ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้ ปี 2566

0 0
Read Time:1 Minute, 23 Second

กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
การพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้โดยการใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์สำหรับหน่วยบริการทุกสิทธิ
ประจำปี 2566
ในวันที่ 6-7 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 08.00 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมศรีจันทร์ (ชั้น4)
โรงแรมเจริญธานี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

วาระประชุมประกอบด้วย

  • กล่าวเปิดโครงการ และบรรยายพิเศษนโยบายการดำเนินงานด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการจังหวัดขอนแก่น โดย นายแพทย์อภิชัย ลิมานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • อภิปราย เรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง การจัดทำแผนเงินบำรุงและระบบจัดเก็บรายได้คุณภาพ สำหรับผู้บริหาร”
  • อภิปราย เรื่อง “การจัดทำแผนเงินบำรุงและใช้งานแผนเงินบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมแผนเงินบำรุงสำหรับผู้บริหาร และระบบควบคุมภายในด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 5 มิติ (Electronic Internal Audit : EIA)”
  • อภิปราย เรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพ Total Performance Score และการพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้คุณภาพ”
  • อภิปราย เรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง” ในการบริหารจัดการด้านการเงิน บัญชี และพัสดุ

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แจ้งเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลPP Fee Schedule

0 0
Read Time:2 Minute, 54 Second

แจ้งเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กำหนดให้หน่วยบริการส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) เพื่อรับค่าใช้จ่ายในระบบ e-Claim และ NPRP นั้น ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลและการประมวลผลในการจ่ายค่าใช้จ่ายฯดังกล่าว สปสช.จึงได้มีการพัฒนาระบบเพื่อรองรับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่มีการจ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) จำนวน ๑๖ รายการผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)

เพื่อให้การรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ สปสช. จึงขอแจ้งกำหนดการเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) ผ่านระบu Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้

  • ให้หน่วยบริการเร่งรัดส่งข้อมูลการให้บริการก่อนวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ เพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่านระบบ e-Claim/NPRP ภายในวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๖
  • ๒) ข้อมูลการบริการตั้งแต่วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๖ และข้อมูลที่ให้บริการก่อนวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ แต่ไม่สามารถส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่านระบบ e-Claim/NPRP (ตามข้อ ๑) ได้ทันเวลาที่กำหนด สามารถส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่านระบบ KTB

ทั้งนี้ ได้มีการประชุมชี้แจงแนวทางการรับค่าใช้จ่ายฯ กรณีดังกล่าวให้แก่หน่วยบริการเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้เปิดให้มีการทดสอบระบบบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมดังกล่าว โดยหน่วยบริการสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งานโปรแกรม Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) ได้ที่ http://eclaim.nhso.go.th หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Provider center หมายเลขโทรศัพท์ 02-554-0505

รายการบริการ PP FS ที่บิกผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ เป็นต้นไป

  • ๑.บริการฝากครรภ์
  • ๒.บริการการป้องกันและควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์
  • ๓.บริการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์
  • ๔.บริการการคัดกรองธาลัสซีเมียและการคัดกรองซิฟิลิสในสามีหรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์
  • ๕.การทดสอบการตั้งครรภ์
  • ๖.การตรวจหลังคลอด
  • ๗.บริการคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก (CA Oral Screening)
  • ๘.บริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • ๙.บริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง (Fit test)
  • ๑๐.บริการเคลือบฟลูออไรด์ (กลุ่มสี่ยง)
  • ๑๑.บริการคัดกรองโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • ๑๒.บริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก
  • ๑๓.บริการวางแผนครอบครัวและการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
  • ๑๔.บริการป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
  • ๑๕.บริการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต
  • ๑๖.บริการแว่นตาเด็กที่มีสายตาผิดปกติ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงแนวทางPP Fee Schedule KTB

0 0
Read Time:1 Minute, 18 Second

ชี้แจงแนวทางการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) ผ่านระบบโปรแกรม Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)

กำหนดการ

  • นโยบายการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการบันทึกและการประมวลผลจ่ายผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) โดย ทันตแพทย์อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • แนวทางการจ่ายชดเชยค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่จ่ายตามรายการบริการ (PP FS) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ โดย ผู้แทนจากฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • การพิสูจน์ตัวตนก่อนการเข้ารับบริการผ่านโปรแกรม KTB (Authentication) โดย ทีม KTB
  • การเข้าใช้งานโปรแกรม การบันทึกผลงานบริการ และการประมวลผลจ่ายผ่านโปรแกรม KTB โดย ทีม KTB
  • อภิปรายและซักถาม

