สรุปมติและข้อสั่งการCFO-9ก.ย.64

0 0
Read Time:8 Minute, 39 Second

สรุปมติ และข้อสั่งการ
ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO)
หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2/2564
วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.30-16.30 น.

(ภาพและวาระการประชุม)

ประเด็น :

สรุปสถานการณ์การเงินการคลังหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น ณ เดือนสิงหาคม 2564

แนวทางการบริหารกองทุน UC และการปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2565 และงบกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการปรับเกลี่ย….

  • การปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด
  • กันเงินไว้บริหารระดับเขต เพื่อปรับเกลี่ยภายใน ไตรมาส 3/65 จำนวน 42,000,000 บาท
  • จังหวัดขอนแก่น ได้รับจัดสรรรวมทั้งสิ้น 94,024,615.87 บาท

แนวทางการปรับเกลี่ย ระดับจังหวัด ให้กับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น

  • จัดสรรตามสัดส่วน NWC ที่ติดลบ
  • จัดสรรตามสัดส่วนจำนวน รพ. M1, M2, F1
  • จัดสรรตามส่วนต่าง เงิน OP PP IP ปี 2564 และ 2565 ที่ลดลง
  • จัดสรรตามประมาณการรายรับเงิน OP PP IP หลังปรับลดค่าแรง ปี 2565
  • กันเงิน CF ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 14,000,000 บาท
    1. ไว้จัดสรรเพื่อช่วยโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงทางการเงิน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในไตรมาส 3/2565 จำนวน 9,000,000 บาท
    2. จัดสรรเพื่อให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ใช้ในการดำเนินงานขับเคลื่อนตามนโยบายด้านสาธารณสุข ปี 2565 จำนวน 5,000,000 บาท

จัดสรรเงินสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับประชากรสิทธิอื่น (Non UC) ปีงบประมาณ 2565

วงเงิน 52,427,222.19 บาท ตามจัดสรรตามสัดส่วนประชากรสิทธิอื่น (Non UC) ณ 1 เมษายน 2564 โดยจัดสรรให้หน่วยบริการนอกสังกัด จำนวน 2 แห่ง คือ รพ.ศรีนครินทร์ มข. และ รพ.ค่ายศรีพัชรินทร รวม 1,573,432.61 บาท คงเหลือจัดสรรให้หน่วยบริการในสังกัด สป.สธ. จำนวน 50,853,789.58 บาท

การกันเงิน OP Virtual Account เพื่อตามจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แทน CUP กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉินในจังหวัด และส่งต่อนอกจังหวัด ปีงบประมาณ 2565

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตามจ่าย OP Refer นอกจังหวัด 20 ล้านบาท และ ตามจ่าย OP Refer/OP AE ในจังหวัด 120 ล้านบาท

จัดสรรค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร และพื้นที่เสี่ยงภัย ประเภท รพท./รพศ.ระดับ ก (งบ Hardship) ปีงบประมาณ 2565

โรงพยาบาลชุมแพ ได้รับจัดสรรงบ จำนวน 5,178,140.02 บาท

สรุปแผนการโอนเงินเหมาจ่ายรายหัว ปีงบประมาณ 2565

การปรับเกลี่ยเงินกัน UC ที่บริหารระดับประเทศ ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

  • จังหวัดขอนแก่นได้รับการจัดสรรเงิน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,653,879.20 บาท ผลการจัดสรร…
    • ครั้งที่ 1 จำนวน 3,777,400 บาท พิจารณาจัดสรรให้หน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น ทุกแห่ง ตามสัดส่วนประมาณการรายรับงบ OP PP IP หลังปรับลดค่าแรง ปีงบประมาณ 2564
    • ครั้งที่ 2 จำนวน 1,876,479.20 บาท พิจารณาจัดสรรให้ รพ.พล เต็มจำนวน เพื่อสนับสนุนชดเชยค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย ที่โรงพยาบาลในโซนใต้ค้างชำระ จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,969,180 บาท ณ 31 สิงหาคม 2564 สรุปค่าใช้จ่ายตามรายการ ดังนี้
      • ค่าเวชภัณฑ์สมุนไพร จำนวน 840,215 บาท
      • ค่าสิ่งส่งตรวจ จำนวน 1,128,965 บาท
  • * รพ.ชนบท ได้รับจัดสรรตามเกณฑ์ กรณีช่วยหน่วยบริการที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและมีแนวโน้มจะเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในไตรมาส 4/2564 จำนวน 1,457,900 บาท (สป.แจ้งโอนตรงให้หน่วยบริการ)

การปรับเกลี่ยงบ OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564 ที่เหลือจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ คงเหลือเงินกันผู้ป่วยนอกในจังหวัด จำนวน 34,057,364.57 บาท

  1. จัดสรรให้กับโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงทางการเงิน โรงพยาบาลที่มีการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลังดีเด่น และพัฒนางานที่เกี่ยวข้องตามนโยบาย จำนวน 9,000,000 บาท เงื่อนไขจัดสรร ดังนี้ เอกสารหมายเลข 4
    • การพัฒนาตามเกณฑ์ TPS V.3 ไตรมาส 3 ปี 2564
    • TPS เกรด A และ B
    • ข้อมูลโรงพยาบาลที่มี NWC ติดลบ ณ สิงหาคม 2564
    • ข้อมูลสถานการณ์ทางการเงินสิ้นเดือนกรกฎาคม 2564
    • จัดสรรตามสัดส่วนประมาณการรายรับหลังหักเงินค่าแรง OP PP IP ปี 2564
  2. จัดสรรเพื่อบริหารจัดการภาระค่าใช้จ่ายค่ายา (ยาที่ รพ.ขอนแก่นผลิต และยาสำเร็จรูปไม่รวมยา Refer) ค่าเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา ค่า lab และค่าจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ให้บริการผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระหว่าง รพช./ รพท. ในจังหวัดขอนแก่น กับ รพ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นข้อมูลขอรับการสนับสนุนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 – 2564 (1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2564) จำนวน 25,057,364.57 บาท

