ผู้เขียน: Chatchawan
เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงการคุ้มครองสิทธิและการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 26 พ.ค. 65
ประชุมชี้แจงการคุ้มครองสิทธิและการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นฯ
วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.
- แนวทาง/ขั้นตอนการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล (มาตรา ๔๑)
- แนวทาง/ขั้นตอน การขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้ให้บริการสาธารณสุขที่ได้รับความเสียหาย จากการให้บริการสาธารณสุข ตามระเบียบกระทรวงการคลัง พ.ศ.๒๕๖๑ และตามข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๖
- แนวทาง/ขั้นตอน การขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
เอกสารประกอบการประชุม
ปรับอัตราการจ่ายโควิด-19 วันที่15พ.ค.65
ประชุมชี้แจงการปรับอัตราการจ่ายค่าใช้จ่ายการให้บริการสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด 19
ให้เป็นตามแผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น
ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๕.๓๐ น.
วาระการประชุม
- ๑๓.๓๐-๑๓-๔๕ น. กล่าวเปิดประชุม โดย นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช.
- ๑๓.๔๕ – ๑๔.๐๐ น. แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อตามแผนและมาตรการการบริหาร จัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น โดย ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
- ๑๔.๐๐ – ๑๔.๑๕ น. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับปรับปรุง ๒๒ เมษายน ๒๕๖๕ และ การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น ด้านการแพทย์ โดย แพทย์หญิงนฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์
- ๑๔.๑๕ – ๑๕.๐๐ น. หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด 19 สู่การเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) โดย แพทย์หญิงกฤติยา ศรีประเสริฐ ที่เชี่ยวชาญพิเศษ สปสช.
- ๑๕.๐๐ – ๑๕.๑๕ น. แนวทางการส่งเบิกข้อมูลการบริการโควิดที่มีเปลี่ยนแปลงผ่านโปรแกรม e-Claim โดย ผู้แทน ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน
- ๑๕.๑๕ – ๑๕.๓๐ น. อภิปราย ซักถาม ปิดการประชุม
ประชุมบริหารจัดการยาต้านสูตรใหม่ วันที่ 2-3 พค. 2565
ประชุมชี้แจงการบริหารจัดการยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่
- เวลา 08.30 – 08.40 น. บรรยายวัตถุประสงค์การปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านเอชไอวี โดย พญ.ชีวนันท์ เลิศพิริยะสุวัฒน์ ผอ.กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- เวลา 08.40 – 09.30 น. บรรยายแนวทางการปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านเอชไอวีในผู้ใหญ่ เด็ก/วัยรุ่น และ หญิง ตั้งครรภ์ โดย ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย
- เวลา 09.30 – 10.30 น. บรรยาย การบริหารจัดการการปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านเอชไอวี ของ สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ สำนักงานประกันสังคม โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ สำนักงานประกันสังคม
- เวลา 10.30 – 11.00 น. บรรยาย การกระจายยา/จัดส่งยา และการติดต่อประสานงาน โดย องค์การเภสัชกรรม
- เวลา 11.00 – 12.00 น. ถาม-ตอบ ปัญหาที่พบจากการดำเนินงาน
- เวลา 13.00 – 13.10 น. บรรยายวัตถุประสงค์การปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านเอชไอวี โดย พญ.ชีวนันท์ เลิศพิริยะสุวัฒน์ ผอ.กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- เวลา 13.10 – 14.00 น. บรรยายแนวทางการปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านเอชไอวีในผู้ใหญ่ เด็ก/วัยรุ่น และ หญิง ตั้งครรภ์ โดย ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย
- เวลา 14.00 – 15.00 น. บรรยาย การบริหารจัดการการปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านเอชไอวี ของ สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ สำนักงานประกันสังคม โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , สำนักงานประกันสังคม
- เวลา 15.00 – 15.30 น. บรรยาย การกระจายยา/จัดส่งยา และการติดต่อประสานงาน โดย องค์การเภสัชกรรม
