แนวทางจัดทำแผนทางการเงินปีงบ65

0 0
Read Time:1 Minute, 6 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) และร่างจัดทำแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

กลุ่มงานประกันสุขภาพ ร่วมกับงานการเงิน งานตรวจสอบภายใน กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ ร่วมประชุมเพื่อรับฟังการชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) และร่างจัดทำแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยมีนายแพทย์อุรส สิงห์งาม ผอ.รพ.น้ำพอง ในนามตัวแทนคณะกรรมการ CFO จังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในการร่วมรับฟัง

ตามที่กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ได้ดำเนินการจัดทำร่างแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และร่างแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง เสร็จเรียบร้อยจึงมีความประสงค์ จะจัดประชุมขี้แจงแนวทางการจัดทำรายงานดังกล่าวในการนี้ เพื่อให้การจัดทำแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) ปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๕ และร่างจัดทำแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงขอเชิญคณะกรรมการบริหารการเงินการคลัง (CFO) จำนวน ๑ ท่าน เข้าร่วมประชุมในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๒ กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ชั้น ๔ อาคาร ๗ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือสามารถเข้าร่วมประชุมผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล (VDO Conference)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สถานการณ์ทางการเงิน กรกฎาคม 2564

0 0
Read Time:1 Minute, 26 Second

นำเสนอคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลด้านสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น

ประจำเดือนสิงหาคม 2564

ภาพรวมวิกฤติทางการเงินในเขตสุขภาพที่ 7

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564 ประมวลผลโดยสำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 พบว่าจังหวัดขอนแก่น มีหน่วยบริการที่อยู่ในวิกฤติระดับ 4-7 จำนวน 2 แห่งโดยเป็นระดับ 4 คือ รพ.พระยืนและรพ.ภูผาม่าน โดยข้อมูลรายแห่งตามตารางด้านล่าง

ข้อมูลวิเคราะห์วิกฤติทางการเงินระดับ 7 จังหวัดขอนแก่น*

*ข้อมูลจาก กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ประมวลผลโดย กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2564

การควบคุมกำกับแผนทางการเงิน จังหวัดขอนแก่น ปี 2564

แบบรายได้(ไม่รวมงบลงทุนและรายได้อื่น(ระบบบัญชีบันทึกอัตโนมัติ)และไม่รวมรายได้ UC)
และค่าใช้จ่าย(ไม่รวมค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย)

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป.สธ. (ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2564)

แบบรวมรายได้และรายจ่ายทุกประเภท

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป.สธ. (ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2564)

รายงานการโอนงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น ปี 2564

1.งบเหมาจ่ายรายหัว

2.งบกองทุนอื่นๆ

ที่มา : จากระบบรายงานการโอนเงิน ( NHSO Budget) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://ucapps1.nhso.go.th/budgetreport/
ข้อมูล ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2564 

คะแนนตรวจสอบงบทดลอง

สถานการณ์ทางการเงิน รพ.สต.ในจังหวัดขอนแก่น

*ข้อมูลจาก กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ประมวลผลโดย กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2564
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมสรุปตรวจราชการปีงบ2564 รอบที่ 2

0 0
Read Time:1 Minute, 25 Second

การประชุมสรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รอบที่ 2 ผ่าน Application CiscoWebX วันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร อาคาร 1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 1 โครงการราชทัณฑ์ ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดย แพทย์หญิงวิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 3 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 1
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 2 กัญชาทางการแพทย์และสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ โดย นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 9 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 2
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 3 ระบบสุขภาพปฐมภูมิ โดย นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 12 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 3
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 4 สุขภาพกลุ่มวัย สุขภาพจิต โดย นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 10 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 4
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 5 ลดแออัด ลดรอคอย ลดป่วย ลดตาย โดย นายแพทย์พิทักษ์พล บุณยมาลิก ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 11 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 5
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 6 ระบบธรรมาภิบาล โดย นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 2 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 6
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 7 การตรวจราชการแบบบูรณาการ โดย นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 1 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 7
  • ผลการตรวจราชการประเด็น Area based และประเด็นนวัตกรรมการจัดการบริการสุขภาพ (Innovative Healthcare Management) เขตสุขภาพที่ 1-12 โดย ผู้อำนวยการกองตรวจราชการ
  • แนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดย นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 1 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข

เอกสารประกอบการประชุม

http://planfda.fda.moph.go.th/newplan/meetrh1/training_description.php?agenda_description=93

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมCFOครั้งที่2/2564

0 0
Read Time:1 Minute, 37 Second

การประชุมประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง
(Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น
ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.30-16.30 น.
ณ ห้องประชุมก่องข้าว ชั้น 3 อาคารใหม่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

  • ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 
    • ด้วย คณะกรรมการ CFO เขตสุขภาพที่ 7 ได้แจ้งการจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2565 และสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จะต้องดําเนินจัดสรรปรับเกลี่ยเงินดังกล่าวให้แก่หน่วยบริการในสังกัดให้แล้วเสร็จ และแจ้งผลการปรับเกลี่ยให้เขตสุขภาพดำเนินการภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2564 รวมทั้งหารือการบริหารจัดการการเงินการคลังในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เงินกัน Virtual account จังหวัดขอนแก่น เพื่อตามจ่ายแทน CUP กรณี ส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ในจังหวัด จึงเห็นควรจัดประชุม CFO จังหวัดขอนแก่น ขึ้นในวันนี้
  • ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
    • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นได้สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารการเงินการคลัง (CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564
  • ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง
    •  3.1 …………………………………………………………………………………………………………………………………
    •  3.2 …………………………………………………………………………………………………………………………………
  • ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อทราบ
    • 4.1 สรุปสถานการณ์การเงินการคลังหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น ณ เดือนกรกฎาคม 2564
    • 4.2 แนวทางการบริหารกองทุน UC และการปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2565 และงบกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา
    • ­5.1  แนวทางการปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด และงบกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2565
    • 5.2  แนวทางการบริหารจัดการค่ายาที่โรงพยาบาลชุมชนสั่งซื้อยาจากโรงพยาบาลขอนแก่น

สรุปมติและข้อสั่งการจากการประชุม

ที่ลิงค์นี้
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบกองทุนตำบลปี2564

0 0
Read Time:1 Minute, 13 Second

วันที่ 9 ส.ค. 2564; เวลา 8.30 น.-16.30น. ณ.ห้องประชุมนภาลัยโรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายแพทย์สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น มอบหมายให้ นายแพทย์อดุลย์ บำรุง( นายแพทย์เชี่ยวชาญเวชกรรมป้องกัน) และ กลุ่มงานประกันสุขภาพ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบ ”โครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนและสร้างอัตลักษณ์การจัดการสุขภาพชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่นปีงบประมาณ 2564 “ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ปลัด /หัวหน้าสำนักปลัด/ท้องถิ่นอำเภอ/ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนสุขภาพของ สสอ.และ รพ.ของพื้นที่อำเภอ

ภายหลังการนำเสนอพื้นที่ต้นแบบเรียบร้อยแล้ว ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก นายแพทย์เรืองศิลป์ เถื่อนนาดี และน.ส.วนิดา วิระกุล ที่ได้มาร่วมอภิปรายผลการนำเสนอผลงานของพื้นที่ต้นแบบ นี้ ส่งผลให้พื้นที่ๆได้เข้าร่วมประชุม ได้เรียนรู้ ทางผู้จัดขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ทั้ง 3 ท่านที่ช่วยแนะนำ ขัดเกลา ให้มีความเชี่ยวชาญการบริหารจัดการกองทุนฯในบริบทตนเองเพิ่มขึ้น และจะนำไปพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนให้ครอบคลุมทั้ง 4 ตัวชี้วัดของโครงการ อย่างต่อเนื่องยั่งยืนตลอดไป

