Bright Spot Hospital ปี 2565

0 0
Read Time:3 Minute, 56 Second

หลักเกณฑ์การพัฒนาประสิทธิภาพทางการเงินการคลัง สำหรับหน่วยบริการที่มีผลงานดีเด่น (Bright Spot Hospital) ประจำปีงบประมาณ 2565

หลักเกณฑ์และแนวทางการประเมิน :แบ่งระดับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan

บประมาณ : จากเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 10 ล้านบาท

  • ระดับบริการ M2 (วงเงิน 2 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 600,000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 400,000 บาท
  • ระดับบริการ F1 F2 (วงเงิน 5 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,250,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 1,000.000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 875,000 บาท
    • ลำตับที่ 4 จำนวน 625,000 บาท
    • ลำดับที่ 5 จำนวน 500,000 บาท
    • รางวัลชมเชย จำนวน 375,000 บาท จำนวน 2 รางวัล
  • ระดับบริการ F3 (วงเงิน 3 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,500,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 900,000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 600,000 บาท

หลักเกณฑ์การประเมิน : กรอบในการประเมินมี 3 ด้าน ประกอบด้วย

  1. นโยบายของผู้บริหาร/แผนพัฒนา/นวัตกรรม/ซอฟต์แวร์   (10 คะแนน)
  2. กระบวนการในการดำเนินงาน (Process Indicator)   (60 คะแนน)
  3. ผลงานในการดำเนินงาน (Outcome Indicator)   (30 คะแนน)

สูตรการคำนวณ : คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดย

คะแนนที่ได้ = (คะแนนที่ได้ในข้อ 1 + คะแนนที่ได้ในข้อ 2 + คะแนนที่ได้ในข้อ 3)
เกณฑ์การให้คะแนน : เมื่อคำนวณคะแนนที่ได้แล้ว จะนำมาเรียงลำดับคะแนนเพื่อมอบรางวัลต่อไป

วิธีการคัดเลือก : ให้แต่ละจังหวัดคัดเลือกหน่วยบริการ เพื่อเข้ารับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan ดังนี้

  1. ระดับบริการ A S M1   ทุกแห่ง (เข้ารับการประเมินและมอบใบประกาศนียบัตรเท่านั้น)
  2. ระดับบริการ M2   จังหวัดละ 1 แห่ง
  3. ระดับบริการ F1 F2   จังหวัดละ 2 แห่ง
  4. ระดับบริการ F3   จังหวัดละ 1 แห่ง

โดยเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารการเงินการคลัง (Chief Financial Officer. CFO) เขตสุขภาพที่ 7 ในเดือนมิถุนายน 2565 โดยให้หน่วยบริการนำเสนอข้อมูล แห่งละ 10 นาที และให้คณะกรรมการฯ ซักถามข้อมูลเพิ่มเติม แห่งละ 10 นาที

กรอบและรายละเอียดการประเมิน

1. นโยบายของผู้บริหาร/แผนพัฒนา/นวัตกรรม/ซอฟแวร์ 10 คะแนน

แหล่งข้อมูลคะแนน
แผนการดำเนินงานที่ระบุกิจกรรมเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งด้านเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย เป็นรายกิจกรรม และมีแผนธุรกิจ(Business Plan)2 คะแนน
รายงานการประชุมคณะกรรมการ CFO อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง(ไตรมาส 4/64 – ไตรมาส 2/65) เนื้อหาต้องประกอบด้วยสถานการณ์การเงิน/ประเด็นที่เป็นปัญหา/แนวทางการแก้ไข/รายงานผลการแก้ปัญหาที่มีการติดตามในไตรมาสถัดๆไป เป็นระยะ 2 คะแนน
มีการใช้นวัตกรรม/ซอฟแวร์ ในการดำเนินงาน (มีการระบุกิจกรรม/เป้าหมาย/รายงานผลงานที่ชัดเจน) 2 คะแนน
การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 คะแนน
การจัดซื้อจัดจ้างเวชภัณฑ์ยา 2 คะแนน

2.กระบวนการในการดำเนินงาน (Process Indicator) 60 คะแนน (ใช้ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2565 ในการประเมินผล)

รายละเอียดการประเมินคะแนน
1. การบริหารแผน Planfin10 คะแนน
1.1 Planfin รายได้ +5 % ขึ้นไป5 คะแนน
1.2 Planfin ค่าใช้จ่าย ไม่เกิน + 5 %5 คะแนน
2. การบริหารต้นทุนบริการไม่เกินค่ากลางกลุ่มโรงพยาบาล20 คะแนน
2.1 Unit Cost OP (Mean+1SD)5 คะแนน
2.2 Unit Cost IP (Mean+1SD)5 คะแนน
2.3 LC ค่าแรงบุคลากร (Mean)2.5 คะแนน
2.4 MC ค่ายา (Mean) 2.5 คะแนน
2.5 MC ค่าเวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุการแพทย์ (Mean) 2.5 คะแนน
2.6 MC ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ (Mean) 2.5 คะแนน
3. การบริหารจัดการบัญชีและการเงิน20 คะแนน
3.1 ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้การค้ายาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา3 คะแนน
3.2 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ UC3 คะแนน
3.3 ระยะเวลาถั่วเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ CS3 คะแนน
3.4 การบริหารสินค้าคงคลัง3 คะแนน
3.5 คะแนนตรวจบัญชีงบทดลองเบื้องต้น3 คะแนน
3.6 ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบควบคุมภายในด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 5 มิติ (Electronics Internal Audit : EIA)5 คะแนน
4. Productivity ที่ยอมรับได้10 คะแนน
4.1 อัตราครองเตียง  มากกว่าหรือเท่ากับ 80 % หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 55 คะแนน
4.2 Sum of AdjRw เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 55 คะแนน

3. ผลงานในการดำเนินงาน (Outcome Indicator)   30 คะแนน

รายละเอียดการประเมิน คะแนน
1. ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Operation Margin) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. 5 คะแนน
2. อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. 5 คะแนน
3. เงินทุนสำรองสุทธิ (NWC)  เป็นบวก และเพิ่มขึ้น 7.5 คะแนน
4. ผลต่างรายได้และค่าใช้จ่าย (EBITDA) เป็นบวก และเพิ่มขึ้น 7.5 คะแนน
5.Cash Ratio เท่ากับหรือมากกว่า 0.8 5 คะแนน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แผนการตรวจสอบภายใน ปี 2565

0 0
Read Time:3 Minute, 36 Second

ที่ไปที่มาการตรวจสอบภายใน

ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กำหนดนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดมีกลไกของการตรวจสอบภายในทุกระดับ เพื่อพัฒนาคุณภาพกระบวนการปฏิบัติงาน ข้อมูสรายงานทางการเงินน่าเชื่อถือ สามารถเพิ่มคุณค่าการดำเนินงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดการดูแลตนเองที่ดีอย่างเป็นระบบ ตามพระราขบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๙ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการตรวจสอบภายใน การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสียง โดยให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด และตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๓ มาตรฐานการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ ส่วนที่ ๒ มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน รหัส ๒๐๐๐ การบริหารงานตรวจสอบภายใน และหลักกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ ข้อ ๑ ให้หน่วยงานของรัฐบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง จึงให้ผู้ตรวจสอบภายในที่ได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการ ให้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราขการและเพื่อกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจงานตรวจสอบภายใน

กำหนดการตรวจสอบ ปี 2565

ลำดับวัน เดือน ปีหน่วยรับตรวจ
1๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ โรงพยาบาลแวงใหญ่
2๑๕ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลชนบท
3๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลโนนศิลา
4๒๒ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลเปือยน้อย
5๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลบ้านไผ่
6๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
7๕ เมษายน ๒๕๖๕ โรงพยาบาลโคกโพธิ์ไชย
8๑๙ เมษายน ๒๕๖๕ โรงพยาบาลมัญจาคีรี
9๒๑ เมษายน ๒๕๖๕ โรงพยาบาลพระยืน
10๒๖ เมษายน ๒๕๖๕ โรงพยาบาลสีชมพู
11๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕โรงพยาบาลหนองนาคำ
12ด๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕โรงพยาบาลภูเวียง

