานในการดำเนินงาน (Outcome Indicator)   (25 คะแนน)

สูตรการคำนวณ : คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดย

คะแนนที่ได้ = (คะแนนที่ได้ในข้อ 1 + คะแนนที่ได้ในข้อ 2 + คะแนนที่ได้ในข้อ 3)
เกณฑ์การให้คะแนน : เมื่อคำนวณคะแนนที่ได้แล้ว จะนำมาเรียงลำดับคะแนนเพื่อมอบรางวัลต่อไป

วิธีการคัดเลือก : ให้แต่ละจังหวัดคัดเลือกหน่วยบริการ เพื่อเข้ารับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan ดังนี้

  1. ระดับบริการ A S M1   ทุกแห่ง
  2. ระดับบริการ M2   จังหวัดละ 1 แห่ง
  3. ระดับบริการ F1 F2   จังหวัดละ 2 แห่ง
  4. ระดับบริการ F3   จังหวัดละ 1 แห่ง

โดยเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารการเงินการคลัง (Chief Financial Officer. CFO) เขตสุขภาพที่ 7 ในเดือนมิถุนายน 2564 โดยให้หน่วยบริการนำเสนอข้อมูล แห่งละ 10 นาที และให้คณะกรรมการฯ ซักถามข้อมูลเพิ่มเติม แห่งละ 10 นาที

กรอบและรายละเอียดการประเมิน

1. นโยบายของผู้บริหาร/แผนพัฒนา/นวัตกรรม/ซอฟแวร์ 20 คะแนน

แหล่งข้อมูลคะแนน
แผนการดำเนินงานที่ระบุกิจกรรมเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งด้านเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย เป็นรายกิจกรรม และมีแผนธุรกิจ(Business Plan)4 คะแนน
รายงานการประชุมคณะกรรมการ CFO อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง(ไตรมาส 4/63 – ไตรมาส 2/64) เนื้อหาต้องประกอบด้วยสถานการณ์การเงิน/ประเด็นที่เป็นปัญหา/แนวทางการแก้ไข/รายงานผลการแก้ปัญหาที่มีการติดตามในไตรมาสถัดๆไป เป็นระยะ 4 คะแนน
มีการใช้นวัตกรรม/ซอฟแวร์ ในการดำเนินงาน (มีการระบุกิจกรรม/เป้าหมาย/รายงานผลงานที่ชัดเจน) 4 คะแนน
การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4 คะแนน
การจัดซื้อจัดจ้างเวชภัณฑ์ยา 4 คะแนน

2.กระบวนการในการดำเนินงาน (Process Indicator) 55 คะแนน (ใช้ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2564 ในการประเมินผล)

รายละเอียดการประเมินคะแนน
1. การบริหารแผน Planfin10 คะแนน
1.1 Planfin รายได้ +5 % ขึ้นไป5 คะแนน
1.2 Planfin ค่าใช้จ่าย ไม่เกิน + 5 %5 คะแนน
2. การบริหารต้นทุนบริการไม่เกินค่ากลางกลุ่มโรงพยาบาล20 คะแนน
2.1 Unit Cost OP (Mean+1SD)5 คะแนน
2.2 Unit Cost IP (Mean+1SD)5 คะแนน
2.3 LC ค่าแรงบุคลากร (Mean)2.5 คะแนน
2.4 MC ค่ายา (Mean) 2.5 คะแนน
2.5 MC ค่าเวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุการแพทย์ (Mean) 2.5 คะแนน
2.6 MC ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ (Mean) 2.5 คะแนน
3. การบริหารจัดการบัญชีและการเงิน15 คะแนน
3.1 ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้การค้ายาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา3 คะแนน
3.2 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ UC3 คะแนน
3.3 ระยะเวลาถั่วเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ CS3 คะแนน
3.4 การบริหารสินค้าคงคลัง3 คะแนน
3.5 คะแนนตรวจบัญชีงบทดลองเบื้องต้น3 คะแนน
4. Productivity ที่ยอมรับได้10 คะแนน
4.1 อัตราครองเตียง  มากกว่าหรือเท่ากับ 80 % หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 55 คะแนน
4.2 Sum of AdjRw เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 55 คะแนน