แนวทางการบริหารจัดการขอรับการสนับสนุนยา/ วชย./ Lab ที่ รพท./รพช.ในจังหวัดขอนแก่น จากโรงพยาบาลขอนแก่น

  • แต่งตั้งคณะทำงานย่อย (พบส.ที่เกี่ยวข้อง) กำหนดหน้าที่และบทบาท
  • ให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบรายการยา/วชย./lab ที่จะขอรับการสนับสนุนจาก รพ.ขอนแก่น
  • กำหนดหลักการ/เงื่อนไข กรอบรายการประเภทวัสดุที่จะขอรับการสนับสนุน และจ่ายคืนอย่างไร ?
  • พบส. ที่เกี่ยวข้องทบทวน&เสนอกรอบรายการที่จะขอรับการสนับสนุนจาก รพ.ขอนแก่นได้/ เงื่อนไขที่จะตามจ่าย ภายในต้นปีงบประมาณ 2565 ได้แก่
    • ระบุรายการที่จะให้เบิก/จ่ายได้
  • เงื่อนไขการสั่งจ่ายของผู้สั่งจ่าย รพ.ขอนแก่น
  • กรอบปริมาณที่จะจ่ายแต่ละคราว

การกำกับติดตามและเฝ้าระวังทางการเงินการคลังของหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2565

ขอให้หน่วยบริการทุกแห่ง ให้ความสำคัญในการกำกับติดตามในเรื่องของสถานการณ์การเงินการคลังของหน่วยบริการ และงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ดังนี้

  1. สรุปวิเคราะห์เสนอในที่ประชุม กวป. โดยมีการวิเคราะห์เป็นรายหน่วยบริการ
    • หน่วยบริการมีปัญหาประเด็นปัญหาในเรื่องใด โดยเฉพาะตามดัชนีชี้วัด จากผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังเกณฑ์ Total Performance Score
  2. ขับเคลื่อนการดำเนินการโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น และคณะกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง (พปง.) ซึ่งจะให้เน้นย้ำประเด็นดังต่อไปนี้
    • แผนเงินบำรุงสำหรับในทุกหน่วยบริการ (รพ./รพ.สต.) ซึ่งต้องวางแผนการทำแผนบำรุงให้สอดคล้องกับการดำเนินจริง สามารถปรับแผนได้ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่หน่วยบริการไม่มีแผนที่ทันสมัย และมีการใช้จ่ายเกินกว่าแผนเงินบำรุงที่ขออนุมัติไว้
    • หน่วยบริการต้องดำเนินการตามระบบควบคุมภายใน ซึ่งงานตรวจสอบภายใน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จะเป็นผู้ประเมินโดยใช้เครื่องมือการตรวจประเมินภายใน 5 มิติ (EIA) ขอให้หน่วยบริการให้ความสำคัญ และดำเนินการตามเกณฑ์การตรวจประเมินผลที่กำหนด
  3. งบค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าเสื่อม) ของ สปสช. ให้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และกำกับติดตามหน่วยบริการที่ได้รับสนับสนุนงบดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จตามกรอบและห้วงเวลาที่กำหนด เนื่องจาก สปสช.จะให้คืนงบประมาณที่ได้รับจัดสรรหากไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสถานการณ์ทางการเงินของหน่วยบริการนั้นๆ

โรงพยาบาลพล เสนอขออนุมัติใช้เงินกองทุน OP Virtual จังหวัดขอนแก่น เพื่อจ่ายชดเชยค่าตรวจเอกเรย์คอมพิวเตอร์พิเศษ (CT Scan) กรณี เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้กับโรงพยาบาลขอนแก่น

  • ด้วย โรงพยาบาลพล ได้พัฒนาศักยภาพการในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Service Plan Stroke จังหวัดขอนแก่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการด้านโรคหลอดเลือดสมอง ของ Node Stroke Fast Track จังหวัดขอนแก่น คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอพล และอำเภอใกล้เคียง ได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น ทั้งนี้ โรงพยาบาลพลได้ดำเนินการเปิดศูนย์ CT Scan และเริ่มให้บริการตรวจพิเศษ CT Scan แล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เป็นต้นมา
  • เสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติใช้เงินกองทุนผู้ป่วยนอก จังหวัดขอนแก่น (OP Virtual Account) เพื่อจ่ายชดเชยค่าตรวจพิเศษ CT Scan กรณี เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้กับโรงพยาบาลขอนแก่น สำหรับผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการประจำ สังกัด สป.สธ. ในจังหวัดขอนแก่น ตามที่แพทย์ของโรงพยาบาลขอนแก่นสั่งตรวจวินิจฉัย และมีนัดติดตามผลการรักษา เพื่อลดการรอคอยคิวในการตรวจ CT โดยขอรับชดเชยค่าบริการตรวจในอัตราจ่ายค่าตรวจ CT ตามแนวทางข้อตกลงของจังหวัดที่กำหนด ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