เอกสารประกอบการประชุม ดาวน์โหลดที่นี่

https://www.uckkpho.com/wp-content/uploads/2021/08/650355771.952592.mp4

ตัวอย่างการใช้นวัตกรรมไม้นวดมหัศจรรย์แก้ปวดเมื่อย

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ผลการประเมินประสิทธิภาพ Total Performance Score ไตรมาส 3 ปี 2564

0 0
Read Time:33 Second

คะแนน TPS รายหน่วยบริการ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รายงานสถานการณ์ทางการเงินจังหวัดขอนแก่น ณ มิถุนายน 2564

0 0
Read Time:1 Minute, 46 Second

นำเสนอคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลด้านสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น

ประจำเดือนกรกฎาคม 2564

ภาพรวมวิกฤติทางการเงินในเขตสุขภาพที่ 7

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2564 ประมวลผลโดยสำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 พบว่าจังหวัดขอนแก่น ไม่มีหน่วยบริการที่อยู่ในวิกฤติระดับ 4-7 โดยข้อมูลรายแห่งตามตารางด้านล่าง

ข้อมูลวิเคราะห์วิกฤติทางการเงินระดับ 7 จังหวัดขอนแก่น*

*ข้อมูลจาก กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ประมวลผลโดย กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2564

การควบคุมกำกับแผนทางการเงิน จังหวัดขอนแก่น ปี 2564

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป.สธ. (ข้อมูล ณ วันที่ 19 กรกฎาคม2564)
  • การควบคุมกำกับด้านรายได้ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 นี้ มีหน่วยบริการที่ผ่านเกณฑ์การควบคุมคือรายได้สูง/ต่ำกว่าแผนไม่เกินร้อยละ 5 จำนวน 16 รพ. คิดเป็น 61.54% ส่วนรายได้ต่ำกว่าแผนเกินกว่าร้อยละ5 มีจำนวน 2 แห่งได้แก่ รพ.อุบลรัตน์ และรพ.ภูเวียง โดยมีรายได้ต่ำกว่าแผนคิดเป็นร้อยละ 6.38 และ 5.93 ตามลำดับ
  • การควบคุมกำกับด้านค่าใช้จ่าย รพ.ที่มีการควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามเกณฑ์ ไม่เกินบวกลบ5% มีจำนวน 19 แห่ง และ รพ.ที่มีค่าใช้จ่ายเกินเกณฑ์ จำนวน 7 แห่ง โดยทุกแห่งเป็นหน่วยบริการที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าแผนเกิน 5 % ยกเว้น รพ.ภูผาม่านที่มีค่าใช้จ่ายเกินแผนไปคิดเป็น 5.47 %

รายงานการโอนงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น ปี 2564

1.งบเหมาจ่ายรายหัว

2.งบกองทุนอื่นๆ

ที่มา : จากระบบรายงานการโอนเงิน ( NHSO Budget) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://ucapps1.nhso.go.th/budgetreport/
ข้อมูล ณ วันที่ 29 กรกฎาคม  2564

คะแนนตรวจสอบงบทดลอง

สถานการณ์ทางการเงิน รพ.สต.ในจังหวัดขอนแก่น

*ข้อมูลจาก กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ประมวลผลโดย กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2564
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สปส. ประกาศหลักเกณฑ์ช่วยเหลือกรณีความเสียหายจากการฉีดวัคซีนcovid-19

0 0
Read Time:4 Minute, 15 Second

ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมเรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)

ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป

โดยที่เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าใช้จ่ายในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19(Coronavirus Disease 20 19 (COVID- 19) เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน คณะกรรมการการแพทย์จึงมีมติเห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าใช้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น สำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ (๒) และมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการการแพทย์จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

  • ข้อ ๑ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
  • ข้อ ๒ ในประกาศนี้

“คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการการแพทย์ให้วินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)

“เงินช่วยเหลือเบื้องต้น” หมายความว่า เงินที่จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีที่ผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด

  • ข้อ ๓ เงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้จ่ายให้แก่ผู้ประกันตนหรือกรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิตให้เฉลี่ยจ่ายให้แก่สามีหรือภริยา บิดามารดา บุตร ทั้งนี้ ผู้ประกันตนดังกล่าวจะต้องไมได้รับสิทธิจากหน่วยงานภาครัฐอื่น
  • ข้อ ๔ ความเสียหายที่เกิดจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19(Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ที่จะเป็นเหตุให้ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามประกาศนี้จะต้องเป็นการเข้ารับวัคซีนตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมการป้องกันและขจัดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID- 19) จากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยจากการรับวัคซีนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวัคซีนทางเลือกที่ให้บริการโดยสถานบริการของเอกชนซึ่งเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ประกันตน
  • ข้อ ๕ ประเภทของความเสียหายที่เกิดจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) และอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น แบ่งเป็น
    • (๑) เสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตและมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท
    • (๒) สูญเสียอวัยวะ หรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ตั้งแต่ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท
    • (๓) บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่องจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ในอัตราไม่เกิน 100,000 บาท
กรณีที่ความเสียหายไม่อาจจัดเป็นประเภทใดประเภทหนึ่งตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) หรือ (๓) ได้ ให้เป็นอำนาจของคณะอนุกรรมการที่จะพิจารณาเทียบเคียงกับประเภทความเสียหายที่กำหนดไว้ได้ ตามความเหมาะสม
การพิจารณาความเสียหายและอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการแพทย์หรือคณะอนุกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการแพทย์พิจารณา

ข้อ ๖ ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิที่อ้างว่าผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ยื่นคำขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดหรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา และให้หน่วยงานดังกล่าวส่งคำขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการการแพทย์หรือคณะอนุกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการแพทย์พิจารณา

สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดหรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขาที่ได้รับคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมติของคณะกรรมการการแพทย์หรือคณะอนุกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการแพทย์

ประกาศ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ซักซ้อมความเข้าใจในการจัดทำแผนเงินบำรุง

0 0
Read Time:51 Second

สืบเนื่อง จากผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขกรณีปกติ รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2564 เขตสุขภาพที่ 7 ประเด็นที่ 6 ระบบธรรมภิบาล การตรวจสอบภายในและระบบการเงินการคลัง มีประเด็นทักทวงเกี่ยวกับการจัดทำแผนเงินบำรุง คณะกรรมการ CFO เขตสุขภาพที่ 7 จึงมีมติเห็นควรให้กำหนดจัดประชุมซักซ้อมความเข้าใจในการจัดทำแผนเงินบำรุง ให้มีความเข้าใจในการจัดทำแผนเงินบำรุงอย่างถูกต้อง ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานเข้าร่วมประชุมเมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 14.00-16.30 น. โดยประชุมผ่านระบบ VDO Con. ด้วยระบบ Cisco Webex Meeting วาระประกอบไปด้วย

  • แจ้งวัตถุประสงค์ และข้อทักท้วงการจัดทำแผนเงินบำรุง โดย นางสาวชวัลลักษณ์ ทองบ่อ นักวิซาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
  • แนวทางการจัดทำแผนเงินบำรุง โดย นายแพทย์ชุมพล นุชผ่อง รองผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
  • กระบวนการจัดทำแผนเงินบำรุงโรงพยาบาลขอนแก่น โดย นางธนิษฐา ศุภวิชย์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลขอนแก่น
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกในจังหวัดขอนแก่น (เพิ่มเติม)

0 0
Read Time:3 Minute, 57 Second

ตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงานปีงบประมาณ ๒๕๖๔ โดยยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพในการรับบริการกับหมอประจำครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ผู้ป่วยในไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว โรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่มีความพร้อมและการย้ายหน่วยบริการได้ ๔ ครั้งต่อปีได้สิทธิทันที (ไม่ต้องรอ ๑๕ วัน) ทั้งนี้ จากมติที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขสู่การปฏิบัติ เขตสุขภาพที่ ๗ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการเขตสุขภาพที่ ๗ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ในการขับเคลื่อนนโยบายยกระดับ ทั้ง ๔ เรื่อง โดยเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ มกราคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป นั้น