3. ผลงานในการดำเนินงาน (Outcome Indicator)   25 คะแนน

รายละเอียดการประเมิน คะแนน
1. ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Operation Margin) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. 5 คะแนน
2. อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. 5 คะแนน
3. เงินทุนสำรองสุทธิ (NWC)  เป็นบวก และเพิ่มขึ้น 5 คะแนน
4. ผลต่างรายได้และค่าใช้จ่าย (EBITDA) เป็นบวก และเพิ่มขึ้น 5 คะแนน
5.Cash Ratio เท่ากับหรือมากกว่า 0.8 5 คะแนน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รายงานสถานการณ์ทางการเงินจังหวัดขอนแก่น ณ เมษายน 2564

0 0
Read Time:1 Minute, 49 Second

นำเสนอคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลด้านสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น

ประจำเดือนพฤษภาคม 2564

ภาพรวมวิกฤติทางการเงินในเขตสุขภาพที่ 7

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ณ วันที่ 16 เมษายน 2564 ประมวลผลโดยสำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 พบว่าจังหวัดขอนแก่น ไม่มีหน่วยบริการที่อยู่ในวิกฤติระดับ 4-7 โดยข้อมูลรายแห่งตามตารางด้านล่าง

ข้อมูลวิเคราะห์วิกฤติทางการเงินระดับ 7 จังหวัดขอนแก่น*

*ข้อมูลจาก กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ประมวลผลโดย กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ณ วันที่ 21 เมษายน 2564
รายการคำย่อ
CR = Current Ratio 
QR = Quick Ratio 
Cash = Cash Ratio 
NWC = ทุนสำรองสุทธิ 
NI = รายได้สูง(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ 
LiI = Liquid Index	
StI = Status Index
SuI = Survival Index
RiskScroing = คะแนนความเสี่ยง
EBITDA = กำไรก่อนหักค่าเสื่อม
HMBRD = เงินคงเหลือหลังหักหนี้แล้ว

การควบคุมกำกับแผนทางการเงิน จังหวัดขอนแก่น ปี 2564

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป.สธ. (ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2564)

การควบคุมกำกับด้านรายได้

ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 นี้ มีหน่วยบริการที่ผ่านเกณฑ์การควบคุมคือรายได้สูง/ต่ำกว่าแผนไม่เกินร้อยละ 5 จำนวน 17 รพ. คิดเป็น 65.38% ส่วนรายได้ต่ำกว่าแผนเกินกว่าร้อยละ5 มีจำนวน 2 แห่งได้แก่ อุบลรัตน์ และโนนศิลา โดยมีรายได้ต่ำกว่าแผนคิดเป็นร้อยละ 6.41 และ 5.52 ตามลำดับ

การควบคุมกำกับด้านค่าใช้จ่าย

รพ.ที่มีการควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามเกณฑ์ ไม่เกินบวกลบ5% มีจำนวน 21 แห่งเพิ่มขึ้นจาก20แห่งในเดือนที่แล้ว และ รพ.ที่มีค่าใช้จ่ายเกินเกณฑ์ จำนวน 5 แห่ง โดยทุกแห่งเป็นหน่วยบริการที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าแผนเกิน 5 %

รายงานการโอนงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น ปี 2564

รายงานการโอนงบเหมาจ่ายรายหัว
รายงานการโอนงบกองทุนอื่นๆ
ที่มา : จากระบบรายงานการโอนเงิน ( NHSO Budget) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://ucapps1.nhso.go.th/budgetreport/
ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2564  
	 

ดาวน์โหลดรายงานเป็นไฟล์ PDF

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รายงานสถานการณ์ทางการเงินจังหวัดขอนแก่น ณ มีนาคม 2564

0 0
Read Time:1 Minute, 54 Second

โดยคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (CFO) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