แนวทางการสนับสนุนงบ Fixed Cost สำหรับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2565

คณะกรรมการ CFO จังหวัดขอนแก่น เสนอขอให้ดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. ขอให้แจ้งวงเงินจัดสรรรายปี งบ Fixed Cost สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ที่จะต้องใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข และงบประมาณงบดำเนินงาน (หมวด 300) ที่ สสอ.ได้รับจัดสรร ประจำปี เพื่อโรงพยาบาลจะได้ทราบจำนวนเงินส่วนต่างที่ต้องโอนเงินเพิ่มเติมให้กับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
  2. ขอให้ทบทวนวงเงินจัดสรรงบ Fixed Cost สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอใหม่ สืบเนื่องจากมีการกำหนดวงเงินจัดสรรในภาพรวม 7,800,000 บาท นี้ มาเป็นเวลา 3 ปี แล้ว
  3. ขอให้แจ้งแนวทางการการสนับสนุนงบ Fixed Cost ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไขแนวทางใดๆ เพื่อจะได้ไม่เกิดความสับสนในการปฏิบัติ
  • มอบกลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข แจ้งจัดสรรงบ Fixed Cost สำหรับ สสอ. ประจำปีงบประมาณ 2565 และให้ทบทวนปรับปรุงวงเงินสนับสนุน Fixed Cost
  • มอบกลุ่มงานประกันสุขภาพ แจ้งแนวทางการจัดสรรงบ Fixed Cost สำหรับ รพ.สต.ให้โรงพยาบาลทราบ และดำเนินการเป็นปีๆ ไป
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สรุปผลการประเมินEIA จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564

0 0
Read Time:5 Minute, 54 Second

บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)

รายงานผลการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : ElA)

ตามแผนการตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้กำหนดแผนการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) ทุกหน่วย บริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นั้น
การปฏิบัติงานกลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการ
ตรวจสอบและประเมินผลข้อมูลการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) ตามแนวทางที่กำหนด ซึ่งสรุปผลการตรวจสอบภายในภาพรวมจังหวัดขอนแก่น ดังนี้

เชิงปริมาณ

ผลการประเมินการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังโดยระบบ (Electronics Internal Audit : EIA)จังหวัดขอนแก่น จำนวน ๒๖ แห่ง

สรุปผลการประเมินภาพรวม ผลการดำเนินงานในภาพรวมของระดับจังหวัด ผลคะแนนร้อยละ ๘๐.๓๕ อยู่ในเกณฑ์ดี จากการตรวจสอบในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) พบว่าในแต่ละมิติมีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ ดังนี้ มิติด้านการเงิน ร้อยละ ๘๓.๕๓ มิติด้านจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล ร้อยละ ๘๐.๕๒ มิติด้านงบการเงิน ร้อยละ ๗๗.๓๘ มิติด้านบริหารพัสดุ ร้อยละ ๗๔.๐๒ และมิติด้านระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ร้อยละ ๘๕.๖๘