เกณฑ์ในการคัดเลือกหน่วยรับตรวจ

  1. คะแนนจากระบบตรวจสอบอัตโนมัติ (ElA)
    • ไม่ผ่านเกณฑ์ ๔0% ด้านใดด้านหนึ่ง (สิรินธร/บ้านฝาง/อุบลรัตน์/เวียงเก่า/โคกโพธิ์ไขย)
    • รวมเฉลี่ย < ๗๐% (บ้านฝาง/อุบลรัตน์/โคกโพธิ์ไชย/โนนศิลา)
    • การเงิน < ๗0% (โคกโพธิ์ไชย/บ้านฝาง/เวียงเก่า)
    • งบการเงิน < ๗๐% (บ้านฝาง/โนนศิลา/เปีอยน้อยโคกโพธิ์ไชย/ชุมแพ/มัญจาคีรี)
    • จัดเก็บรายได้ < ๗๐% (บ้านฝางโคกโพธิ์ไขย/ เวียงเก่า)
    • พัสดุ < ๗๐% (อุบลรัตน์/โคกโพธิ์ไชย/หนองนาคำ/บ้านไผ่/ภูเวียง/สีชมพู/ชนบท/พระยืน)
    • ควบคุมภายใน < ๗๐% (โนนศิลา/บ้านไผ่/สิรินธร/อุบลรัตน์/เวียงเก่า)
  2. จากผลการจัดส่งแผนรับ-จ่ายเงินบำรุง ประจำปี ๒๕๖๕
    • โรงพยาบาลแวงใหญ่
  3. หน่วยที่ได้รับตรวจแล้วจากเขตสุขภาพที่ ๗ ประจำปี ๒๕๖๕
    • โรงพยาบาลอุบลรัตน์
    • โรงพยาบาลบ้านฝาง

ขอบเขตการตรวจสอบ

  1. ด้านการเงิน : (นางมลิวรรณ มะลิต้น , นางชวรีย์ ศิริพินิตนันท์)
    • แผนรับ-จ่ายเงินบำรุง : (นางสาวสมจิตร เดซาเสถียร , นางสาวณิศา เพ็ญศิริ)
    • เงินบริจาคและเงินเรื่ยไร
    • เงินยืมราชการ
    • ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
    • ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ
    • ค่าใช้จ่ายในการประชุมราชการ
    • การจ่ายเงินค่าตอบแทนโควิด
  2. ด้านระบบบัญชี บัญชีเกณฑ์คงค้าง : (นางสาวดารุณี พิมพ์ลี , นางขนิษฐา นนทะสิงห์)
    • งบทดลอง ณ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
    • เดือนสุดท้ายก่อนเข้าตรวจ
    • เอกสารประกอบ
  3. ด้านการพัสดุ : (นางสุมาลี บุญญรัตน์ , นางนงลักษณ์ ควรคำ)
    • การจัดซื้อจัดจ้าง (แผนจัดซื้อจัดจ้างประจำปีตามหมวดรายจ่าย แผนเงินบำรุง)
    • การบริหารพัสดุ
      • วัสดุ บัญชีวัสดุตามแบบกรมบัญชีกลาง ทุกคลัง
      • รายงานวัสดุคงคลัง ประจำเดือน
      • ครุภัณฑ์ ทะเบียนทรัพย์สิน ตามแบบกรมบัญชีกลาง
      • รายงานค่าเสื่อมสะสม ประจำเดือน
    • การบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา : (นางศศิธร เอื้ออนันต์ , นางสาวอิสรีย์ พละสินธุ์เดชา)
    • การตรวจสอบพัสดุประจำปี ๒๕๖๔
      • รายงานการตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุประจำปี ภายใน ๓๐ วันทำการ
      • ส่งรายงานการตรวจสอบต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัดชอนแก่น / สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดขอนแก่น /สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  4. ด้านการจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล สิทธิที่ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียน : (นายชัชวาลย์ มุ่งแสง , นางสาวพรรทิภา ทองเกลียว)
    • ข้าราชการ
    • ประกันสังคม
    • พรบ.
    • จ่ายตรง อปท.
    • สิทธิเบิกจ่ายต้นสังกัด (รัฐวิสาหกิจ , ธนาคาร)
  5. ด้านการควบคุมภายใน ตามมาตรฐานหลักเกณฑ์การควบคุมภายในที่กระทรวงการคลังกำหนด : (นายรังสรรค์ พลหล้า , นางสาวจารุวรรณ รัศมาวี)
    • คำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ
    • โครงสร้างการบริหารงาน
    • Flow Chart กระบวนงานหลัก ส่วนงานย่อย
    • แบบติดตาม ปค. ๕

เอกสารประกอบ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ราคาค่าบริการกรณีCovid-19

0 0
Read Time:17 Second

อัตราค่าบริการ Covid-19 ปรับใหม่ เริ่ม 1 ธันวาคม 2564 ตามหนังสือเวียนสปสช. ที่ 6.70-ว.7625_ลว.29 พฤศจิกายน 2564

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การขอรับค่าบริการฯปี65

0 0
Read Time:30 Second

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการขอรับค่าบริการฯปี65

ประชุมชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชา ติและเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565 (สำหรับหน่วยบริการ และ สสจ.)

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายฯที่เปลี่ยนแปลงในปี65

0 0
Read Time:9 Minute, 35 Second

หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2565 (บริการเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลง และบริการใหม่)