ภาพรวมวิกฤติทางการเงินในเขตสุขภาพที่ 7


ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ณ วันที่ 16 เมษายน 2564 ประมวลผลโดยสำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 พบว่าจังหวัดขอนแก่น ไม่มีหน่วยบริการที่อยู่ในวิกฤติระดับ 4-7  โดยข้อมูลรายแห่งตามตารางด้านล่าง

ข้อมูลวิเคราะห์วิกฤติทางการเงินระดับ 7 จังหวัดขอนแก่น

*ข้อมูลจาก กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ประมวลผลโดย กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ณ วันที่ 21 เมษายน 2564
รายการคำย่อ
CR = Current Ratio 
QR = Quick Ratio 
Cash = Cash Ratio 
NWC = ทุนสำรองสุทธิ 
NI = รายได้สูง(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ 
LiI = Liquid Index	
StI = Status Index
SuI = Survival Index
RiskScroing = คะแนนความเสี่ยง
EBITDA = กำไรก่อนหักค่าเสื่อม
HMBRD = เงินคงเหลือหลังหักหนี้แล้ว

การควบคุมกำกับแผนทางการเงิน จังหวัดขอนแก่น ปี 2564

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป.สธ. (ข้อมูล ณ วันที่ 21 เมษายน 2564)

การควบคุมกำกับด้านรายได้

¨ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 นี้ มีหน่วยบริการที่ผ่านเกณฑ์การควบคุมคือรายได้สูง/ต่ำกว่าแผนไม่เกินร้อยละ 5 จำนวน 17 รพ. คิดเป็น 65.38%   ส่วนรายได้ต่ำกว่าแผนเกินกว่าร้อยละ5 มีจำนวน 1 แห่งได้แก่ อุบลรัตน์ โดยมีรายได้ต่ำกว่าแผนคิดเป็นร้อยละ 8.46

การควบคุมกำกับด้านค่าใช้จ่าย

¨ รพ.ที่มีการควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามเกณฑ์  ไม่เกินบวกลบ5% มีจำนวน 20 แห่งเพิ่มขึ้นจาก18แห่งในเดือนที่แล้ว และ รพ.ที่มีค่าใช้จ่ายเกินเกณฑ์ จำนวน 6 แห่ง ในจำนวนนี้ส่วนมากเป็นหน่วยบริการที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าแผนเกิน 5 % มีเพียง รพ.หนองนาคำที่มีค่าใช้จ่ายมากกว่าแผนเกินกว่า 5 %

รายงานการโอนงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น ปี 2564

รายงานการโอนงบเหมาจ่ายรายหัว
รายงานการโอนงบกองทุนอื่นๆ
ที่มา : จากระบบรายงานการโอนเงิน ( NHSO Budget) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://ucapps1.nhso.go.th/budgetreport/
ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2564  

ดาวน์โหลดเอกสารเป็น PDF ได้ที่นี่

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การตรวจสอบข้อมูลการจ่ายชดเชยกรณีบริการแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:2 Minute, 37 Second

ตามหนังสืออ้างถึง สปสช.2.57/ว.0032 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ในการตรวจสอบข้อมูลการจ่ายชดเชยกรณีบริการแพทย์แผนไทย ด้วยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีการตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่ายเบื้องต้นในไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563) จำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่ บริการนวด บริการประคบ บริการนวดและประคบ และบริการฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังคลอด พบข้อมูลที่หน่วยบริการบันทึกเบิกเข้ามาในระบบโปรแกรม OP/PP Individual มีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากผลงานการเบิกจ่ายสูงกว่าปกติ หรือ ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่นี่ http://gg.gg/unrbv นั้น

หมายเหตุ : อ้างอิงการให้บริการผู้มารับบริการเป็นตามกรมแพทย์แผนไทยกำหนด โดย “ผู้ทำหัตถการ 1 คน สามารถรักษาผู้เข้ารับการรักษา ในเวลา 08.00-16.00 น. ไม่เกิน 5 คน/วัน นอกเวลาราชการ 16.00 – 20.00 น. ไม่เกิน 2 คน/วัน”

