คู่มือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

0 0
Read Time:2 Minute, 20 Second

ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการอ้างอิงตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2555 และหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 รวมถึงหนังสือเวียนต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง

กรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยงานกลางในการเบิกจ่ายเงินของแผ่นดิน ซึ่งมีอีกภารกิจที่สาคัญคือ การดูแลบุคลากรภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และพนักงานราชการที่เป็นกำลังสาคัญในการขับเคลื่อนระบบราชการให้มีความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับฐานะ ไม่เดือดร้อนจากการรับราชการ มีความมั่นคงในชีวิต และหากเจ็บป่วย ทางราชการก็สามารถให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ โดยกรมบัญชีกลางได้กำหนดกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องไว้

กรณีข้าราชการและลูกจ้างประจำที่จะเป็นผู้มีสิทธินั้น จะต้องเป็นข้าราชการและลูกจ้างประจำ ซึ่งได้รับเงินเดือน หรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน และค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม (ปัจจุบัน คือ งบบุคลากร) โดยข้าราชการซึ่งได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ประกอบด้วย

  1. ข้าราชการพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
  2. ข้าราชการครู ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
  3. ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
  4. ข้าราชการฝ่ายอัยการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
  5. ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
  6. ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
  7. ข้าราชการตารวจ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตารวจ
  8. ข้าราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
  9. ข้าราชการการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง

จะเห็นได้ว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานองค์กรของรัฐ พนักงานราชการจึงมิใช่ผู้มีสิทธิตาม พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 กรณีของลูกจ้างประจำนั้น จะเป็นผู้มีสิทธิก็ต่อเมื่อได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำเท่านั้น ลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างจากเงินประเภทอื่น ๆ ลูกจ้างที่ได้รับเงินจากเงินนอกงบประมาณไม่ใช่ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553

กรณีลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งจะเป็นผู้มีสิทธิได้ก็ต่อเมื่อผ่านเงื่อนไข 2 ข้อ คือ

  1. ค่าจ้างได้รับจากเงินงบประมาณรายจ่าย
  2. สัญญาจ้างมิได้ระบุเกี่ยวกับการช่วยเหลือในด้านการรักษาพยาบาลไว้

ดังนั้น หากลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย แต่ในสัญญาจ้างระบุว่าให้ได้รับการช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลจากการทาประกัน ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การจัดทำบัญชีรายการวิเคราะห์ต้นทุนบริการ

0 0
Read Time:19 Second

ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำบัญชีรายการ
การวิเคราะห์ต้นทุนอัตราค่าบริการสาธารณสุข
ของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปึงบประมาณ พ.ศ. 2568

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

มาตรฐานแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:2 Minute, 6 Second

มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ผสมผสาน (รพ.สส.พท.)
Thai Traditional Medicine & Integrative Medicine
Promoting Hospital Standard (TIPhS)

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยสถาบันการแพทย์แผนไทย ได้จัดทำมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ในระดับโรงพยาบาลและสถานีอนามัย มาตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๗ และปรับปรุงให้มีความเหมาะสมในปีงบประมาณ ๒๕๕๕๕๑ เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐใช้เป็นแนวทางในการจัดบริการการแพทย์แผนไทยที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับบริการการแพทย์แผนไทยที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประเมินหน่วยบริการภายในจังหวัดของตนเอง ๒ ปี/ครั้ง และได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานจากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพย์ทางเลือก และเพื่อให้มาตรฐานมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการปรับปรุงอีกครั้งในปลายปีงบประมาณ ๒๕๕๕ และต่อเนื่องในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ เพื่อให้มาตรฐานเป็นเครื่องมือในการตอบสนองตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องกับกรมพัฒนากาการแพย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก คือ ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐาน (ร้อยละ ๑๔) ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารงานสาธารณสุของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ประดิษธ สินธวณรงค์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธาธารณสุขนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่าภายในทศวรรษต่อไป คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างยั่งยืน ดังนั้นกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงได้จัดทำมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมมสาน (รพ.สส.ww.) Thai Traditional Medicine & Integrative Medicine Promoting Hospital Standard (TIPhS) เพื่อให้หน่วยบริการในส่วนภูมิภาคสามารถจัดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอขอบคุณผู้บริหารกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก คณะกรรมการพัฒนามาตรธานงานบริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ผู้รับผิดขอบงานการแพทย์แผนไทยในส่วนภูมิภาคทุกระดับและเครือข่ายมหาวิทยาลัยทางด้านการแพทย์แผนไทย ที่กรุณาให้ความคิดเห็นในการจัดทำมาตรฐานฯ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ และขอขอบคุณผู้รับผิดขอบงานแพทย์แผนไทยของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของจังหวัดอ่างทองและสระบุรี ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการทดสอบมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน และหวังว่าหนังสือมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องในการนำไปปฏิบัติบัติได้อย่างถูกต้อง และสามารถพัฒนางานบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานให้ให้ได้มาตฐาน เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายสามารถคุ้มครองผู้บริโภคที่มารับบริการให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยอย่างทั่วถึวถึงและเท่าเทียมกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสผสมสมผสาน และการแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนโดยรวมต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บรายได้

0 0
Read Time:6 Second

แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บรายได้
กรณีตัวอย่างโรงพยาบาลขนาดใหญ่

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สิทธิที่เจ้าหน้าที่ของรัฐพึงรู้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าเช่าบ้าน

0 0
Read Time:5 Second
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางแนบเอกสาร EIA-68

0 0
Read Time:18 Second

การชี้แจงแนวทางการแนบเอกสารในระบบตรวจสอบภายใน
ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 5 มิติ (Electronics Internal Audit : EIA)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
ในวันที่ 7 มกราคม 2568 เวลา 09.30 – 16.00 น.

Video ชี้แจง

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ตัวชี้วัด68-ร้อยละของหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน (ระดับ 6 และ ระดับ 7)

0 0
Read Time:5 Second
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

โปรแกรมการจัดตั้งและปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ

0 0
Read Time:2 Second
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประกาศ Home Ward 2566

0 0
Read Time:50 Second

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้านพ.ศ. ๒๕๖๖

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อให้ผู้ป่วยในที่ บ้านได้รับบริการสาธารณสุขที่ มีมาตรฐานและครอบคลุมกลุ่มโรคหรือกลุ่มอาการที่จำเป็นมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ และข้อ ๒๐.๑๐.๘ แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวปฏิบัติในการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในการทำงาน

0 0
Read Time:1 Minute, 18 Second

แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กระทรวงสาธารณสุข

การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ทำงานในเรื่องชีวิตทางเพศและสิทธิในการทำงานที่บุคคลควรได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้งยังขัดขวางโอกาสต่าง ๆ ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ โดยมีสาเหตุสำคัญ คือ การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ แม้ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้กฎหมายที่มุ่งส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และกำหนดโทษ สำหรับผู้กระทำการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศหลายฉบับแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ของการล่วงละเมิด หรือคุกคามทางเพศยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานของบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข จัดทำแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓ ที่เห็นชอบการปรับปรุงมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะส่งผลให้บุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกคน ได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี ปราศจากการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน มีความตระหนักและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ตลอดจนกำหนดมาตรการป้องกันและจัดการกับปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานที่เกิดขึ้นให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version