เชิงคุณภาพ

ประเด็นความเสี่ยงที่ตรวจพบ (condition) ดังนี้

  • ๑) มิติด้านการเงิน จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ มีการเก็บรักษาเงินโดยทั่วไปหน่วยงานมีวงเงินเก็บรักษาเกินกว่าที่กำหนดตามประกาศสำนักงานบ่ลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ ๐๒๐๗/ว๖๓ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจการนำเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์กลับเข้าฝากคลังและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS หน่วยบริการไม่ได้นำเงินฝากคลังและไม่ได้จัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากคลัง การเบิกจ่ายค่าตอนแทนนอกเวลาราชการ (ฉ๕) และการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเสี่ยงภัยของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมและรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่ได้แนบคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน หน่วยบริการไม่ได้จัดทำรายงานความก้าวหน้าของเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรายงานรับ – จ่ายเงินบริจาคของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อส่งรายงานให้หน่วยงานคลังของส่วนราชการต้นสังกัดภายใน ๖0 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
  • ๒) มิติด้านจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่มีการนำส่งสำเนาใบเสร็จรับเงินเมื่อได้รับการโอนเงินจากหน่วยงานหรือกองทุนต่าง ๆ ระหว่างงานการเงินกับงานประกันสุขภาพไม่มีการเซ็นรับ – ส่งเอกสารระหว่างกัน การเร่รัดติดตามการชำระหนี้หน่วยงานมีเพียงหนังสือแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล แต่ไม่มีหนังสือเร่งรัดติดตามการชำระหนี้ (หนังสือฉบับที่ ๒ ติดตามการจ่ายชำระหนี้กรณียังไม่ได้รับชำระเงินหลังจากแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาลครั้งที่ ๑ แล้ว) กระบวนการสังคมสงเคราะห์/อนุเคราะห์ไม่มีทะเบียนคุมข้อมูลการสังคมสงเคราะห์ และหลักฐานเอกสารเสนอผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการสังคมสงเคราะห์/อนุเคราะห์ และหน่วยบริการไม่ได้สอบทานยืนยันยอดความมีอยู่จริงของลูกหนี้คงเหลือ ณ วันสิ้นปีงบประมาณกับกองทุนต่าง ๆ หรือส่วนราชการ
  • ๓) มิติด้านงบการเงิน จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่จัดทำทะเบียนคุมบัญชีเงินฝากคลังและบัญชีเงินหลักประกันสัญญา การบันทึกบัญชีด้านรับ ด้านจ่าย และด้านทั่วไปหน่วยบริการไม่แนบหลักฐานประกอบการบันทึกบัญที ไม่มีการสอบทานยืนยันยอดคงเหลือระหว่างทะเบียนคุมหรือรายงานกับงบทดลอง ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ เจ้าหน้าที่ไม่ปรับปรุงรายการรายได้ค้างรับ รายได้รับล่วงหน้าและค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ณ วันสิ้นปีงบประมาณตามนโยบายปัญชีที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและหน่วยบริการไม่แนบหนังสือนำส่งรายงานการรับ – จ่ายเงินบำรุง ที่หัวหน้าหน่วยงานรับรอง
  • ๔) มิติด้านบริหารพัสดุ จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่จัดทำโครงสร้างสายการบังคับบัญชางานพัสดุ หรือบางแห่งมีการจัดทำแต่สายการบังคับบัญชายังไม่ถูกต้อง การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เอกสารประกอบในแต่ละชุดไม่มีเอกสารมอบหมายหรือแต่งตั้งให้มีผู้รับผิดชอบกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะของพัสดุ (ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒๑) รายละเอียดคุณสักษณะเฉพาะของหัสดุ และรายงานผลการตรวจรับให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบ ซึ่งบางแห่งมีการจัดทำรายงานการตรวจรับพัสดุจากระบบ e – GP กับรายงานผลการตรวจรับให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบเป็นฉบับเดียวกัน แต่ไม่ได้แจ้งให้ผู้ตรวจสอบทราบ บัญชีวัสดุและทะเบียนคุมทรัพย์สินรายละเอียดและแนวทางไม่เป็นไข่ตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด และใบเบิกพัสดุผู้อนุมัติสั่งจ่ายไม่ใช่หัวหน้าหน่วยพัสดุตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย
  • ๕) มิติด้านระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง จากการตรวจสอบพบว่าหน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่มีการเซ็นรับรองรายงานการประชุมจากผู้อำนวยการโรงพยาบาล รายงานการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปค.๔) และรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน(แบบ ปค.๕) ระดับส่วนงานย่อยไม่มีการเซ็นรับรองจากหัวหน้าส่วนงานย่อย ไม่จัดทำร้ายงานการติดตามผลการปรับปรุงการควบคุมภายใน และแผนบริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะแผนความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (S) หน่วยงานแนบหนังสือนำส่งแผนแต่ไม่มีรายละเอียดของความเสี่ยงผู้ตรวจสอบจึงไม่สามารถประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานในแต่ละด้านได้

สาเหตุ (Cause)

เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานขาดความเข้าใจในกฏ ระเบียบ และแนวทางในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงทักษะในการปฏิบัติงานไม่ซัดเจนเพียงพอ ส่งผลให้เข้าใจคลาดเคลื่อนในบางประเด็นทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งไม่มีการสอบทานยืนยันยอดระหว่างกัน และขาดความระมัดระวังรอบคอบในการปฏิบัติงาน หน่วยบริการไม่มีการจัดวางระบบในการส่งต่อข้อมูลระหว่างกัน และไม่มีการตรวจสอบชุดเอกสารก่อนจัดส่งไปยังส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

ผลกระทบ (Effect)

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด หากเกิดข้อผิดพลาดหรือเอกสารสูญหายหน่วยงานจะไม่สามารถตรวจสอบติดตามเอกสารนั้นได้ เพราะไม่มีข้อมูลการส่งต่อเอกสารระหว่างกัน ขาดการกำกับ ติดตาม อาจส่งผลให้ความเสี่ยงของหน่วยงานไม่ได้รับการแก้ไขส่งผลกระทบต่อกระบวนการปฏิบัติงาน หน่วยงานต้องรับภาระความเสี่ยงจากระบบการควบคุมภายในที่ไม่รัดกุม และการเบิกจ่ายที่ชุดเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ และไม่ถูกต้องตามระเบียบ เนื่องจากขาดเอกสารในบางส่วน อาจส่งผลให้การเบิกจ่ายไม่ถูกต้องตามระเบียบด้วยเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ (Recommendation)

  1. การเก็บรักษาเงินโดยทั่วไปหน่วยงานจะต้องมีวงเงินเก็บรักษาตามประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0๒๐๗/ว๖๓ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง ชักซ้อมความเข้าใจการนำเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์กลับเข้าฝากคลังและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS
  2. ผู้รับผิดชอบตามคำสั่งมอบหมายงานและบุคลากรทุกส่วนงานจะต้องศึกษากระบวนการทำงานของตนเองให้มีความแม่นยำในการปฏิบัติงาน
  3. หน่วยบริการควรกำกับ ดูแล และกำชับเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วน ถูกต้องก่อนจัดส่งเอกสารไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
  4. ควรทบทวนกระบวนการทำงานของแต่ละส่วนงานเพื่อให้ระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และควรแยกความรับผิดชอบในการทำงานของแต่ละส่วนงานให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการปฏิบัติงานช้ำซ้อน
  5. การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของหน่วยงานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ อย่างเคร่งครัด
ผู้ประเมิน
นางสาวสุชานาถ ทินวงศ์
นักวิชาการตรวจสอบภายใน
นางสาวชวัลลักษณ์ ทองบ่อ
นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
ผู้ตรวจสอบประจำเขตสุขภาพที่ ๗
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางจัดทำแผนทางการเงินปีงบ65