หมวด 2 บริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว

  1. บริการผู้ป่วยนอก
    • 1.1 การบริหารกองทุนผู้ป่วยนอก เขต 13 กรุงเทพมหานคร
      • 1) ปรับระบบการส่งข้อมูลจาก โปรแกรม OP BKK Claim ให้ส่งผ่านโปรแกรม e-Claim ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
      • 2) การบริหารจัดการงบบริการผู้ป่วยนอก (Global budget) กรณี model 5 เป็นกองทุนภาพรวมทุกเครือข่าย
  2. บริการผู้ป่วยในทั่วไป
    • 2.1 บริการผู้ป่วยใน การรับบริการผู้ป่วยในทั้งในเขตและข้ามเขต โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว
    • 2.2 เด็กแรกเกิดที่น้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม เพิ่มอัตราจ่าย กรณีเด็กแรกเกิดที่น้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม หรือเด็กแรกเกิดที่ป่วยตามเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด หากได้รับหัตถการเพื่อการรักษาที่จำเป็นและราคาแพงตามเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนดเพิ่มเติม จ่ายในอัตรา 12,000 บาทต่อ adjRW
    • 2.3 บริการรักษาด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ (Outlier Reimbursement Schedule : ORS) เพิ่มรายการบริการ กรณีการใช้บริการรักษาด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ (Outlier Reimbursement Schedule: ORS)เพื่อสะท้อนต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาตรฐานการจัดกลุ่มวินิจโรคร่วมของระบบ DRGs version 5 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด โดยรายละเอียดแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายฯ จะปรากฎในคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายฯ ปีงบประมาณ 2565
    • 2.5 บริการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืน (One Day Surgery)/ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ เพิ่มรายการบริการใหม่ จำนวน 19 รายการ ดังนี้
      • 1) การส่องกล้องใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง (Percutaneous Endoscopic Gastrostomy: PEG)
      • 2) EUS-FNB (endoscopic ultrasound-guided fine needle biopsy) pancreas
      • 3) EUS-FNB (endoscopic ultrasound-guided fine needle biopsy) liver
      • 4) การฉีดสารฟิลเลอร์ที่เส้นเสียงการฉีดสารฟิลเลอร์ที่เส้นเสียง (Injection laryngoplasty)
      • 5) การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อรักษาพยาธิสภาพที่กล่องเสียง (Endoscopic laryngeal surgery)
      • 6) การผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู (Tympanoplasty)
      • 7) การวางสาย Tenckhoff catheter
      • 8) การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ในผู้ป่วย Fit test positive
      • 9) การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า
      • 10) การผ่าตัดโรคจอตาและวุ้นตา (Vitreoretinal surgery)
      • 11) การผ่าตัดเพื่อเปิดทางระบายน้ำจากช่องหน้าลูกตาไปใต้เยื่อบุตา (Trabeculectomy)
      • 12) การผ่าตัดเพื่อใส่ท่อระบายน้ำจากช่องหน้าม่านตาไปใต้เยื่อบุตา (Tube shunt surgery)
      • 13) การผ่าตัดเบ้าตา (Orbital surgery)
      • 14) การผ่าตัดเปลือกตา (Eyelid surgery)
      • 15) การผ่าตัดระบบน้ำตา (Lacrimal surgery)
      • 16) การผ่าตัดแก้ไขหนังตาหย่อน (Rhytidectomy/Blepharoplasty)
      • 17) การผ่าตัดโดยวิธีการฉายแสงเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระจกตา (Corneal Collagen Cross Linking)
      • 18) การยิงเลเซอร์ทำลายซิลิอารีบอดี (Cyclophotocoagulation)
      • 19) ผ่าตัดทำลายเยื่อบุตาและผ่าตัดตัดแต่งเยื่อบุตา
    • ปรับการจ่ายรายการบริการผ่าตัดผ่านกล้อง ที่สามารถให้บริการแบบวันเดียวกลับได้ ได้แก่ การบริการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง เฉพาะกลุ่ม DRGs 07100 Laparoscopic cholecystectomy, no CC โดยจ่ายในลักษณะบริการ MIS ที่ให้บริการเป็น ODS (จ่าย RW+K ของ MIS)
    • 2.6 บริการผ่าตัดผ่านกล้องแบบ Minimally Invasive Surgery (MIS)เพิ่มรายการบริการ จำนวน 6 รายการ ดังนี้
      • 1) Laparoscopic Nephrectomy
      • 2) การระบายน้ำดี (biliary drainage) ผ่านการส่องกล้องทางเดินน้ำดี (endoscopic retrograde cholangiopancreatography, ERCP)
      • 3) การผ่าตัดผ่านกล้องการวินิจฉัยและตัดชิ้นเนื้อในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งทางนรีเวช
      • 4) Endoscopic sinus surgery using microdebrider
      • 5) Laparoscopic adrenalectomy
      • 6) Laparoscopic appendectomy
    • มีระบบการขออนุมัติก่อนผ่าตัด (Pre Authorized) กรณีการผ่าตัดภาวะอ้วนที่เป็นโรค/โรคอ้วนทุพพลภาพ (Morbid obesity)
  3. บริการกรณีเฉพาะ
    • 3.1 กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินผู้ป่วยนอกข้ามจังหวัด (OPAE) ปรับรูปแบบการจ่าย เป็นการจ่ายตามรายการบริการ (Fee schedule) และรายการที่ยังไม่กำหนดจะจ่ายตามอัตราที่เรียกเก็บโดยเริ่มดำเนินการ 1 มกราคม 2565 (Service Date)
    • 3.2 การเข้ารับบริการในหน่วยบริการอื่น กรณีเหตุสมควร กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควร นอกจากการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการประจำของตน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง จ่ายให้หน่วยบริการด้วยระบบ Point system ของราคาตามรายการที่กำหนด (Fee schedule) หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด
    • 3.3 การลงทะเบียนตามมติบอร์ด เป็นการจ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัว โดยคำนวณ point ประชากรรายวัน
    • 3.4 รายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบำบัดโรค (Instrument)
      • 1) ประกาศรายการอุปกรณ์ อวัยวะเทียม ในการบำบัดรักษาโรค และข้อบ่งชี้ พ.ศ.2564 โดยรวมประกาศรายการอุปกรณ์ฯ พ.ศ.2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2-4) พ.ศ.2564
      • 2) เพิ่มรายการอุปกรณ์ฯ จำนวน 2 รหัส ได้แก่
        • รหัส 4810 ชุดอุปกรณ์สลายลิ่มเลือดหลอดเลือดในสมอง (Thrombectomy Device)
        • รหัส 4817 ขดลวดพร้อมอุปกรณ์สำหรับปล่อย ชนิดปลดได้ (Detachable coil delivery system)
    • 3.5 การสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography-CAG) กำหนดให้มีการบันทึกข้อมูลมาตรฐานประกอบการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีให้บริการสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography-CAG) ตามแบบฟอร์มที่กำหนด (one page) ในโปรแกรม e-Claim
    • 3.6 บริการผ่าตัดข้อเข่าเทียม การขออนุมัติก่อนผ่าตัด (Pre Authorized) กรณีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ (Total Knee Arthroplasty, TKA) ในผู้ป่วยอายุไม่เกิน 55 ปี ที่วินิจฉัยเป็นข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ หรือข้อเข่าเสื่อมไม่ทราบสาเหตุ (Primary or Unspecified Knee OA) ดำเนินการโดย สปสช.ส่วนกลาง
    • 3.7 ยาจำเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึง ได้แก่ ยาบัญชี จ (2) เพิ่มสิทธิประโยชน์ยาบัญชี จ (2) โดยขยายข้อบ่งใช้ยา จำนวน 2 รายการ และเพิ่มรายการยา จำนวน 2 รายการ ได้แก่
      • 1) ขยายข้อบ่งใช้ยา Imatinib และยา Dasatinib ในกรณีรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ ALL ที่มี Ph+ (รายการยาในระบบเดิม)
      • 2) เพิ่มยา Tocilizumab เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับการรักษาโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุ ชนิด Systemic (Systemic Juvenile Idiopathic Arthritis: SJIA) ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน
      • 3) เพิ่มยา Ceftazidime/avibactam เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae ที่ไวต่อยา Ceftazidime/avibactam ในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้ Colistin
  4. บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
    • .4.1 บริการแพทย์แผนไทย ปรับการจ่ายจากจ่ายตามรายการบริการ (Fee Schedule) เป็นจ่ายแบบเหมาจ่าย ตามจำนวนผลงานบริการการแพทย์แผนไทย โดยใช้ผลงานบริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – พฤษภาคม 2565
    • 4.2 การใช้น้ำมันกัญชาและสารสกัดกัญชา
      • 1) เพิ่มรายการบริการกัญชาทางการแพทย์ ได้แก่ น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และไมเกรน และสารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคมะเร็งระยะท้าย
      • 2) เบิกจ่ายผ่านระบบโปรแกรมการเบิกชดเชยยา หัวข้อ ยากัญชา
      • 3) อัตราจ่าย ดังนี้
        • 3.1) น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และไมเกรน (ตารางที่1)
        • 3.2) สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคมะเร็งระยะท้าย (ตารางที่2)
  5. การปรับเกลี่ยรายรับเงิน Basic payment หน่วยบริการสังกัด สป.สธ.
    1. 1) ผ่านความเห็นชอบจาก 5×5 (ยกเว้น PPnon UC ผ่านความเห็นชอบจาก อปสข)
    2. 2) การปรับเกลี่ย
      • 2.1) เขตสุขภาพนำร่อง ได้แก่ เขต 1,4,9,12 ปรับเกลี่ย Step/K ยอดประกันรายรับขั้นต่ำให้สามารถประกันรายรับได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 87 ของรายรับภาพรวมขั้นต่ำ ปีงบประมาณ 2564
      • 2.2) เขตอื่นๆ ปรับเกลี่ยค่า K
ตารางที่1 อัตราจ่าย น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และไมเกรน
ตารางที่2 อัตราจ่าย สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคมะเร็งระยะท้าย

หมวด 3 บริการผู้ติดเชื้อเอช ไอวี และผู้ป่วยเอดส์

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

  1. บริการเชิงรุก RRTTR
    • จ่ายตามรายการ Fee schedule ตามผลงานบริการรายเดือน ผ่านโปรแกรม NAP สำหรับหน่วยบริการ สสจ. และ CBO ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ
    • จ่ายแบบโครงการ สำหรับ CBO ที่ยังไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ โดยทำนิติกรรมสัญญาผ่าน สปสช. เขต
    • บริการทางคลินิก (STI) จ่ายตามผลงานบริการรายเดือนให้กับหน่วยบริการ ผ่านโปรแกรม NAP
  2. ยกเลิกการจ่ายกรณีการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ (QI)

หมวด 4 บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

การบริการล้างไต การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ ปรับประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนหน่วยเป็นหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ.2564 เพื่อให้สามารถเพิ่มจำนวนหน่วยบริการ ให้ผู้มีสิทธิเข้าถึงบริการได้ตามความจำเป็น

หมวด 5 บริการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง

  1. ค่าบริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยเบาหวาน
    1) การจ่ายภาพรวมระดับประเทศ จ่ายในลักษณะเหมาจ่าย สำหรับการบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และหญิงตั้งครรภ์
    ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน (GDM)
    2) การจ่ายอุปกรณ์ SMBG (Strip test) ผ่านระบบ VMI เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
  2. บริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน จ่ายตามจำนวนผู้ป่วยที่ลงทะเบียนบันทึกข้อมูลในระบบ Care transition

หมวด 8 ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ

ร้านยาคุณภาพ เพิ่มการจ่ายอุปกรณ์ Urostomy bag , Colostomy bag , ถุงยางอนามัยและยาเม็ดคุมกำเนิด โดยให้ผู้มีสิทธิรับอุปกรณ์ได้ที่ร้านยา

หมวด 10 ค่ายาวัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม อุปกรณ์ทางการแพทย์ และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ

การตรวจรักษาและอัตราการชดเชยค่าบริการ โรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง จ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขให้หน่วยบริการ จากเดิมเบิกจ่ายจากโปรแกรมระบบบัญชียา จ(2) เป็น เบิกจ่ายจากโปรแกรม e-Claim