วันที่ 3 เมย.66_สำหรับ_โรงพยาบาล

วันที่ 4-5 เมย.66_สำหรับ_รพสต-คลินิก

วันที่ 5 เมย.66_สำหรับ_ร้านยา เท่านั้น

VDO แนะนำการใช้งานระบบ Krungthai Digital Health Platform

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางบันทึกบัญชีกรณีสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ให้รพ.สต.ที่ถ่ายโอนฯ

0 0
Read Time:4 Minute, 28 Second

แนวทางปฏิบัติการบันทึกบัญชีกรณีสนับสนุนยาเวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุอื่นให้กับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี(สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)

ตามที่ได้มีการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖. พรรษา นวมินทราชินี (สอน.)และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รต.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามประกาศคณะกรรมการกระจายอำนาจให้ แก่องค์ กรปกครองส่วนท้ องถิ่ น และตามหนังสือที่ อ้างถึง กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพได้มีประชุมหารือเกี่ยวกับกรอบแนวทางการบันทึกบัญชีหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เพื่อให้หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีแนวปฏิบัติการบันทึกบัญชี เป็นไปในทางเดียวกันช่วงเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอน และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยประชาชนคงยังได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง นั้น

ในการนี้ ที่ประชุมได้มีแนวปฏิบัติการบันทึกบัญชี กรณีหน่วยบริการสนับสนุนยา เวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุอื่น ให้กับ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รต.สต.) ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ดังนี้

  • ๑. กรณีหน่วยบริการประจำ ได้รับจัดสรรเงินกองทุน UC (ค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป และค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ปรับปรุงรายการส่วนที่สนับสนุนยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่นสำหรับ สอน./รพ.สต.ถ่ายโอน โดยใช้ชื่อบัญชี เงินกองทุน UC (วัสดุ) สอน. และรพ.สต. (อบจ.) รหัสบัญชีแยกประเภท (๒๑๑๑๐๒๐๑๙๙.๒๐๗)
  • ๒. กรณีหน่วยบริการประจำ ยังไม่ได้รับจัดสรรเงินกองทุน UC ตามข้อ ๑. ให้บันทึกบัญชีโดยใช้ชื่อบัญชี เงินกองทุน UC จ่ายล่วงหน้า รหัสบัญชีแยกประเภท (๑๑๐๖๐๑๐๑๐๓.๒๐๑) และเมื่อได้รับเงินโอนจัดสรร จึงปรับปรุงรายการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องตามคู่มือบัญชี หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๑ หน้า ๑๒๘

แนวปฏิบัติการบันทึกบัญชี กรณีสนับสนุนยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่น ให้กับ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) (อบจ.)ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

กิจกรรม แนวทางบันทึกบัญชี
1.เมื่อหน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ได้รับจัดสรรเงินกองทุน UC OP/PP (ค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป และค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน) จากสปสซ.เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัด กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ดำเนินการปรับปรุงรายการ กันส่วนที่เป็นมูลค่าสนับสนุนยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่นสำหรับ สอน./รพ.สต. (อบจ.)
เดบิต เงินรับฝากกองทุน UC
[2111020199.201]
เครดิต เงินกองทุน UC (วัสดุ) สอน. และรพ.สต. (อบจ.)
[2111020199.207]
2.หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ได้สนับสนุนยาเวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่น ให้กับ สอน./รพ.สต. (อบจ.)เดบิต เงินกองทุน UC (วัสดุ) สอน. และรพ.สต. (อบจ.)
[2111020199.207]
เครดิต ยา/เวชภัณฑ์มิใช่ยา/วัสดุ…
[1105010103.102-.107,1105010105.105-.115]

หมายเหตุ

  1. กรณีหน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ยังไม่ได้รับจัดสรรเงินกองทุน UC OP/PP ค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไปและค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน) จากสปสช. ให้บันทึกบัญชี โดยใช้ชื่อบัญชีเงินกองทุน UC จ่ายล่วงหน้า รหัสบัญชีแยกประเภท (1106010103.201) และเมื่อได้รับเงินโอนจัดสรรจึงปรับปรุงรายการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องตามคู่มือบัญชี หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2561 หน้า 128 ต่อไป
  2. กรณีหน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ยังไม่ได้บันทึกบัญชี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รายการสนับสนุนยาเวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่น ให้กับ สอน./รพ.สต.ถ่ายโอน ให้ปรับปรุงบัญชี ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ด้วยมูลค่ายา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่ น ที่ได้สนับสนุนให้กับ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) (อบจ.) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – เดือนมกราคม 2566