0 0
Read Time:1 Minute, 6 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) และร่างจัดทำแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

กลุ่มงานประกันสุขภาพ ร่วมกับงานการเงิน งานตรวจสอบภายใน กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ ร่วมประชุมเพื่อรับฟังการชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) และร่างจัดทำแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยมีนายแพทย์อุรส สิงห์งาม ผอ.รพ.น้ำพอง ในนามตัวแทนคณะกรรมการ CFO จังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในการร่วมรับฟัง

ตามที่กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ได้ดำเนินการจัดทำร่างแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และร่างแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง เสร็จเรียบร้อยจึงมีความประสงค์ จะจัดประชุมขี้แจงแนวทางการจัดทำรายงานดังกล่าวในการนี้ เพื่อให้การจัดทำแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) ปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๕ และร่างจัดทำแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงขอเชิญคณะกรรมการบริหารการเงินการคลัง (CFO) จำนวน ๑ ท่าน เข้าร่วมประชุมในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๒ กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ชั้น ๔ อาคาร ๗ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือสามารถเข้าร่วมประชุมผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล (VDO Conference)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมสรุปตรวจราชการปีงบ2564 รอบที่ 2

0 0
Read Time:1 Minute, 25 Second

การประชุมสรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รอบที่ 2 ผ่าน Application CiscoWebX วันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร อาคาร 1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 1 โครงการราชทัณฑ์ ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดย แพทย์หญิงวิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 3 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 1
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 2 กัญชาทางการแพทย์และสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ โดย นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 9 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 2
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 3 ระบบสุขภาพปฐมภูมิ โดย นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 12 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 3
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 4 สุขภาพกลุ่มวัย สุขภาพจิต โดย นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 10 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 4
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 5 ลดแออัด ลดรอคอย ลดป่วย ลดตาย โดย นายแพทย์พิทักษ์พล บุณยมาลิก ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 11 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 5
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 6 ระบบธรรมาภิบาล โดย นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 2 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 6
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 7 การตรวจราชการแบบบูรณาการ โดย นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 1 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 7
  • ผลการตรวจราชการประเด็น Area based และประเด็นนวัตกรรมการจัดการบริการสุขภาพ (Innovative Healthcare Management) เขตสุขภาพที่ 1-12 โดย ผู้อำนวยการกองตรวจราชการ
  • แนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดย นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 1 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข

เอกสารประกอบการประชุม

http://planfda.fda.moph.go.th/newplan/meetrh1/training_description.php?agenda_description=93

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมCFOครั้งที่2/2564

0 0
Read Time:1 Minute, 37 Second

การประชุมประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง
(Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น
ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.30-16.30 น.
ณ ห้องประชุมก่องข้าว ชั้น 3 อาคารใหม่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

  • ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 
    • ด้วย คณะกรรมการ CFO เขตสุขภาพที่ 7 ได้แจ้งการจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2565 และสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จะต้องดําเนินจัดสรรปรับเกลี่ยเงินดังกล่าวให้แก่หน่วยบริการในสังกัดให้แล้วเสร็จ และแจ้งผลการปรับเกลี่ยให้เขตสุขภาพดำเนินการภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2564 รวมทั้งหารือการบริหารจัดการการเงินการคลังในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เงินกัน Virtual account จังหวัดขอนแก่น เพื่อตามจ่ายแทน CUP กรณี ส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ในจังหวัด จึงเห็นควรจัดประชุม CFO จังหวัดขอนแก่น ขึ้นในวันนี้
  • ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
    • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นได้สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารการเงินการคลัง (CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564
  • ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง
    •  3.1 …………………………………………………………………………………………………………………………………
    •  3.2 …………………………………………………………………………………………………………………………………
  • ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อทราบ
    • 4.1 สรุปสถานการณ์การเงินการคลังหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น ณ เดือนกรกฎาคม 2564
    • 4.2 แนวทางการบริหารกองทุน UC และการปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2565 และงบกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา
    • ­5.1  แนวทางการปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด และงบกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2565
    • 5.2  แนวทางการบริหารจัดการค่ายาที่โรงพยาบาลชุมชนสั่งซื้อยาจากโรงพยาบาลขอนแก่น

สรุปมติและข้อสั่งการจากการประชุม

ที่ลิงค์นี้
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ซักซ้อมความเข้าใจในการจัดทำแผนเงินบำรุง

0 0
Read Time:51 Second

สืบเนื่อง จากผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขกรณีปกติ รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2564 เขตสุขภาพที่ 7 ประเด็นที่ 6 ระบบธรรมภิบาล การตรวจสอบภายในและระบบการเงินการคลัง มีประเด็นทักทวงเกี่ยวกับการจัดทำแผนเงินบำรุง คณะกรรมการ CFO เขตสุขภาพที่ 7 จึงมีมติเห็นควรให้กำหนดจัดประชุมซักซ้อมความเข้าใจในการจัดทำแผนเงินบำรุง ให้มีความเข้าใจในการจัดทำแผนเงินบำรุงอย่างถูกต้อง ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานเข้าร่วมประชุมเมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 14.00-16.30 น. โดยประชุมผ่านระบบ VDO Con. ด้วยระบบ Cisco Webex Meeting วาระประกอบไปด้วย