หมวด 13 บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

  1. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับประเทศ (P&P National priority program and central procurement) เพิ่มรายการจ่ายจากเดิม 6 รายการ เป็น 7 รายการ โดยรายการเพิ่มเติมได้แก่ ถุงยางอนามัยและยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน ซึ่งจะจัดหาเป็นอุปกรณ์ผ่านระบบ VMI และกำหนดให้ผู้มีสิทธิรับอุปกรณ์ได้ที่ร้านยาในโครงการ
  2. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน (P&P basic services)
    • 1) การจ่ายแบบเหมาจ่าย รวมบริการทันตกรรมป้องกันในเด็กวัยเรียน (เคลือบฟลูออไรด์ในเด็กอายุ 4-12 ปี และเคลือบหลุมร่องฟันถาวรในเด็กอายุ 6-12 ปี)
    • 2) กรณีการจ่ายแบบ Fee schedule มีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
      • 2.1) ปรับการจ่ายรายการทันตกรรมป้องกันในเด็กวัยเรียนโดยจ่ายแบบเหมาจ่าย และรายการที่เหลือยังคงจ่ายแบบ Fee schedule เช่นเดิม
      • 2.2) เพิ่มรายการแว่นตาเด็ก สำหรับเด็กไทย อายุ 6-12 ปี หรือเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
      • 2.3) บริการตรวจคัดกรองภาวะพร่อง TSH และ PKU ในเด็กแรกเกิด เพิ่มค่าตรวจและการติดตามเพื่อตรวจยืนยันในรายที่ผิดปกติ ในอัตรา 350 บาท/ราย โดยบันทึกผ่านโปรแกรม NPRP
      • 2.4) ปรับอัตราจ่ายค่าบริการตรวจยืนยันโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์และสามี กรณีค่าตรวจ Alpha thalassemia อัตรา 800 บาท/ครั้ง และ Beta thalassemia อัตรา 3,000 บาท/ครั้ง
      • 2.5) ปรับการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายกรณีการฝากครรภ์และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) โดยจะเปลี่ยนการบันทึกข้อมูลจากระบบ 43 แฟ้ม เป็นการบันทึกในโปรแกรม e-Claim เริ่มดำเนินการ 1 มกราคม 2565

หมายเหตุ รายละเอียดการเบิกจ่ายฯ ตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565

Happy
8 62 %
Sad
2 15 %
Excited
2 15 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 8 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเบิกค่าใช้จ่ายการรักษาCovid19-คนไร้สิทธิ

0 0
Read Time:11 Minute, 40 Second

แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำหรับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ ๐๒๑๐.๐๕/ว๓๐๐๐ ลงวันที่ ๒๐ ก.ค. ๒๕๖๔ และหนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ ๐๒๑๐.๐๕/ว๔๒๓๙ ลงวันที่ ๑ ต.ค.๒๕๖๔

เพื่อให้การขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ของหน่วยบริการหรือโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินไป ด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด สอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ที่เห็นชอบให้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และให้สถานพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาภาครัฐ สภากาชาดไทยปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว รวมทั้งฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ในฐานะหน่วยงานที่ต้องดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องและขออนุมัติเบิกจ่ายการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย (ที่ไร้สิทธิการรักษาพยาบาล) ฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ที่เกิดขึ้น ของหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาล ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้

นิยาม

“ผู้ป่วย” หมายถึง ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และให้หมายความรวมถึงบุคคลกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (CoronavirusDisease 2019 (COVID-19)) โดยการฉีดวัคซีนจากสถานพยาบาล ที่ภาครัฐกำหนดและเกิดอาการแพ้วัคซีน หรืออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการฉีดวัคซีน

“ผู้ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล” หมายถึง คนต่างด้าวไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือผู้ไร้สัญชาติ หรือ ผู้มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าวเนื่องจากสิทธิประโยชน์ไม่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))

“โรงพยาบาล” หมายถึง หน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาภาครัฐ สภากาชาดไทย

๑. เงื่อนไขการให้การรักษาพยาบาลและการขอรับค่าใช้จ่าย

  • ๑.๑ การแบ่งกลุ่มการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สำหรับผู้ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ดังนี้
    • ๑.๑.๑ กลุ่มคนต่างด้าวไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือ ผู้ไร้สัญชาติ เป็นผู้ป่วยที่จำหน่าย ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ และจำหน่ายภายใน ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
    • ๑.๑.๒ กลุ่มผู้มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าว เป็นผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๔ และจำหน่ายภายใน ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
    • ๑.๑.๓ กลุ่มคนต่างด้าวไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือ ผู้ไร้สัญชาติ หรือกลุ่มผู้มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าว เป็นผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔
  • ๑.๒ การรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ให้ดำเนินการตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  • ๑.๓ เมื่อสิ้นสุดการรักษาพยาบาลผู้ป่วยแล้ว โรงพยาบาลสามารถขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไปที่กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยมิให้เรียกเก็บจากผู้ป่วยเพิ่มเติม
    • (๑) ยา Favipiravir หรือ ยา remdesivir ให้เบิกจากกระทรวงสาธารณสุข
    • (๒) ค่าชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE ) หากเบิกจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว มิให้นำมาเบิกซ้ำซ้อน หากตรวจพบภายหลังจะดำเนินการเรียกเงินคืน
  • ๑.๔ กรณีส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาพยาบาลยังโรงพยาบาลอื่น โรงพยาบาลต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อตามความเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยอาจส่งต่อได้ในกรณี ดังนี้
    • ๑.๔.๑ โรงพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาตัวในเครือข่ายโรงพยาบาลที่จัดส่งไว้สำหรับผู้ป่วย
    • ๑.๔.๒ โรงพยาบาลมีศักยภาพไม่เพียงพอในการดูแลผู้ป่วย
    • ๑.๔.๓ ผู้ป่วยหรือญาติมีความประสงค์จะไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่นกรณีโรงพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยไปรับการดูแลรักษายังโรงพยาบาลอื่นตามข้อ ๑.๔.๑ หากผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยปฏิเสธไม่ขอให้ส่งต่อ หรือ กรณีผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยประสงค์จะไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่นตามข้อ ๑.๔.๓. ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง
  • ๑.๕ การขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ช่วงเวลานับตั้งแต่รับผู้ป่วยตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่นให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
    • ๑.๕.๑ ครอบคลุมการเข้ารับการรักษาพยาบาลทั้งประเภทผู้ป่วยนอก และประเภทผู้ป่วยใน
    • ๑.๕.๒ กรณีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการระบุว่าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) (ผลเป็นบวก) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะครอบคลุมตั้งแต่วันที่โรงพยาบาลรับเข้ามาเป็นผู้ป่วยใน จนสิ้นสุดการรักษาพยาบาลตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและให้หมายความรวมถึงกรณีที่โรงพยาบาลส่งตัวผู้ป่วยไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งอื่นด้วย ทั้งนี้ เกณฑ์การตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    • ๑.๕.๓ กรณีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการระบุว่าผู้ป่วยไม่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) (กรณีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient under investigation: PUI) แต่พบว่าผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการเป็นลบ) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะครอบคลุมตั้งแต่วันที่โรงพยาบาลรับเข้ามาเป็นผู้ป่วยในเพื่อตรวจจนถึงวันที่ผู้ป่วยได้รับแจ้งผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ เกณฑ์การตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  • ๑.๖ อัตราค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเป็นไปตามบัญชี และอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ๑.๗ ข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายที่อยู่ในช่วงการรักษาเดียวกัน สามารถขอรับค่าใช้จ่ายได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และมิให้ขอรับค่าใช้จ่ายในรายการที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งอื่นแล้ว
  • ๑.๘ โรงพยาบาลต้องเก็บรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไว้เป็นหลักฐานเพื่อการตรวจสอบต่อไป

๒. เอกสารประกอบการพิจารณาในการขอรับค่าใช้จ่าย

  • ๒.๑ เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล (ทั้งนี้ กรณีเป็นสำเนาเอกสาร ทุกฉบับต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ) ได้แก่
    • ๒.๑.๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย (Patient’s profile)
    • ๒.๑.๒ ภาพถ่ายผู้ป่วย
      • (๑) กรณีจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ (ถ้ามี)
      • (๒) กรณีจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลภายหลังวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ (ต้องมี)
    • ๒.๑.๓ สำเนาเอกสารแสดงตัวบุคคลที่ออกโดยทางราชการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น บัตรประจำตัวคนต่างด้าว หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นต้น (ถ้ามี)
    • ๒.๑.๔ เอกสารผลตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) ด้วยวิธี RT-PCR หรือ วิธีอื่น ๆ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    • ๒.๑.๕ รหัสสงสัยผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) (SAT CODE) (ถ้ามี)
    • ๒.๑.๖ แบบสอบสวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบติดเชื้อ (Novel Coronavirus 2019) (ถ้ามี)
    • ๒.๑.๗ แบบสรุปเวชระเบียนผู้ป่วย
  • ๒.๒ เอกสารสรุปข้อมูลค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยรายบุคคล ให้ใช้ตามแบบใบสรุปค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย กรณีรับการรักษา COVID–19 ของผู้ป่วยที่ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล รายบุคคล สำหรับโรงพยาบาล ซึ่งลงนามรับรองโดยผู้อำนวยการโรงพยาบาล
  • ๒.๓ เอกสารสรุปข้อมูลใบสรุปค่ารักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) ให้ใช้ตามแบบรายงานสรุปค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย กรณีรับการรักษา COVID–19 ของผู้ป่วยที่ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล รายโรงพยาบาล สำหรับโรงพยาบาล ซึ่งลงนามรับรองโดยผู้อำนวยการโรงพยาบาล
  • ๒.๔. โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้เก็บเอกสาร/หลักฐานการให้การรักษาพยาบาลตามข้อ ๒.๑ ไว้ที่โรงพยาบาลเพื่อการตรวจสอบภายหลัง ยกเว้น การขอตรวจสอบเป็นกรณีเฉพาะราย