รายการผังบัญชีที่กำหนดเพิ่มขึ้นระหว่างปีงบประมาณ 2566

รหัสบัญชีแยกประเภท ชื่อบัญชีคำอธิบาย
2111020199.207เงินกองทุน UC (วัสดุ) สอน. และ รพ.สต. (อบจ.)มูลค่ายา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่นที่หน่วยงานกันไว้สนับสนุน สอน.และรพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ซึ่งได้รับไว้ในลักษณะเงินกองทุน UCจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อสนับสนุนด้านเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ให้กับหน่วยบริการผู้มีสิทธิ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ปี2566

0 0
Read Time:54 Second

คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับประชาชน ปี 2566

  • คุณสมบัติของผู้มีสิทธิบัตรทอง
  • ตรวจสอบสิทธิด้วยตนเอง
  • ช่องทางลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ
  • เอกสารที่ใช้ลงทะเบียนเลือกหนว่ยบริการประจำ
  • หน่วยบริการ คืออะไร
  • การใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข
  • การบริการที่คุ้มครอง ครอบคลุมบริการที่จำป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
  • ช่องทางติดต่อสอบถามมีปัญหา
  • ใช้สิทธิบัตรทอง ร้องเรียน ร้องทุกข์
  • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค*
  • การรักษาพยาบาล โรคเรื้อรังและโรคค่าใช้จ่ายสูง
  • บริการสาธารณสุขรูปแบบใหม่
  • 4 นโยบายยกระดับบัตรทองสู่หลักประกันสุขภาพยุคใหม่
  • สปสช. ดูแลสุขภาพผู้สูงวัย
  • สิทธิการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
  • รู้จัก…กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.)
  • ใครบ้างมีสิทธิขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.)
  • แผนที่แสดงการจัดพื้นที่ในความรับผิดชอบของ สปสช. เขต 1-13
  • ที่อยู่และการติดต่อสปสช. เขต 1-13
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ปรับอัตราจ่าย ปกส.กรณีAdjRW มากกว่า2

0 0
Read Time:6 Minute, 12 Second

แนวปฏิบัติในการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลหรือผู้ประกันตนประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (AdjRW มากกว่า2)

ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยนมิใช่เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 กำหนดให้สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตนหรือผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาลที่ทำการรักษาซึ่งได้ทำความตกลงกับสำนักงาน โดยคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Groups : DRGs) ที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน(Adjusted Relative weight : AdRW มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ในอัตราไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาทต่อหนึ่งน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight : AdjRW) ทั้งนี้ ภายใต้กรอบวงเงินที่คำนวณจากจำนวนผู้ประกันตนแต่ละปีในอัตราเจ็ดร้อยสี่สิบหกบาทต่อผู้ประกันตนหนึ่งคนภายในระยะเวลาหนึ่งปี