  • แจ้งวัตถุประสงค์ และข้อทักท้วงการจัดทำแผนเงินบำรุง โดย นางสาวชวัลลักษณ์ ทองบ่อ นักวิซาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
  • แนวทางการจัดทำแผนเงินบำรุง โดย นายแพทย์ชุมพล นุชผ่อง รองผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
  • กระบวนการจัดทำแผนเงินบำรุงโรงพยาบาลขอนแก่น โดย นางธนิษฐา ศุภวิชย์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลขอนแก่น
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ร่วมทีมตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ รอบที่ 2

0 0
Read Time:1 Minute, 20 Second

กลุ่มงานประกันสุขภาพร่วมกับงานการเงิน งานตรวจสอบภายใน กลุ่มงานบริหารทั่วไป กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข ร่วมทีมรับการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ รอบที่ 2 ประเด็นที่ 3 ระบบธรรมาภิบาล ณ โรงพยาบาลเขาสวนกวาง ซึ่งผู้รวจราชการและนิเทศงานจากจังหวัดมหาสารคามโดยการนำของนายแพทย์กัมพล เอี่ยมเกื้อกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย นางสาวชวัลลักษณ์ ทองบ่อ นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ กลุ่มตรวจสอบภายใน สป.ปฏิบัติงานที่ สนง.เขตสุขภาพที่ 7 ร่วมกับคณะตรวจราชการจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม จากสำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 ร่วมตรวจราชการในครั้งนี้

ทั้งนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น มีการกำกับติดตามการบริหารจัดการแผนเงินบำรุงให้มีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะวิกฤต ทุกแห่งโดย

  1. ประเมินประสิทธิภาพของแผนเงินบำรุงทุกระดับทุกหน่วยบริการ
  2. ตรวจสอบความเชื่อมโยงของแผนเงินบำรุง และ Planfin
  3. พัฒนา Application online สำหรับแผนเงินบำรุงของโรงพยาบาลทุกระดับ

ในปีงบประมาณ 2565 ผลการดำเนินงานพบว่าประเมินแผนเงินบำรุง และ Plan Fin หน่วยบริการระดับโรงพยาบาล 26 หน่วย 6 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2564 มีรายได้เฉลี่ยร้อยละ 54.56 และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยร้อยละ 46.93 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 60 หน่วย จาก 248 หน่วย มีรายได้เฉลี่ยร้อยละ 46.61 และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยร้อยละ 37.98 การเงินการคลังสุขภาพ (ศูนย์จัดเก็บรายได้) ผลการดำเนินงาน ไตรมาส 2/2564 มีสถานการณ์วิกฤตทางการเงินอยู่ในระดับ 0 จำนวน 18 แห่ง ไม่มีหน่วยบริการที่ประสบปัญหาวิกฤติการเงินระดับ 6 ระดับ 7 และหน่วยบริการได้รับการพัฒนาศักยภาพศักยภาพศูนย์จัดเก็บรายได้ ร้อยละ 100

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ผลการประกวด Bright Spot Hospital 2564

0 0
Read Time:37 Second

Bright Spot Hospital คือการประกวดการพัฒนาประสิทธิภาพทางการเงินการคลัง สำหรับหน่วยบริการที่มีผลงานดีเด่น ประจำปีงบประมาณ 2564 ที่จัดโดยคณะกรรมการการเงินการคลังเขตสุขภาพ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 ซึ่งผลคะแนนการประกวด เป็นดังนี้

อ้างอิงหลักเกณฑ์แนวทางและวิธีการประกวดฯ

ลิงค์หลักเกณฑ์การประกวด
อ้างอิงจากเอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการ CFOเขตสุขภาพที่7 เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2564

ทั้งนี้คะแนนรวมรายหน่วยบริการของจังหวัดขอนแก่นเป็นไปตามตารางด้านล่างนี้ ซึ่งจะพบว่าหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่นหลายแห่งมีคะแนนมากกว่า รพ.ที่ได้รับรางวัลของจังหวัดอื่น แต่เนื่องจากเกินจำนวนหน่วยบริการที่จังหวัดส่ง (หลักเกณฑ์) จึงไม่ได้รับรางวัล Bright Spot Hospital

คะแนนรายข้อรายหน่วยบริการ

ส่วนที่1
ส่วนที่2
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
1 100 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

Bright Spot Hospital 2564

0 0
Read Time:3 Minute, 52 Second

หลักเกณฑ์การพัฒนาประสิทธิภาพทางการเงินการคลัง สำหรับหน่วยบริการที่มีผลงานดีเด่น(Bright Spot Hospital) ประจำปีงบประมาณ 2564

หลักเกณฑ์และแนวทางการประเมิน :แบ่งระดับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan

บประมาณ : จากเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 10 ล้านบาท

  • ระดับบริการ A 5 M1 (วงเงิน 2 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 600,000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 400,000 บาท
  • ระดับบริการ M2 (วงเงิน 2 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 600,000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 400,000 บาท
  • ระดับบริการ F1 F2 (วงเงิน 4 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 800.000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 700,000 บาท
    • ลำตับที่ 4 จำนวน 500,000 บาท
    • ลำดับที่ 5 จำนวน 400,000 บาท
    • รางวัลชมเชย จำนวน 300,000 บาท จำนวน 2 รางวัล
  • ระดับบริการ F3 (วงเงิน 2 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 600,000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 400,000 บาท