ในการนี้ หากหน่วยบริการต้องการอุทธรณ์การประมวลผลฯ ขอให้หน่วยบริการแจ้งรายละเอียด ผลงานบริการการแพทย์แผนไทยที่ถูกชะลอการจ่ายและประสงค์จะขออุทธรณ์ ตามรายละเอียดสิ่งที่ส่งมาด้วย 2) และคำสั่งบรรจุ หรือคำสั่งจ้าง บุคลากรด้านแพทย์แผนไทย พร้อมด้วยใบประกอบวิชาชีพ และสำเนาคำสั่งหรือแผนที่เปิดให้บริการนอกเวลาราชการ (รับรองสำเนา) ในปีงบประมาณ 2564 ในหน่วยบริการที่จะอุทธณณ์ ส่งไปยัง สปสช. เขต 7 ขอนแก่น ที่เมล์คุณธัญญ์นิธิ วีรพัฒน์โสภณ e-mail : thunnnithi.w@nhso.go.th ภายในไม่เกินวันที่ 4 มิถุนายน 2564 เพื่อทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะได้ดำเนินการประมวลผลและจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่หน่วยบริการต่อไป

การขออุทธรณ์ผลงานบริการแพทย์แผนไทยที่ถูกชะลอการจ่าย ปี 2564 ไตรมาสที่ 1 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563)

  1. กรณีข้อมูลมีความถูกต้อง และประเมินผ่านเกณฑ์มาตรฐานการขึ้นทะเบียนด้านศักยภาพแพทย์แผนไทย แนวทางดังนี้
    (เอกสารแนบประกอบ)
    • สำเนาคำสั่งบรรจุ /หรือ สำเนาสั่งจ้าง บุคลากรผู้ให้ทางการแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2564 (ใครรับรองก็ได้)
    • สำเนาใบประกอบวิชาชีพผู้ให้บริการแพทย์แผนไทย (ใครรับรองก็ได้)
    • สำเนาคำสั่งเปิดให้บริการ นอกเวลาราชการ (ใครรับรองก็ได้)
    • บันทึกข้อมูลที่ให้บริการ ตามวันที่ให้บริการ (ตามแบบฟอร์ม Check) จนท. ผู้จัดทำ รับรอง และ ผอ.หน่วยงานรับรองข้อมูล
  2. กรณีที่ต้องการแก้ไขข้อมูลและหรือต้องการยกเลิกเพื่อไม่รับจัดสรรงบประมาณ
    • บันทึกข้อมูลที่ให้บริการ ตามวันที่ให้บริการ (ตามแบบฟอร์ม ไม่ต้องการรับงบประมาณ) จนท. ผู้จัดทำ รับรอง และ ผอ.หน่วยงานรับรองข้อมูล ลำดับการส่งเอกสาร
      • จัดทำหนังสือนำส่ง นายแพทย์ สสจ.จังหวัด ของท่าน (สำเนาเรียน ท่าน สสอ. ด้วย)
      • ผู้รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทย สสจ. แต่ละจังหวัด ทำหนังสือนำส่ง สปสช. เขต 7 ขอนแก่น
      • หน่วยที่ถูก Pending ให้ Scan Files to *.PDF และไฟล์ Ms Excel ฟอร์มอุทธรณ์/และหรือแก้ไขยกเลิก ส่งมาที่เมล์ thunnithi.w@nhso.go.th
    • สปสช.จะตรวจสอบเอกสาร ให้ครบถ้วน ขาดอันใดอันหนึ่งจะไม่ขออุทธรณ์ให้

ปล. Download Form ได้ที่เว็ปไซต์ สปสช.เขต 7 ขอนแก่น https://khonkaen.nhso.go.th >> เมนูบริการข้อมูล>>บริการแพทย์แผนไทย หรือทางกลุ่มไลน์ TTM เขต

ผู้ประสานงาน สปสช.เขต7 ขอนแก่น คุณธัญญ์นิธิ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version