  1. อัตราการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคมกำหนดอัตราการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (AdjRW มากกว่า2) ดังนี้
    • 1.1 จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ที่รักษาเองหรือส่งไปยังสถานพยาบาลอื่น ในอัตรา 12,000 บาท/AdjRW หากสิ้นปีมีเงินงบประมาณคงเหลือหรือไม่เพียงพอให้เฉลี่ยจ่ายให้กับสถานพยาบาลแต่รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท/AdjRw
    • 1.2 จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลอื่นที่ไมใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ในอัตรา 12,000 บาท/AdjRW ทั้งนี้ ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ปรากฏในใบเสร็จรับเงิน กรณีที่มีส่วนเกินผู้ประกันตนรับผิดชอบเอง
  2. วิธีการดำเนินการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ
    • 2.1 สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ รายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในผ่านรูปแบบโครงสร้าง Al In-patient Claim Data File Specification : AIPN แทนการใช้โปรแกรมSIP09 กับผู้ป่วยที่จำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป โดยจะต้องส่งข้อมูลฯ ภายใน 2 เดือนถัดจากเดือนที่จำหน่ายออกจากสถานพยาบาล (เช่น จำหน่ายเดือนเมษายน ต้องส่ งข้อมูลภายในเดือนมิถุนายน)
      กรณีสถนพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ส่งไปยังสถานพยาบาลอื่นต้องส่งข้อมูลฯ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีที่จำหน่ายออกจากสถานพยาบาลให้กับสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ และจัดทำสำเนาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเก็บไว้ ณ สถานพยาบาลเพื่อการตรวจสอบ
    • 2.2 สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพจะต้องตรวจสอบข้อมูลการให้บริการทางการแพทย์ตามแนวปฏิบัติในการรายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ให้ถูกต้องก่อนส่งให้สำนักงานประกันสังคมโดยจัดทำข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอนมากกว่าหรือเท่ากับ 2 (AdjRW มากกว่า2) ซึ่งต้องตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่สำคัญคือ การเป็นผู้ประกันตนและการวิเคราะห์การจัดกลุ่มวินิจฉัยโรค พร้อมทั้งรูปแบบข้อมูลตามที่กำหนด ถ้าหากข้อมูลไม่ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด จะประสานสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ เพื่อตรวจสอบอีกครั้งถ้าข้อมูลไม่เป็นไปตามเงื่อนไขจะไม่นำส่งข้อมูลให้กับสำนักงานประกันสังคม
    • 2.3 สำนักงานประกันสังคมรับข้อมูลจากสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพและตรวจสอบข้อมูลผ่านระบบการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ของสำนักงานประกันสังคม เพื่อจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 1.1
    • 2.4 กรณีที่สำนักงานประกันสังคมตรวจสอบพบว่ามีการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ 72 ชั่วโมง ซ้ำซ้อน สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการเรียกเงินคืนจากสถานพยาบาลโดยการหักกลบหรือปฏิเสธการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์
    • 2.5 การจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (AdjRW มากกว่า2)จะประมวลผลข้อมูลเป็นงวดตาม Statement ที่สถานพยาบาลส่งให้กับสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพโดยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะข้อมูลที่บันทึกถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข และส่งข้อมูลทันตามกำหนดระยะเวลา
    • 2.6 กรณีงบประมาณคงเหลือไม่เพียงพอที่จะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงในอัตราที่กำหนด สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการนำเงินงบประมาณคงเหลือมาหารด้วยจำนวนค่า AdjRW มากกว่า2 ที่ค้างจ่าย เพื่อคำนวณอัตราจ่ายให้สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ทั้งนี้ อาจมีผลให้การจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ล่าช้ากว่าปกติ
    • 2.7 กรณีที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงครบทุกรายการแล้ว หากสิ้นปีมีเงินงบประมาณคงเหลือจะเฉลี่ยคืนให้กับสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ เฉพาะรายการที่บันทึกถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข และส่งข้อมูลทันตามกำหนดระยะเวลา โดยนำน้ำหนักสัมพัทธ์ที่สถานพยาบาลให้บริการตลอดทั้งปีหารด้วยกรอบวงเงินที่กำหนดแต่รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท/AdjRW
    • 2.8 เมื่อสำนักงานประกันสังคมเรียกเงินคืนจากการตรวจสอบข้อมูลจะเฉลี่ยคืนให้กับสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ เฉพาะรายการที่บันทึกถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข และส่งข้อมูลทันตามกำหนดระยะเวลา โดยคำนวณภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณที่มีอยู่แต่รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท/AdjRw
    • 2.9 กรณีสถานพยาบาลขอแก้ไขข้อมูลผ่านโปรแกรม SSePAC จะเป็นการแก้ไขเพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง ทางสำนักงานประกันสังคมจะไม่ได้นำมาพิจารณาจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ เนื่องจากถูกจำกัดด้วยวงเงินงบประมาณของแต่ละปี โดยสำนักงานประกันสังคมจะต้องดำเนินการตามข้อ 2.5 – 2.8
  3. วิธีการดำเนินการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตน กรณีผู้ประกันตนประสงค์เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลอื่น
    • 3.1 ผู้ประกันตนยื่นเอกสารขอรับประโยชน์ทดแทน ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา เช่น เวชระเบียน ใบเสร็จค่ารักษาต้นฉบับ ฯลฯ
    • 3.2 สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ดำเนินการตรวจสอบสิทธิการเป็นผู้ประกันตน พิจารณาข้อเท็จจริงหากพบว่าผู้ประกันตนประสงค์เข้ารักษาสถานพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ และไม่ใช่กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ 72 ชั่วโมง ให้ส่งเรื่องหารือสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์
    • 3.3 สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ส่งเรื่องให้แพทย์ในโครงการของสำนักงานประกันสังคม ดำเนินการตรวจเวชระเบียนและพิจารณาคิดค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (AdjRW)ซึ่งหากมีค่า AdjRW มากกว่า2 จะนำมาคำนวณเพื่อจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 1.2 แต่หากคิดค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอนแล้ว มีค่า AdjRw<2 ปฏิเสธการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
    • 3.4 หากพบว่ารายการใดที่ต้องเบิกจ่ายอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ จะส่งเรื่องให้สำนักสิทธิประโยชน์เพื่อพิจารณาดำเนินการจ่ายค่าอวัยวะเทียมหรืออุปกรณ์ ตามประกาศกำหนด
    • 3.5 เมื่อสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ดำเนินการขออนุมัติจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เรียบร้อยแล้ว จะส่งเรื่องให้สำนักสิทธิประโยชน์ทำการบันทึกข้อมูลในระบบ Sapiens เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา สามารถเข้าไปตรวจสอบในหน้าประวัติการขอรับประโยชน์ทดแทนโดยดูจากเลขที่รับแจ้งล่าสุดของสำนักสิทธิประโยชน์ ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนรายใดมีการจ่ายอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ตามข้อ 3.4 สำนักสิทธิประโยชน์จะทำการบันทึกและสามารถตรวจสอบได้เช่นเดียวกัน