หลักเกณฑ์การประเมิน : กรอบในการประเมินมี 3 ด้าน ประกอบด้วย

  1. นโยบายของผู้บริหาร/แผนพัฒนา/นวัตกรรม/ซอฟต์แวร์   (20 คะแนน)
  2. กระบวนการในการดำเนินงาน (Process Indicator)   (55 คะแนน)
  3. ผลงานในการดำเนินงาน (Outcome Indicator)   (25 คะแนน)

สูตรการคำนวณ : คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดย

คะแนนที่ได้ = (คะแนนที่ได้ในข้อ 1 + คะแนนที่ได้ในข้อ 2 + คะแนนที่ได้ในข้อ 3)
เกณฑ์การให้คะแนน : เมื่อคำนวณคะแนนที่ได้แล้ว จะนำมาเรียงลำดับคะแนนเพื่อมอบรางวัลต่อไป

วิธีการคัดเลือก : ให้แต่ละจังหวัดคัดเลือกหน่วยบริการ เพื่อเข้ารับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan ดังนี้

  1. ระดับบริการ A S M1   ทุกแห่ง
  2. ระดับบริการ M2   จังหวัดละ 1 แห่ง
  3. ระดับบริการ F1 F2   จังหวัดละ 2 แห่ง
  4. ระดับบริการ F3   จังหวัดละ 1 แห่ง

โดยเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารการเงินการคลัง (Chief Financial Officer. CFO) เขตสุขภาพที่ 7 ในเดือนมิถุนายน 2564 โดยให้หน่วยบริการนำเสนอข้อมูล แห่งละ 10 นาที และให้คณะกรรมการฯ ซักถามข้อมูลเพิ่มเติม แห่งละ 10 นาที

กรอบและรายละเอียดการประเมิน

1. นโยบายของผู้บริหาร/แผนพัฒนา/นวัตกรรม/ซอฟแวร์ 20 คะแนน

แหล่งข้อมูลคะแนน
แผนการดำเนินงานที่ระบุกิจกรรมเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งด้านเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย เป็นรายกิจกรรม และมีแผนธุรกิจ(Business Plan)4 คะแนน
รายงานการประชุมคณะกรรมการ CFO อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง(ไตรมาส 4/63 – ไตรมาส 2/64) เนื้อหาต้องประกอบด้วยสถานการณ์การเงิน/ประเด็นที่เป็นปัญหา/แนวทางการแก้ไข/รายงานผลการแก้ปัญหาที่มีการติดตามในไตรมาสถัดๆไป เป็นระยะ 4 คะแนน
มีการใช้นวัตกรรม/ซอฟแวร์ ในการดำเนินงาน (มีการระบุกิจกรรม/เป้าหมาย/รายงานผลงานที่ชัดเจน) 4 คะแนน
การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4 คะแนน
การจัดซื้อจัดจ้างเวชภัณฑ์ยา 4 คะแนน

2.กระบวนการในการดำเนินงาน (Process Indicator) 55 คะแนน (ใช้ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2564 ในการประเมินผล)

รายละเอียดการประเมินคะแนน
1. การบริหารแผน Planfin10 คะแนน
1.1 Planfin รายได้ +5 % ขึ้นไป5 คะแนน
1.2 Planfin ค่าใช้จ่าย ไม่เกิน + 5 %5 คะแนน
2. การบริหารต้นทุนบริการไม่เกินค่ากลางกลุ่มโรงพยาบาล20 คะแนน
2.1 Unit Cost OP (Mean+1SD)5 คะแนน
2.2 Unit Cost IP (Mean+1SD)5 คะแนน
2.3 LC ค่าแรงบุคลากร (Mean)2.5 คะแนน
2.4 MC ค่ายา (Mean) 2.5 คะแนน
2.5 MC ค่าเวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุการแพทย์ (Mean) 2.5 คะแนน
2.6 MC ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ (Mean) 2.5 คะแนน
3. การบริหารจัดการบัญชีและการเงิน15 คะแนน
3.1 ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้การค้ายาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา3 คะแนน
3.2 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ UC3 คะแนน
3.3 ระยะเวลาถั่วเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ CS3 คะแนน
3.4 การบริหารสินค้าคงคลัง3 คะแนน
3.5 คะแนนตรวจบัญชีงบทดลองเบื้องต้น3 คะแนน
4. Productivity ที่ยอมรับได้10 คะแนน
4.1 อัตราครองเตียง  มากกว่าหรือเท่ากับ 80 % หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 55 คะแนน
4.2 Sum of AdjRw เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 55 คะแนน

3. ผลงานในการดำเนินงาน (Outcome Indicator)   25 คะแนน

รายละเอียดการประเมิน คะแนน
1. ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Operation Margin) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. 5 คะแนน
2. อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. 5 คะแนน
3. เงินทุนสำรองสุทธิ (NWC)  เป็นบวก และเพิ่มขึ้น 5 คะแนน
4. ผลต่างรายได้และค่าใช้จ่าย (EBITDA) เป็นบวก และเพิ่มขึ้น 5 คะแนน
5.Cash Ratio เท่ากับหรือมากกว่า 0.8 5 คะแนน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยเบิกจ่ายตรงให้แก่กองทุนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการส่วนท้องถิ่น

0 0
Read Time:3 Minute, 19 Second

คุณสมบัติหน่วยงานที่ขอขึ้นทะเบียน

สถานพยาบาลที่ต้องการเป็นหน่วยเบิกจ่ายตรงกองทุนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการส่วนท้องถิ่น จะต้องมีคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้