๓. วิธีการขอรับค่าใช้จ่าย

  • ๓.๑ โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการดังนี้
    • ๓.๑.๑ การส่งข้อมูลเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ได้ให้บริการตามจริง สำหรับผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ให้ส่งในรูปแบบเอกสาร
    • ๓.๑.๒ การส่งข้อมูลเพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ได้ให้บริการตามจริง สำหรับผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ให้ส่งผ่านโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์เว็บไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิhttps://state.cfo.in.th/ ตามวิธีการ และขั้นตอนการส่งข้อมูลที่กำ หนดตามเอกสารแนบ “ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนบุคคลไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (COVID-19) สำหรับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข”
    • ๓.๑.๓ การเลือกส่งข้อมูล ให้เลือกส่งข้อมูลตามประเภทผู้ป่วยที่สอดคล้องกับการให้บริการที่ระบุรหัสโรค (ICD10) สอดคล้องกับการรักษา ภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่ให้บริการกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) หรือ วันที่จำหน่ายผู้ป่วย (Discharge) กรณีผู้ป่วยใน (IPD) และจะสิ้นสุดการส่งข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย โดยถือวันส่งข้อมูล (Sent date) ภายในวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ และจะทำการปิดรับข้อมูลในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔
    • ๓.๑.๔ การตรวจสอบผลการจ่ายค่ารักษาพยาบาล กรณีโรงพยาบาลที่ส่งข้อมูลเข้าระบบแล้ว สามารถตรวจสอบผลการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และดาวน์โหลดหนังสือแจ้งการโอนเงินทางเวบไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ http://state.cfo.in.th/ หน้าหลัก ข้อ ๕ แจ้งผลการโอนเงินค่ารักษาพยาบาล บุคคลที่ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (COVID – 19)
    • ๓.๑.๕ การกำหนดจ่ายค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล กำหนดจ่ายเป็นรายเดือนตามเดือนที่ส่งข้อมูล หรือเมื่องบประมาณหมดสิ้น โดยจะตัดยอดข้อมูลเพื่อประมวลผลจ่ายทุกวันสิ้นเดือน โดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะดำเนินการขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน และส่งให้กองบริหารการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โอนเงินให้กับโรงพยาบาลต่อไป
  • ๓.๒ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการดังนี้
    • ๓.๒.๑ การส่งข้อมูลเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ได้ให้บริการตามจริง ให้ส่งข้อมูลในรูปแบบเอกสารภายใน ๓๐ วัน หลังการจำหน่ายผู้ป่วยแล้ว ไปยังกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตำบล ตลาดขวัญ อำเภอ เมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โดยแบ่งข้อมูลดำเนินการเป็น ๒ ช่วงเวลา ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ดังนี้
      • (๑) ผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
      • (๒) ผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
    • ๓.๒.๒ การดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และสรุปค่าใช้จ่าย เมื่อกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพได้รับข้อมูลจากโรงพยาบาลถูกต้อง ครบถ้วนตามที่กำหนดแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง สรุปค่าใช้จ่าย และขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน และส่งให้กองบริหารการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โอนเงินให้กับโรงพยาบาลต่อไป ภายในระยะเวลา ๑๕ วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ เวลา ที่ได้รับข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน ตามที่กำหนด

๔. การขอทบทวนผลการพิจารณาการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย หรือเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้โรงพยาบาลดำเนินการดังนี้

  • ๔.๑ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สามารถขอทบทวน เป็นหนังสือภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการโอนเงิน
  • ๔.๒ หน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขสามารถขอทบทวนเข้ามาในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากทราบผลการพิจารณาในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใน ๕ วันทำการ

ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถือเป็นที่สุด

Happy
0 0 %
Sad
1 100 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การจัดทำแผนทางการเงิน ปี 2565

0 0
Read Time:2 Minute, 9 Second

การจัดทำแผนทางการเงิน (Planfin 2565)
และแผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง
หน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กำหนดตัวชี้วัดด้านการเงินการคลัง คือ ร้อยละของหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตการเงิน ระดับ ๗ เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๔ และระดับ ๖ เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๖ จึงมีนโยบายให้หน่วยบริการจัดทำแผนทางการเงิน (Planfin) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประกอบกับผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ รอบที่ ๑ ประเด็นที่ ๖ ระบบธรรมาภิบาล ตรวจสอบภายใน (แผนเงินบำรุงในโรงพยาบาล) พบว่าหน่วยบริการส่วนใหญ่มีแนวทางการจัดทำแผนรายรับ-รายจ่ายเงินบำรุงแต่ยังไม่ครอบคลุม ครบถ้วน เพื่อให้การจัดทำแผนทางการเงิน (Planin) และแผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง ของหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีความเชื่อมโยง สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเกิดประสิทธิภาพ จึงขอให้หน่วยบริการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  1. แผนทางการเงิน (Planfin) ปีงบประมาณ พ.ศ, ๒๕๖๕ หน่วยงานที่จัดทำ ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน
    • ๑.๑ ดำเนินการจัดทำแผนทางการเงิน (Planin) ตามคู่มือการจัดทำแผนทางการเงิน (Planfin2565) และส่งผ่านเว็บไซต์ http://planfin.cfo.in.th ภายในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔
    • ๑.๒ เสนอนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด อนุมัติแผนทางการเงิน (Planfin)
    • ๑.๓ เสนอผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ให้ความเห็นชอบภายในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔
  2. แผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ หน่วยงานที่จัดทำ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
    • ๒.๑ ดำเนินการจัดทำแผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง ภายในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔
    • ๒.๒ เสนอนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด อนุมัติแผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง ภายในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๔
    • ๒.๓ หน่วยบริการจัดเก็บแผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง ที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไว้ที่หน่วยบริการเพื่อการกำกับและติดตามการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแผน ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการจัดทำแผนทางการเงิน (Planfin)/ และแผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง ได้ที่เว็บไซต์ https://hfo64.cfo.in.th

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ขอให้หน่วยบริการในสังกัด ดำเนินการจัดทำแผนทางการเงินทั้ง ๒ แผน

ส่งให้งานการเงินและบัญชี กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น เป็นไฟล์ Excel ทาง E-Mail: K.thammapon@gmail.com พร้อมด้วยหนังสือนำส่ง ภายในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
1 100 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการเรียกเก็บผู้ป่วยนอก ปี2565

0 0
Read Time:4 Minute, 26 Second

แนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ในจังหวัดขอนแก่น ปี ๒๕๖๕

แนวทางการเรียกเก็บ/ชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) ประเภทผู้ป่วยนอก ภายในจังหวัดขอนแก่น

กรณีเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์จากงบ OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น