กลุ่มงานพิจารณาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม

ณ วันที่ 23 มกราคม 2566
โทร 0 2956 2516 – 7
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารจัดการด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและคนต่างด้าวในประเทศไทย

0 0
Read Time:2 Minute, 43 Second

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนต่างด้าวในการดูแลสุขภาพตนเอง/ชุมชนและการป้องกันการค้ามนุษย์
ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ

กำหนดการ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๖

  • กล่าวรายงาน โดย นพ.กรกฤช ลิ้มสมมุติ ผู้อำนวยการกองบริหารการสาธารณสุข
  • กล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ : นโยบายการดำเนินงานและการบริหารจัดการด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและคนต่างด้าวในประเทศไทย โดย นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

การอภิปราย : การเข้าถึงบริการของรัฐของคนต่างด้าว และการป้องกันการค้ามนุษย์การจัดการและการสร้างเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือด้านสิทธิสวัสดิการแรงงานต่างด้าว

  • กฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติและสิทธิ สถานการณ์ ปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติและการแก้ไขปัญหาคนต่างด้าว โดย นายวรพงศ์ จันทร์มานะเจริญ เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  • การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว และการคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าว โดย นายพงศ์เทพ เพชรโสม ผู้อำนวยการกองคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • การปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนแรงงานต่างด้าว และการช่วยเหลือกรณีผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดย นางสาววันดี ตรียศสิน ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จังหวัดปทุมธานี กองต่อต้านการค้ามนุษย์ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินรายการโดย นายอดิศร เกิดมงคล เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG : Migrant Working Group)

การอภิปราย : การบริหารจัดการด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและคนต่างด้าว ดำเนินรายการโดย ดร.บุญวรา สุมะโน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

  • การประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและแนวทางการให้บริการด้านสุขภาพคนต่างด้าวสำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข โดย นายวัลลก คชบก นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
  • ระบบประกันสังคมและการจัดบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าว โดย นางสาวนิตยา บุญญะกิจวัฒนา นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มงานคุ้มครองสิทธิทางการแพทย์ สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม
  • มาตรการการป้องกันควบคุมโรคในแรงงานต่างด้าว และแนวทางการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคในชุมชนต่างด้าวหรือสถานประกอบการ โดย พญ. วาสินี ชลิศราพงศ์ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

กำหนดการ วันศุกร์ ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖

  • การบรรยาย : การพัฒนาระบบข้อมูลแรงงานต่างด้าว คนต่างด้าว ผู้ติดตามและแนวทางการจัดการข้อมูลแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามเพื่อใช้ประโยชน์ โดย นายสุธน คุ้มเพชร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง
  • แบ่งกลุ่มและฝึกปฏิบัติ จำนวน ๒ กลุ่ม หัวข้อหลักการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการดำเนินงาน ระดับจังหวัดและพื้นที่ต้นแบบ (ผู้แทนจากทั้ง ๒ กลุ่มนำเสนอในวันถัดไป)
    • กลุ่มที่ ๑ แนวทางการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแรงงานต่างด้าว
    • กลุ่มที่ ๒ แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแรงงานต่างด้าว
  • การอภิปราย : แนวทางการดำเนินงนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนต่างด้าวในการดูแลสุขภาพตนเอง/ชุมชน โดย นางวิราณี นาคสุข กองบริหารการสาธารณสุข และ
  • นายชูวงศ์ แสงคง ผู้ประสานงานด้านสุขภาพ เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG : Migrant Working Group)
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รายการบริการและอัตราจ่าย Fee schedule