  1. เป็นสถานพยาบาลภาครัฐที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทหน่วยบริกรประจำ หรือหน่วยบริการที่รับการส่งต่อ หรือ
  2. เป็นสถานพยาบาลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยเบิกจ่ายตรงสวัสดิการครักษาพยาบาลสิทธิข้าราชการของกรมบัญชีกลาง หรือ
  3. เป็นสถานพยบาลหรือหน่วยบริการภาครัฐในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือหน่วยบริการร่วมให้บริการ ที่มีความพร้อมตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
  • เกณฑ์ด้านคุณภาพ
    • มีรหัสสถานพยาบาลจากกระทรวงสาธารณสุข
    • มีการจัดบริการสาธารณสุขด้วยตนเอง
    • มีบุคลากรที่สามารถส่งข้อมูลการให้บริการผ่านโปรแกรมการส่งเบิกชดเชย
    • มีบุคลากรที่สามารถให้รหัสโรค/รหัสหัตถการ
    • มีบุคลากรที่สามารถจัดทำระบบ Drug Catalog
  • เกณฑ์ด้านโครงสร้าง
    • มีการจัดสถานที่ในการให้บริการอย่างเป็นสัดส่วน มีความปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ
  • เกณฑ์ด้านเครื่องมือ-อุปกรณ์
    • มีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต สำหรับใช้งานในการส่งข้อมูลการให้บริการ
    • มีระบบการสำรองข้อมูลการให้บริการทั้งในรูปแบบเอกสาร และอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับการตรวจสอบภายหลัง (Audit)
  • เกณฑ์ด้านระบบบัญชี
    • มีบัญชีรับโอนงินจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    • สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้กับ สปสช. ได้
    • มีระบบบัญชีเพื่อรองรับการตรวจสอบด้านการเงิน

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนหน่วยเบิกจ่ายตรง

  1. กรณีที่เป็นหน่วยบริการประจำ หน่วยบริการที่รับการส่งต่อในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือกรณีที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยเบิกจ่ายตรงกับกรมบัญชีกลางแล้ว ทางสำนักบริหารงานทะเบียนจะดำเนินการขึ้นทะเบียนให้เป็นหน่วยเบิกจ่ายตรงของกองทุนสวัสดิการข้าราชการรักษาพยาบาลข้าราชการส่วนท้องถิ่นให้โดยอัตโนมัติ และจะแจ้งเวียนให้สำนักที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
  2. กรณีที่เป็นสถานพยาบาล และหน่วยบริการปฐมภูมิหรือหน่วยบริการร่วมให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
    • ให้หน่วยบริการหรือสถานพยาบาลที่ต้องการเข้าร่วมดำเนินการประเมินตนเองตามคุณสมบัติที่กำหนด กรณีที่คุณสมบัติไม่ครบถ้วน ให้หน่วยบริการหรือสถานพยาบาลดำเนินการปรับปรุงให้หน่วยงานมีคุณสมบัติครบถ้วน
    • กรณีที่หน่วยบริการประเมินตนเองแล้วพบว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน ให้แจ้งความจำนงค์มายังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น ทางผู้ประสานงาน คุณพชร น้อยสมบัติ email : pothchara.n@gmail.com และติดตามผลการสมัครที่ โทร 09-0197-5202 หรือ LineID : theton11 พร้อมเอกสารดังนี้
      1. ใบสมัคร ที่มีผลการประเมินตนเอง
      2. แบบฟอร์มขอ username/password พร้อมหลักฐานประกอบ
      3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (Book Bank) โดยแนะนำให้เป็นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกณ์การเกษตร (ธกส.) เพื่อจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอน
    • สำนักงานฯ เขต ตรวจสอบความถูกต้อง และครบถ้วนของเอกสาร หากไม่ครบถ้วนให้แจ้งหน่วยบริการ/สถานพยาบาลเพื่อขอเอกสารเพิ่มเติม หากครบถ้วนให้แจ้งเรื่องมายังสำนักบริหารงานทะเบียน
    • เมื่อสำนักบริหารงานทะเบียนได้รับการแจ้งเรื่อง จะทำการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยเบิกจ่ายตรง สร้างข้อมูลคู่สัญญา (Vendor) และปรับปรุงฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจะแจ้งประชาสัมพันธ์ให้สำนักที่เกี่ยวข้องและเขตต้นเรื่องทราบ
    • สำนักงานๆ เขต ประสานกับสำนักบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ ในการออกรหัสผู้ใช้งานและรหัสผ่านการใช้งานโปรแกรม E-Clam และโปรแกรม NHSO Client ให้แก่หน่วยบริการ/สถานพยาบาลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหน่วยเบิกจ่ายตรง
    • สำนักงานฯ เขต นัดหมายกับหน่วยเบิกจ่ายตรงฯ เพื่อสอนการใช้งานโปรแกรม E-Claim และ โปรแกรม NHSO Client
    • หน่วยเบิกจ่ายตรงฯ แจ้งหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตั้งและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นมาลงทะเบียนเบิกจ่ายตรงไว้กับหน่วยงานตนเอง
    • เมื่อหน่วยเบิกจ่ายตรงฯ ให้บริการแก่ผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนแล้ว ให้ทำการบันทึกข้อมูลการบริการเพื่อขอรับค่าชดเชยจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    • สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทำการประมวลผลการเข้ารับบริการ และดำเนินการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการให้แก่หน่วยเบิกจ่ายตรงฯ ตามบัญชีที่แจ้งไว้
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version