(เริ่มเดือน 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป)
(ยกเลิกหนังสือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ที่ ขก 0032.005/ว 1430 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2563)
  1. หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลชุมแพ และโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่น ลงบันทึกข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยเป็นรายเดือน (ตัดยอดข้อมูล 1-30 ของเดือน) และต้องเป็นผู้ป่วยที่ไม่เบิกค่าบริการฯ ซ้ำซ้อนกับกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบ นค.1 ขอนแก่น เป็น Electronic File โปรแกรม Exce โดยใช้อัตราค่าบริการของกรมบัญชีกลาง ตามประกาศระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาในสถานพยาบาลของทางราชการ
  2. หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นเป็นรายเดือน ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป เอกสาร/ข้อมูลประกอบการเรียกเก็บ มีดังนี้
    • 2.1 หนังสือราชการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล
      • ระบุการให้บริการประจำเดือน ทีให้บริการ
      • จำนวนครั้ง (Visit) ที่ผู้ป่วยเข้ารับบริการ
      • จำนวนเงินค่าใช้จ่ายจริงทั้งสิ้น
      • จำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่เรียกเก็บ (ตรวจสอบให้สอดคล้องกับข้อมูลด้วย)
      • หมายเลขบัญชี และสาขา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อรับเงินโอน
    • 2.2 แบบแสดงรายการค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก นค.1 ขอนแก่น ที่มีการลงนามรับรองจากเจ้าหน้าที่การเงิน และหัวหน้าหน่วยบริการที่ให้การรักษา
    • 2.3 ข้อมูลตามแบบ นค.1 ขอนแก่น ที่เป็น Electronic File โปรแกรม Excel ส่งไปที่ E-mail address : tanya.maksong@gmail.com ทั้งนี้ สามารถ Download แบบ นค.1 ขอนแก่น ได้ที่ไฟล์แนบด้านล่าง
    • 2.4 กรณีเรียกเก็บค่า MRI&CT เพิ่มเติมของโรงพยาบาลขอนแก่น สิรินธรฯ ชุมแพ น้ำพอง พล และ กระนวน ให้จัดส่งสำเนาเอกสารใบสั่งตรวจ (Recuest For X-Ray) รพ.ขอนแก่น และใบสั่งตรวจพิเศษฯ ของบริษัท และผลตรวจฯ ในรูปแบบเอกสาร และอิเลคทรอนิคส์ไฟล์ ตามแบบ นค. 1 ให้กองทุนจังหวัดตรวจสอบ/พิจารณาจ่ายค่าตรวจฯ เพิ่มเติม ทั้งนี้ โดยใบสั่งตรวจ (Request For X- Ray) ของ รw.ขอนแก่น ต้องระบุรพ. ที่จะให้ไปตรวจ CT พร้อมทั้งให้กำหนดวันนัดฟังผลตรวจ CT ดังกล่าวไว้ด้วย
    • 2.5 กรณีเรียกเก็บประเภทผู้ป่วยนอก ที่เข้ารับบริการที่หน่วยบริการระดับปฐมภูมินอกเครือข่ายหน่วยบริการประจำภายในจังหวัดขอนแก่น กรณีที่มีเหตุสมควร โดยไม่มีใบส่งต่อ อ้างอิงตามหนังสือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ที่ ขก 0032.005/ ว 2112 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 เรื่อง แนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกในจังหวัดขอนแก่น (เพิ่มเติม)
      • หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) รวบรวมข้อมูลตามแบบ นค.1 (สำหรับหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ)สรุปรวมเป็นภาพรวม CUP ที่มีการลงนามรับรองจากผู้รับผิดชอบงาน และหัวหน้าหน่วยบริการที่ให้การรักษา
      • ส่งไปยังกลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ภายในวันที่ 20 ของเดือน ไปยัง E-mail.: tanya.maksong@gmail.com โดยจัดทำหนังสือราชการเรียกเก็บแยกส่งจากข้อมูลตามแบบ นค.1 ที่โรงพยาบาลให้บริการผู้ป่วยนอก สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีส่งต่ออุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ในจังหวัดรายเดือน
      • กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล และจ่ายเงินชุดเชยค่าบริการทางการแพทย์ โดยแจ้งผลการตรวจสอบ และแจ้ง สปสช.โอนเงินให้หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) เพื่อพิจารณาจัดสรรค่าบริการทางแพทย์ให้หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ในลำดับต่อไป
  3. กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสารารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล และจ่ายเงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ โดยแจ้งผลการตรวจสอบ และแจ้ง สปสช.โอนเงินให้หน่วยบริการที่เรียกเก็บๆ เป็นรายเดือน หน่วยบริการสามารถตรวจสอบรายละเอียดการโอนเงินได้ที่ http://www.nhso.go.th/เลือก เมนู -→ หน่วยบริการ > NHSO Budget →> รายงานการจ่ายเงินกองทุน

หมายเหตุ

  1. ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผู้ประกันตนคนพิการ ขอให้หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยเรียกเก็บไปยังหน่วยบริการที่ผู้ป่วยลงทะเบียนสิทธิตามหน้าเว็ปไซต์ตรวจสอบสิทธิของ สปสช.
  2. ผู้ป่วยที่ลงทะเบียนสิทธิโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร ขอให้หน่วยบริการ ที่ให้บริการผู้ป่วย ส่งเอกสารไปเรียกเก็บที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร โดยตรงเนื่องจากไม่ได้กันเงินไว้จังหวัด ทั้งนี้ อัตราชดเชยค่าบริการกำหนดจ่ายตามข้อตกลงของกองทุนจังหวัดขอนแก่นหรือตามข้อตกลงเฉพาะระหว่างกันเอง

เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สรุปมติและข้อสั่งการCFO-9ก.ย.64

0 0
Read Time:8 Minute, 39 Second

สรุปมติ และข้อสั่งการ
ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO)
หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2/2564
วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.30-16.30 น.

(ภาพและวาระการประชุม)

ประเด็น :

สรุปสถานการณ์การเงินการคลังหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น ณ เดือนสิงหาคม 2564

แนวทางการบริหารกองทุน UC และการปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2565 และงบกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการปรับเกลี่ย….

  • การปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด
  • กันเงินไว้บริหารระดับเขต เพื่อปรับเกลี่ยภายใน ไตรมาส 3/65 จำนวน 42,000,000 บาท
  • จังหวัดขอนแก่น ได้รับจัดสรรรวมทั้งสิ้น 94,024,615.87 บาท

แนวทางการปรับเกลี่ย ระดับจังหวัด ให้กับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น

  • จัดสรรตามสัดส่วน NWC ที่ติดลบ
  • จัดสรรตามสัดส่วนจำนวน รพ. M1, M2, F1
  • จัดสรรตามส่วนต่าง เงิน OP PP IP ปี 2564 และ 2565 ที่ลดลง
  • จัดสรรตามประมาณการรายรับเงิน OP PP IP หลังปรับลดค่าแรง ปี 2565
  • กันเงิน CF ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 14,000,000 บาท
    1. ไว้จัดสรรเพื่อช่วยโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงทางการเงิน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในไตรมาส 3/2565 จำนวน 9,000,000 บาท
    2. จัดสรรเพื่อให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ใช้ในการดำเนินงานขับเคลื่อนตามนโยบายด้านสาธารณสุข ปี 2565 จำนวน 5,000,000 บาท

จัดสรรเงินสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับประชากรสิทธิอื่น (Non UC) ปีงบประมาณ 2565

วงเงิน 52,427,222.19 บาท ตามจัดสรรตามสัดส่วนประชากรสิทธิอื่น (Non UC) ณ 1 เมษายน 2564 โดยจัดสรรให้หน่วยบริการนอกสังกัด จำนวน 2 แห่ง คือ รพ.ศรีนครินทร์ มข. และ รพ.ค่ายศรีพัชรินทร รวม 1,573,432.61 บาท คงเหลือจัดสรรให้หน่วยบริการในสังกัด สป.สธ. จำนวน 50,853,789.58 บาท

การกันเงิน OP Virtual Account เพื่อตามจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แทน CUP กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉินในจังหวัด และส่งต่อนอกจังหวัด ปีงบประมาณ 2565

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตามจ่าย OP Refer นอกจังหวัด 20 ล้านบาท และ ตามจ่าย OP Refer/OP AE ในจังหวัด 120 ล้านบาท

จัดสรรค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร และพื้นที่เสี่ยงภัย ประเภท รพท./รพศ.ระดับ ก (งบ Hardship) ปีงบประมาณ 2565

โรงพยาบาลชุมแพ ได้รับจัดสรรงบ จำนวน 5,178,140.02 บาท

สรุปแผนการโอนเงินเหมาจ่ายรายหัว ปีงบประมาณ 2565

การปรับเกลี่ยเงินกัน UC ที่บริหารระดับประเทศ ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

  • จังหวัดขอนแก่นได้รับการจัดสรรเงิน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,653,879.20 บาท ผลการจัดสรร…
    • ครั้งที่ 1 จำนวน 3,777,400 บาท พิจารณาจัดสรรให้หน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น ทุกแห่ง ตามสัดส่วนประมาณการรายรับงบ OP PP IP หลังปรับลดค่าแรง ปีงบประมาณ 2564
    • ครั้งที่ 2 จำนวน 1,876,479.20 บาท พิจารณาจัดสรรให้ รพ.พล เต็มจำนวน เพื่อสนับสนุนชดเชยค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย ที่โรงพยาบาลในโซนใต้ค้างชำระ จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,969,180 บาท ณ 31 สิงหาคม 2564 สรุปค่าใช้จ่ายตามรายการ ดังนี้
      • ค่าเวชภัณฑ์สมุนไพร จำนวน 840,215 บาท
      • ค่าสิ่งส่งตรวจ จำนวน 1,128,965 บาท
  • * รพ.ชนบท ได้รับจัดสรรตามเกณฑ์ กรณีช่วยหน่วยบริการที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและมีแนวโน้มจะเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในไตรมาส 4/2564 จำนวน 1,457,900 บาท (สป.แจ้งโอนตรงให้หน่วยบริการ)