0 0
Read Time:56 Second

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ประกาศเพิ่มเติมรายการยา รายการบริการและอัตราจ่าย Fee schedule ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยจ่ายตามรายการที่กำหนด (Fee Schedule) ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประชุมชี้แจงรายการบริการและอัตราจ่ายแบบ Fee schedule ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ผ่าน Facebook Live หน้าเพจ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

รายการยา รายการบริการและอัตราจ่ายแบบ Fee schedule ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมติคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารจัดการกองทุน ครั้งที่ 8/2565 วันที่ 22 กันยายน 2565

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รายการตัวชี้วัด ปีงบประมาณ 2566

0 0
Read Time:8 Minute, 15 Second

กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงสาธารณสุข โดยประกอบด้วย 4 ด้าน คือ

  1. ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครอง ผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion Prevention and Protection: PP&P Excellence)
  2. ด้านบริการเป็นเลิศ (Service Excellence)
  3. ด้านบุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)
  4. ด้านบริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence)

ภายใต้กรอบ 14 แผนงาน 37 โครงการ และ 62 ตัวชี้วัด

ในการนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่ มีความสุข และระบบสุขภาพยั่งยืน” กรม กอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย จึงได้ร่วมกันจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อการกำกับติดตามผลการดำเนินงาน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานพร้อมทั้งจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดดังกล่าว และเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันต่อไป