สำหรับนโยบายข้อที่ ๑ ด้านประชาชนที่เจ็บบ่วยไปรับบริการกับหมอประจำครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ได้มีการขยายพื้นที่ดำเนินการในพื้นที่เขตภาคอีสาน (เขต ๗ ๘ ๙ และ เขต ๑๐) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้แจ้งประกาศ เรื่อง กำหนดกรณีที่มีเหตุสมควรและอัตราค่าใช้จ่ายที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกาศ ณ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๔ ผู้เข้ารับบริการสามารถใช้สิทธิบริการสาธารณสุขเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของผู้มีสิทธิในหน่วยบริการอื่นนอกจากหน่วยบริการประจำของตน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เขตภาคอีสาน ให้ถือเป็นกรณีที่มีเหตุสมควร โดยไม่มีใบส่งตัว ตามเงื่อนไขที่กำหนด และได้แจ้งแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ประเภทบริการผู้ป่วยนอก กรณีที่มีเหตุสมควรในพื้นที่เขตภาคอีสาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ สำหรับพื้นที่รอยต่อยังให้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงเดิมของแต่ละพื้นที่ โดยให้หน่วยบริการถีอปฏิบัติตั้งแต่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป

รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ และ สิ่งที่ส่งมาด้วย ๒

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขในการใช้บริการในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิอื่นนอกเครือข่ายในพื้นที่เขตภาคอีสาน โดยจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการตามจริงไม่เกิน 70- บาท/Visit ทั้งนี้ สำหรับกรณีการใช้บริการนอกเครีอข่ายหน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการปฐมภูมิ ประเภทผู้ป่วยนอก ในจังหวัด กำหนดให้เป็นไปตามข้อตกลงของจังหวัด ดังนั้น กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงได้เสนอผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลด้านสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น (กวป.) ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ กำหนดอัตราจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอก เพิ่มเติมกรณีที่มีเหตุสมควร ระดับปฐมภูมิ ในจังหวัดขอนแก่น อัตราจ่ายตามจริงไม่เกิน 70 บาท/Visit อัตราจ่ายเช่นเดียวกันกับในเขตพื้นที่ภาคอีสาน โดยตามจ่ายด้วยเงินกองทุน OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงขอส่งแนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เข้ารับบริการระดับปฐมภูมิ ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีที่มีเหตุสมควรภายในจังหวัดขอนแก่น พร้อมทั้งอัตราค่าบริการทางการแพทย์ (เพิ่มเติม) โดยถือปฏิบัติตั้งแต่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป ดังนี้

  1. ผู้รับผิดชอบงาน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ รวบรวมข้อมูลบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ(รพ.สต.) ทุกแห่ง ตามแบบ นค.๑ (สำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่ให้บริการตั้งแต่ 1 มีนาคม – 30 มิถุนายน 2564 ส่งให้หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 และให้หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ส่งไปยังกลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 หากไม่ส่งข้อมูลตามกำหนด จะถือว่าไม่ประสงค์จะะเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ในห้วงเวลาที่กำหนด ดังกล่าว และครั้งต่อไปให้ส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือน รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๓ และ ๔
  2. หน่วยบริการที่ให้บริการโรงพยาบาลทั่วไป/ โรงพยายาลศูนย์ และหน่วยบริการอื่นที่เข้าร่วมโครงการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกกรณีที่มีเหตุสมควรโดยไม่มีใบส่งตัว ให้ส่งข้อมูลบริการเรียกเก็บไปยัง สปสซ.ผ่านระบบ E-Claim กำหนดจ่ายตามรายการ Fee schedule และ Fee for sevice with point system รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๒
  3. โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉินภายในจังหวัดขอนแก่น เช่นเดิม
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version