การปรับเกลี่ยงบ OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564 ที่เหลือจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ คงเหลือเงินกันผู้ป่วยนอกในจังหวัด จำนวน 34,057,364.57 บาท

  1. จัดสรรให้กับโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงทางการเงิน โรงพยาบาลที่มีการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลังดีเด่น และพัฒนางานที่เกี่ยวข้องตามนโยบาย จำนวน 9,000,000 บาท เงื่อนไขจัดสรร ดังนี้ เอกสารหมายเลข 4
    • การพัฒนาตามเกณฑ์ TPS V.3 ไตรมาส 3 ปี 2564
    • TPS เกรด A และ B
    • ข้อมูลโรงพยาบาลที่มี NWC ติดลบ ณ สิงหาคม 2564
    • ข้อมูลสถานการณ์ทางการเงินสิ้นเดือนกรกฎาคม 2564
    • จัดสรรตามสัดส่วนประมาณการรายรับหลังหักเงินค่าแรง OP PP IP ปี 2564
  2. จัดสรรเพื่อบริหารจัดการภาระค่าใช้จ่ายค่ายา (ยาที่ รพ.ขอนแก่นผลิต และยาสำเร็จรูปไม่รวมยา Refer) ค่าเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา ค่า lab และค่าจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ให้บริการผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระหว่าง รพช./ รพท. ในจังหวัดขอนแก่น กับ รพ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นข้อมูลขอรับการสนับสนุนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 – 2564 (1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2564) จำนวน 25,057,364.57 บาท

แนวทางการบริหารจัดการขอรับการสนับสนุนยา/ วชย./ Lab ที่ รพท./รพช.ในจังหวัดขอนแก่น จากโรงพยาบาลขอนแก่น

  • แต่งตั้งคณะทำงานย่อย (พบส.ที่เกี่ยวข้อง) กำหนดหน้าที่และบทบาท
  • ให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบรายการยา/วชย./lab ที่จะขอรับการสนับสนุนจาก รพ.ขอนแก่น
  • กำหนดหลักการ/เงื่อนไข กรอบรายการประเภทวัสดุที่จะขอรับการสนับสนุน และจ่ายคืนอย่างไร ?
  • พบส. ที่เกี่ยวข้องทบทวน&เสนอกรอบรายการที่จะขอรับการสนับสนุนจาก รพ.ขอนแก่นได้/ เงื่อนไขที่จะตามจ่าย ภายในต้นปีงบประมาณ 2565 ได้แก่
    • ระบุรายการที่จะให้เบิก/จ่ายได้
  • เงื่อนไขการสั่งจ่ายของผู้สั่งจ่าย รพ.ขอนแก่น
  • กรอบปริมาณที่จะจ่ายแต่ละคราว

การกำกับติดตามและเฝ้าระวังทางการเงินการคลังของหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2565

ขอให้หน่วยบริการทุกแห่ง ให้ความสำคัญในการกำกับติดตามในเรื่องของสถานการณ์การเงินการคลังของหน่วยบริการ และงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ดังนี้

  1. สรุปวิเคราะห์เสนอในที่ประชุม กวป. โดยมีการวิเคราะห์เป็นรายหน่วยบริการ
    • หน่วยบริการมีปัญหาประเด็นปัญหาในเรื่องใด โดยเฉพาะตามดัชนีชี้วัด จากผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังเกณฑ์ Total Performance Score
  2. ขับเคลื่อนการดำเนินการโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น และคณะกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง (พปง.) ซึ่งจะให้เน้นย้ำประเด็นดังต่อไปนี้
    • แผนเงินบำรุงสำหรับในทุกหน่วยบริการ (รพ./รพ.สต.) ซึ่งต้องวางแผนการทำแผนบำรุงให้สอดคล้องกับการดำเนินจริง สามารถปรับแผนได้ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่หน่วยบริการไม่มีแผนที่ทันสมัย และมีการใช้จ่ายเกินกว่าแผนเงินบำรุงที่ขออนุมัติไว้
    • หน่วยบริการต้องดำเนินการตามระบบควบคุมภายใน ซึ่งงานตรวจสอบภายใน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จะเป็นผู้ประเมินโดยใช้เครื่องมือการตรวจประเมินภายใน 5 มิติ (EIA) ขอให้หน่วยบริการให้ความสำคัญ และดำเนินการตามเกณฑ์การตรวจประเมินผลที่กำหนด
  3. งบค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าเสื่อม) ของ สปสช. ให้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และกำกับติดตามหน่วยบริการที่ได้รับสนับสนุนงบดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จตามกรอบและห้วงเวลาที่กำหนด เนื่องจาก สปสช.จะให้คืนงบประมาณที่ได้รับจัดสรรหากไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสถานการณ์ทางการเงินของหน่วยบริการนั้นๆ

โรงพยาบาลพล เสนอขออนุมัติใช้เงินกองทุน OP Virtual จังหวัดขอนแก่น เพื่อจ่ายชดเชยค่าตรวจเอกเรย์คอมพิวเตอร์พิเศษ (CT Scan) กรณี เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้กับโรงพยาบาลขอนแก่น

  • ด้วย โรงพยาบาลพล ได้พัฒนาศักยภาพการในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Service Plan Stroke จังหวัดขอนแก่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการด้านโรคหลอดเลือดสมอง ของ Node Stroke Fast Track จังหวัดขอนแก่น คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอพล และอำเภอใกล้เคียง ได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น ทั้งนี้ โรงพยาบาลพลได้ดำเนินการเปิดศูนย์ CT Scan และเริ่มให้บริการตรวจพิเศษ CT Scan แล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เป็นต้นมา
  • เสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติใช้เงินกองทุนผู้ป่วยนอก จังหวัดขอนแก่น (OP Virtual Account) เพื่อจ่ายชดเชยค่าตรวจพิเศษ CT Scan กรณี เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้กับโรงพยาบาลขอนแก่น สำหรับผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการประจำ สังกัด สป.สธ. ในจังหวัดขอนแก่น ตามที่แพทย์ของโรงพยาบาลขอนแก่นสั่งตรวจวินิจฉัย และมีนัดติดตามผลการรักษา เพื่อลดการรอคอยคิวในการตรวจ CT โดยขอรับชดเชยค่าบริการตรวจในอัตราจ่ายค่าตรวจ CT ตามแนวทางข้อตกลงของจังหวัดที่กำหนด ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

แนวทางการสนับสนุนงบ Fixed Cost สำหรับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2565

คณะกรรมการ CFO จังหวัดขอนแก่น เสนอขอให้ดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. ขอให้แจ้งวงเงินจัดสรรรายปี งบ Fixed Cost สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ที่จะต้องใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข และงบประมาณงบดำเนินงาน (หมวด 300) ที่ สสอ.ได้รับจัดสรร ประจำปี เพื่อโรงพยาบาลจะได้ทราบจำนวนเงินส่วนต่างที่ต้องโอนเงินเพิ่มเติมให้กับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
  2. ขอให้ทบทวนวงเงินจัดสรรงบ Fixed Cost สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอใหม่ สืบเนื่องจากมีการกำหนดวงเงินจัดสรรในภาพรวม 7,800,000 บาท นี้ มาเป็นเวลา 3 ปี แล้ว
  3. ขอให้แจ้งแนวทางการการสนับสนุนงบ Fixed Cost ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไขแนวทางใดๆ เพื่อจะได้ไม่เกิดความสับสนในการปฏิบัติ
  • มอบกลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข แจ้งจัดสรรงบ Fixed Cost สำหรับ สสอ. ประจำปีงบประมาณ 2565 และให้ทบทวนปรับปรุงวงเงินสนับสนุน Fixed Cost
  • มอบกลุ่มงานประกันสุขภาพ แจ้งแนวทางการจัดสรรงบ Fixed Cost สำหรับ รพ.สต.ให้โรงพยาบาลทราบ และดำเนินการเป็นปีๆ ไป
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สรุปผลการประเมินEIA จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564

0 0
Read Time:5 Minute, 54 Second

บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)

รายงานผลการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : ElA)

ตามแผนการตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้กำหนดแผนการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) ทุกหน่วย บริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นั้น
การปฏิบัติงานกลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการ
ตรวจสอบและประเมินผลข้อมูลการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) ตามแนวทางที่กำหนด ซึ่งสรุปผลการตรวจสอบภายในภาพรวมจังหวัดขอนแก่น ดังนี้