- เวลา 15.30 – 16.30 น. ถาม-ตอบ ปัญหาที่พบจากการดำเนินงาน
การบันทึกข้อมูลเบิกผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคม (SSIP)สำหรับสถานพยาบาลรัฐ
การบันทึกข้อมูลเบิกผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคม (SSIP) สำหรับสถานพยาบาลรัฐ ประกอบการประชุมชี้แจงโดยสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) เนื้อหาประกอบไปด้วย
- หลักเกณฑ์/แนวทางการบันทึกข้อมูล
- โปรแกรมที่ใช้ในระบบ
- การปรับปรุงฐานข้อมูลอ้างอิง
- การขอรหัส รพ.สนาม/Hospitel
- Flow การทางาน และขั้นตอนการบันทึกข้อมูล
- การบันทึกข้อมูล COVID-19
Bright Spot Hospital ปี 2565
หลักเกณฑ์การพัฒนาประสิทธิภาพทางการเงินการคลัง สำหรับหน่วยบริการที่มีผลงานดีเด่น (Bright Spot Hospital) ประจำปีงบประมาณ 2565
หลักเกณฑ์และแนวทางการประเมิน :แบ่งระดับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan
งบประมาณ : จากเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 10 ล้านบาท
- ระดับบริการ M2 (วงเงิน 2 ล้านบาท)
- ลำดับที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
- ลำดับที่ 2 จำนวน 600,000 บาท
- ลำดับที่ 3 จำนวน 400,000 บาท
- ระดับบริการ F1 F2 (วงเงิน 5 ล้านบาท)
- ลำดับที่ 1 จำนวน 1,250,000 บาท
- ลำดับที่ 2 จำนวน 1,000.000 บาท
- ลำดับที่ 3 จำนวน 875,000 บาท
- ลำตับที่ 4 จำนวน 625,000 บาท
- ลำดับที่ 5 จำนวน 500,000 บาท
- รางวัลชมเชย จำนวน 375,000 บาท จำนวน 2 รางวัล
- ระดับบริการ F3 (วงเงิน 3 ล้านบาท)
- ลำดับที่ 1 จำนวน 1,500,000 บาท
- ลำดับที่ 2 จำนวน 900,000 บาท
- ลำดับที่ 3 จำนวน 600,000 บาท
หลักเกณฑ์การประเมิน : กรอบในการประเมินมี 3 ด้าน ประกอบด้วย
- นโยบายของผู้บริหาร/แผนพัฒนา/นวัตกรรม/ซอฟต์แวร์ (10 คะแนน)
- กระบวนการในการดำเนินงาน (Process Indicator) (60 คะแนน)
- ผลงานในการดำเนินงาน (Outcome Indicator) (30 คะแนน)
สูตรการคำนวณ : คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดย
คะแนนที่ได้ = (คะแนนที่ได้ในข้อ 1 + คะแนนที่ได้ในข้อ 2 + คะแนนที่ได้ในข้อ 3)
เกณฑ์การให้คะแนน : เมื่อคำนวณคะแนนที่ได้แล้ว จะนำมาเรียงลำดับคะแนนเพื่อมอบรางวัลต่อไป
วิธีการคัดเลือก : ให้แต่ละจังหวัดคัดเลือกหน่วยบริการ เพื่อเข้ารับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan ดังนี้
- ระดับบริการ A S M1 ทุกแห่ง (เข้ารับการประเมินและมอบใบประกาศนียบัตรเท่านั้น)
- ระดับบริการ M2 จังหวัดละ 1 แห่ง
- ระดับบริการ F1 F2 จังหวัดละ 2 แห่ง
- ระดับบริการ F3 จังหวัดละ 1 แห่ง
โดยเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารการเงินการคลัง (Chief Financial Officer. CFO) เขตสุขภาพที่ 7 ในเดือนมิถุนายน 2565 โดยให้หน่วยบริการนำเสนอข้อมูล แห่งละ 10 นาที และให้คณะกรรมการฯ ซักถามข้อมูลเพิ่มเติม แห่งละ 10 นาที
กรอบและรายละเอียดการประเมิน
1. นโยบายของผู้บริหาร/แผนพัฒนา/นวัตกรรม/ซอฟแวร์ 10 คะแนน
แหล่งข้อมูล | คะแนน |
---|---|
แผนการดำเนินงานที่ระบุกิจกรรมเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งด้านเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย เป็นรายกิจกรรม และมีแผนธุรกิจ(Business Plan) | 2 คะแนน |
รายงานการประชุมคณะกรรมการ CFO อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง(ไตรมาส 4/64 – ไตรมาส 2/65) เนื้อหาต้องประกอบด้วยสถานการณ์การเงิน/ประเด็นที่เป็นปัญหา/แนวทางการแก้ไข/รายงานผลการแก้ปัญหาที่มีการติดตามในไตรมาสถัดๆไป เป็นระยะ | 2 คะแนน |
มีการใช้นวัตกรรม/ซอฟแวร์ ในการดำเนินงาน (มีการระบุกิจกรรม/เป้าหมาย/รายงานผลงานที่ชัดเจน) | 2 คะแนน |
การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ | 2 คะแนน |
การจัดซื้อจัดจ้างเวชภัณฑ์ยา | 2 คะแนน |
2.กระบวนการในการดำเนินงาน (Process Indicator) 60 คะแนน (ใช้ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2565 ในการประเมินผล)
รายละเอียดการประเมิน | คะแนน |
---|---|
1. การบริหารแผน Planfin | 10 คะแนน |
1.1 Planfin รายได้ +5 % ขึ้นไป | 5 คะแนน |
1.2 Planfin ค่าใช้จ่าย ไม่เกิน + 5 % | 5 คะแนน |
2. การบริหารต้นทุนบริการไม่เกินค่ากลางกลุ่มโรงพยาบาล | 20 คะแนน |
2.1 Unit Cost OP (Mean+1SD) | 5 คะแนน |
2.2 Unit Cost IP (Mean+1SD) | 5 คะแนน |
2.3 LC ค่าแรงบุคลากร (Mean) | 2.5 คะแนน |