รายการตัวชี้วัด ปีงบประมาณ 2566

  1. อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคน
  2. ร้อยละของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย
  3. เด็กไทยมีระดับสติปัญญาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 103 ตัวชี้วัด Prox :ร้อยละของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการคัดกรองแล้วพบว่ามีพัฒนาการล่าช้าแล้วได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I หรือเครื่องมือมาตรฐานอื่น จนมีพัฒนาการสมวัย
  4. อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี ต่อจำนวนประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน
  5. ร้อยละของผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care Plan
  6. ร้อยละของผู้สูงอายุมีแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan)
  7. ร้อยละของผู้สูงอายุที่ผ่านการคัดกรอง พบว่าเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมหรือภาวะหกล้มและได้รับการดูแลรักษาในคลินิกผู้สูงอายุ
  8. ร้อยละของโรงพยาบาลที่มีคลินิกผู้สูงอายุ
  9. อัตราความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน
  10. ร้อยละของอำเภอผ่านเกณฑ์การประเมินการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีคุณภาพ
  11. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินและการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Emergency Care System and Public Health Emergency Management)
  12. ร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และ/หรือความดันโลหิตสูง
  13. ร้อยละของจังหวัดต้นแบบการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562
  14. ร้อยละผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการส่งเสริมและได้รับการอนุญาต
  15. ร้อยละสถานที่จำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายกำหนด
  16. ร้อยละของโรงพยาบาลที่พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital Challenge (ระดับมาตรฐานขึ้นไป)
  17. จำนวนการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562
  18. จำนวนประชาชนคนไทย มีหมอประจำตัว 3 คน
  19. ร้อยละของชุมชนมีการดำเนินการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมกับประชาชน
  20. อัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และได้รับการรักษาใน Stroke Unit
  21. อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่
  22. ร้อยละของจังหวัดที่ผ่านตามเกณฑ์พัฒนาสู่จังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU province) ที่กำหนด
  23. อัตราการติดเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด
  24. อัตราตายทารกแรกเกิดอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 28 วัน
  25. ร้อยละการให้การดูแลตามแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning) ในผู้ป่วยประคับประคองอย่างมีคุณภาพ
  26. ร้อยละของจำนวนผู้ป่วยที่มีการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาตระยะกลาง (Intermediate Care) ที่ได้รับการดูแลด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (Community base)
  27. ร้อยละของประชาชนที่มารับบริการในระดับปฐมภูมิได้รับการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
  28. ร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการสุขภาพจิต
  29. อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ
  30. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired
  31. Refracture Rate
  32. อัตราตายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI และการให้การรักษาตามมาตรฐานตามเวลาที่กำหนด
  33. ร้อยละของผู้ที่ได้รับการคัดกรองมะเร็ง
  34. ร้อยละผู้ป่วย CKD ที่มี eGFR ลดลงน้อยกว่า 5 ml/min/1.73m2/yr
  35. ร้อยละผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอด (Blinding Cataract) ได้รับการผ่าตัด ภายใน 30 วัน
  36. อัตราส่วนของจำนวนผู้บริจาคอวัยวะสมองตายที่ได้รับการผ่าตัดนำอวัยวะออก ต่อจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาล (โรงพยาบาล A, S)
  37. ร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพต่อเนื่องจนถึงการติดตาม (Retention Rate)
  38. ร้อยละของ ผู้ป่วย Intermediate care * ได้รับการบริบาลฟื้นสภาพและติดตามจนครบ 6 เดือน หรือจน Barthel index = 20 ก่อนครบ 6 เดือน
  39. ร้อยละของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบ One Day Surgery
  40. ร้อยละของการลงทะเบียนใน MIS registration ใน 1 เดือน โครงการ MIS ผ่านการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery : MIS)
  41. ระดับความสำเร็จของการจัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์
  42. อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน (Triage level 1) ภายใน 24 ชั่วโมง ในโรงพยาบาลระดับ A, S, M1 (ทั้งที่ ER และ Admit)
  43. ร้อยละของประชากรเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
  44. อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง (traumatic brain injury mortality)
  45. ร้อยละผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ และพระราชานุเคราะห์ ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ
  46. อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ได้รับมาตรฐานตามที่กำหนด
  47. ร้อยละของศูนย์เวลเนส (Wellness Center) / แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ได้รับการยกระดับแบบมีส่วนร่วม และสร้างสรรค์ด้านภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพรให้มีคุณค่าและมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น
  48. ร้อยละของเขตสุขภาพที่มีการบริหารจัดการกำลังคนที่มีประสิทธิภาพ
  49. หน่วยงานที่เป็นองค์กรแห่งความสุขที่มีคุณภาพ (ระดับจังหวัด/เขตสุขภาพ/กรม)
  50. ร้อยละของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA
  51. ร้อยละของส่วนราชการและหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์การตรวจสอบและประเมินผลระบบการควบคุมภายใน
  52. ร้อยละความสำเร็จของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด
  53. ร้อยละของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีคุณภาพมาตรฐานผ่านการรับรอง HA ขั้น 3
  54. สถานบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามนโยบาย EMS (Environment, Modernization and Smart Service)
  55. ร้อยละของโรงพยาบาลที่มีการปรับโฉม Smart Hospital (Smart ER /Modernize OPD / มีการใช้พลังงานสะอาด)
  56. ร้อยละของสถานบริการที่มีการดำเนินงานสื่อสารเชิงรุก
  57. ร้อยละของจังหวัดที่ประชาชนไทย มี ดิจิทัลไอดี เพื่อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ
  58. จังหวัดที่มีบริการการแพทย์ทางไกลตามเกณฑ์ที่กำหนด
  59. ความแตกต่างการใช้สิทธิ เมื่อไปใช้บริการผู้ป่วยในของผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (compliance rate)
  60. ระดับความสำเร็จของการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กลางการดูแลปฐมภูมิของระบบหลักประกันสุขภาพ 3 ระบบ
  61. ร้อยละของหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน
  62. จำนวนนวัตกรรมหรือเทคนโสยีสุขภาพที่คิดค้นใหม่หรือที่พัฒนาต่อยอด
Happy
1 50 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
1 50 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ระบบสารสนเทศด้านการเงินการคลังหน่วยบริการ ปี 2566

0 0
Read Time:31 Second

วัตถุประสงค์ระบบ

  1. เพื่อรวมระบบการส่งข้อมูลเข้ามาไว้ที่ระบบเดียว เช่น การส่งแผนแพลนฟิน การส่งผล การส่งข้อมูลบริการ
  2. เพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำรายงานในรูปแบบ visualization  ตามแบบฟอร์มรายงานทางบัญชี
  3. หน่วยระดับ สสจ. และ เขต สามารถมอนิเตอร์ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลได้เองด้วยระบบ superset

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version