เชิงปริมาณ

ผลการประเมินการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังโดยระบบ (Electronics Internal Audit : EIA)จังหวัดขอนแก่น จำนวน ๒๖ แห่ง

สรุปผลการประเมินภาพรวม ผลการดำเนินงานในภาพรวมของระดับจังหวัด ผลคะแนนร้อยละ ๘๐.๓๕ อยู่ในเกณฑ์ดี จากการตรวจสอบในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) พบว่าในแต่ละมิติมีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ ดังนี้ มิติด้านการเงิน ร้อยละ ๘๓.๕๓ มิติด้านจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล ร้อยละ ๘๐.๕๒ มิติด้านงบการเงิน ร้อยละ ๗๗.๓๘ มิติด้านบริหารพัสดุ ร้อยละ ๗๔.๐๒ และมิติด้านระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ร้อยละ ๘๕.๖๘

เชิงคุณภาพ

ประเด็นความเสี่ยงที่ตรวจพบ (condition) ดังนี้

  • ๑) มิติด้านการเงิน จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ มีการเก็บรักษาเงินโดยทั่วไปหน่วยงานมีวงเงินเก็บรักษาเกินกว่าที่กำหนดตามประกาศสำนักงานบ่ลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ ๐๒๐๗/ว๖๓ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจการนำเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์กลับเข้าฝากคลังและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS หน่วยบริการไม่ได้นำเงินฝากคลังและไม่ได้จัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากคลัง การเบิกจ่ายค่าตอนแทนนอกเวลาราชการ (ฉ๕) และการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเสี่ยงภัยของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมและรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่ได้แนบคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน หน่วยบริการไม่ได้จัดทำรายงานความก้าวหน้าของเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรายงานรับ – จ่ายเงินบริจาคของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อส่งรายงานให้หน่วยงานคลังของส่วนราชการต้นสังกัดภายใน ๖0 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
  • ๒) มิติด้านจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่มีการนำส่งสำเนาใบเสร็จรับเงินเมื่อได้รับการโอนเงินจากหน่วยงานหรือกองทุนต่าง ๆ ระหว่างงานการเงินกับงานประกันสุขภาพไม่มีการเซ็นรับ – ส่งเอกสารระหว่างกัน การเร่รัดติดตามการชำระหนี้หน่วยงานมีเพียงหนังสือแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล แต่ไม่มีหนังสือเร่งรัดติดตามการชำระหนี้ (หนังสือฉบับที่ ๒ ติดตามการจ่ายชำระหนี้กรณียังไม่ได้รับชำระเงินหลังจากแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาลครั้งที่ ๑ แล้ว) กระบวนการสังคมสงเคราะห์/อนุเคราะห์ไม่มีทะเบียนคุมข้อมูลการสังคมสงเคราะห์ และหลักฐานเอกสารเสนอผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการสังคมสงเคราะห์/อนุเคราะห์ และหน่วยบริการไม่ได้สอบทานยืนยันยอดความมีอยู่จริงของลูกหนี้คงเหลือ ณ วันสิ้นปีงบประมาณกับกองทุนต่าง ๆ หรือส่วนราชการ
  • ๓) มิติด้านงบการเงิน จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่จัดทำทะเบียนคุมบัญชีเงินฝากคลังและบัญชีเงินหลักประกันสัญญา การบันทึกบัญชีด้านรับ ด้านจ่าย และด้านทั่วไปหน่วยบริการไม่แนบหลักฐานประกอบการบันทึกบัญที ไม่มีการสอบทานยืนยันยอดคงเหลือระหว่างทะเบียนคุมหรือรายงานกับงบทดลอง ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ เจ้าหน้าที่ไม่ปรับปรุงรายการรายได้ค้างรับ รายได้รับล่วงหน้าและค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ณ วันสิ้นปีงบประมาณตามนโยบายปัญชีที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและหน่วยบริการไม่แนบหนังสือนำส่งรายงานการรับ – จ่ายเงินบำรุง ที่หัวหน้าหน่วยงานรับรอง
  • ๔) มิติด้านบริหารพัสดุ จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่จัดทำโครงสร้างสายการบังคับบัญชางานพัสดุ หรือบางแห่งมีการจัดทำแต่สายการบังคับบัญชายังไม่ถูกต้อง การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เอกสารประกอบในแต่ละชุดไม่มีเอกสารมอบหมายหรือแต่งตั้งให้มีผู้รับผิดชอบกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะของพัสดุ (ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒๑) รายละเอียดคุณสักษณะเฉพาะของหัสดุ และรายงานผลการตรวจรับให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบ ซึ่งบางแห่งมีการจัดทำรายงานการตรวจรับพัสดุจากระบบ e – GP กับรายงานผลการตรวจรับให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบเป็นฉบับเดียวกัน แต่ไม่ได้แจ้งให้ผู้ตรวจสอบทราบ บัญชีวัสดุและทะเบียนคุมทรัพย์สินรายละเอียดและแนวทางไม่เป็นไข่ตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด และใบเบิกพัสดุผู้อนุมัติสั่งจ่ายไม่ใช่หัวหน้าหน่วยพัสดุตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย
  • ๕) มิติด้านระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง จากการตรวจสอบพบว่าหน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่มีการเซ็นรับรองรายงานการประชุมจากผู้อำนวยการโรงพยาบาล รายงานการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปค.๔) และรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน(แบบ ปค.๕) ระดับส่วนงานย่อยไม่มีการเซ็นรับรองจากหัวหน้าส่วนงานย่อย ไม่จัดทำร้ายงานการติดตามผลการปรับปรุงการควบคุมภายใน และแผนบริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะแผนความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (S) หน่วยงานแนบหนังสือนำส่งแผนแต่ไม่มีรายละเอียดของความเสี่ยงผู้ตรวจสอบจึงไม่สามารถประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานในแต่ละด้านได้

สาเหตุ (Cause)

เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานขาดความเข้าใจในกฏ ระเบียบ และแนวทางในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงทักษะในการปฏิบัติงานไม่ซัดเจนเพียงพอ ส่งผลให้เข้าใจคลาดเคลื่อนในบางประเด็นทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งไม่มีการสอบทานยืนยันยอดระหว่างกัน และขาดความระมัดระวังรอบคอบในการปฏิบัติงาน หน่วยบริการไม่มีการจัดวางระบบในการส่งต่อข้อมูลระหว่างกัน และไม่มีการตรวจสอบชุดเอกสารก่อนจัดส่งไปยังส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

ผลกระทบ (Effect)

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด หากเกิดข้อผิดพลาดหรือเอกสารสูญหายหน่วยงานจะไม่สามารถตรวจสอบติดตามเอกสารนั้นได้ เพราะไม่มีข้อมูลการส่งต่อเอกสารระหว่างกัน ขาดการกำกับ ติดตาม อาจส่งผลให้ความเสี่ยงของหน่วยงานไม่ได้รับการแก้ไขส่งผลกระทบต่อกระบวนการปฏิบัติงาน หน่วยงานต้องรับภาระความเสี่ยงจากระบบการควบคุมภายในที่ไม่รัดกุม และการเบิกจ่ายที่ชุดเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ และไม่ถูกต้องตามระเบียบ เนื่องจากขาดเอกสารในบางส่วน อาจส่งผลให้การเบิกจ่ายไม่ถูกต้องตามระเบียบด้วยเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ (Recommendation)

  1. การเก็บรักษาเงินโดยทั่วไปหน่วยงานจะต้องมีวงเงินเก็บรักษาตามประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0๒๐๗/ว๖๓ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง ชักซ้อมความเข้าใจการนำเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์กลับเข้าฝากคลังและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS
  2. ผู้รับผิดชอบตามคำสั่งมอบหมายงานและบุคลากรทุกส่วนงานจะต้องศึกษากระบวนการทำงานของตนเองให้มีความแม่นยำในการปฏิบัติงาน
  3. หน่วยบริการควรกำกับ ดูแล และกำชับเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วน ถูกต้องก่อนจัดส่งเอกสารไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
  4. ควรทบทวนกระบวนการทำงานของแต่ละส่วนงานเพื่อให้ระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และควรแยกความรับผิดชอบในการทำงานของแต่ละส่วนงานให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการปฏิบัติงานช้ำซ้อน
  5. การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของหน่วยงานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ อย่างเคร่งครัด
ผู้ประเมิน
นางสาวสุชานาถ ทินวงศ์
นักวิชาการตรวจสอบภายใน
นางสาวชวัลลักษณ์ ทองบ่อ
นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
ผู้ตรวจสอบประจำเขตสุขภาพที่ ๗
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version