2.4 MC ค่ายา (Mean) | 2.5 คะแนน |
2.5 MC ค่าเวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุการแพทย์ (Mean) | 2.5 คะแนน |
2.6 MC ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ (Mean) | 2.5 คะแนน |
3. การบริหารจัดการบัญชีและการเงิน | 20 คะแนน |
3.1 ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้การค้ายาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา | 3 คะแนน |
3.2 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ UC | 3 คะแนน |
3.3 ระยะเวลาถั่วเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ CS | 3 คะแนน |
3.4 การบริหารสินค้าคงคลัง | 3 คะแนน |
3.5 คะแนนตรวจบัญชีงบทดลองเบื้องต้น | 3 คะแนน |
3.6 ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบควบคุมภายในด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 5 มิติ (Electronics Internal Audit : EIA) | 5 คะแนน |
4. Productivity ที่ยอมรับได้ | 10 คะแนน |
4.1 อัตราครองเตียง มากกว่าหรือเท่ากับ 80 % หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 | 5 คะแนน |
4.2 Sum of AdjRw เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 | 5 คะแนน |
3. ผลงานในการดำเนินงาน (Outcome Indicator) 30 คะแนน
รายละเอียดการประเมิน | คะแนน |
---|---|
1. ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Operation Margin) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. | 5 คะแนน |
2. อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. | 5 คะแนน |
3. เงินทุนสำรองสุทธิ (NWC) เป็นบวก และเพิ่มขึ้น | 7.5 คะแนน |
4. ผลต่างรายได้และค่าใช้จ่าย (EBITDA) เป็นบวก และเพิ่มขึ้น | 7.5 คะแนน |
5.Cash Ratio เท่ากับหรือมากกว่า 0.8 | 5 คะแนน |
การวิเคราะห์โรงพยาบาลที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน
หน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน
คำนิยาม หน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน หมายถึง หน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีวิกฤติทางการเงิน ตามหลักเกณฑ์การคิดวิกฤติทางการเงิน ระดับ 7 (Risk Scoring) โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน 5 รายการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน 5 รายการ ประกอบด้วย
อ้างอิงจาก แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยสำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและกองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข
- อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio : CR) = สินทรัพย์หมุนเวียน หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน
- อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio : QR) = (สินทรัพย์หมุนเวียน หักด้วย สินค้าคงเหลือ หักด้วย สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น) หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน
- อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratio : Cash Ratio) (เงินสด บวกกับ รายการเทียบเท่าเงินสด บวกกับ เงินฝากประจำ) หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน
- ทุนสำรองสุทธิ (Net Working Capital : NWC) = สินทรัพย์หมุนเวียน หักด้วย หนี้สินหมุนเวียน
- รายได้สูง(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ (Net Income : NI) = รวมรายได้ หักด้วย รวมค่าใช้จ่าย
อัตราส่วนทางการเงินทั้ง 5 รายการข้างต้นถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สถานการณ์ ทางการเงินของหน่วยบริการโดยกำหนดเกณฑ์สำหรับการประเมินโดยมีค่ากลางของแต่ละหน่วยบริการ มาเปรียบเทียบกับค่ากลางของอุตสาหกรรม ดังนี้
- กลุ่มแสดงความคล่องตามสภาพสินทรัพย์
- 1.1 CR < 1.5
- 1.2 QR < 1.0
- 1.3 Cash < 0.8
- กลุ่มแสดงความมั่นคงทางการเงิน
- 2.1 แสดงฐานะทางการเงิน ทุนหมุนเวียน (NWC) < 0
- 2.2 แสดงฐานะจากผลประกอบการ (กำไรสุทธิ) (กำไรสุทธิรวมค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย Net Income NI) NI < 0
- กลุ่มแสดงระยะเวลาเข้าสู่ปัญหาการเงินรุนแรง
- 3.1 NWC/ANI ระยะเวลาทุนหมุนเวียนหมด < 3 เดือน*
- 3.2 NWC/ANI ระยะเวลาทุนหมุนเวียนหมด < 6 เดือน
*โดยให้น้ำหนักของ NWC/ANI ระยะเวลาทุนหมุนเวียนหมด < 3 เดือน มากกว่าตัวแปรอื่น 2 เท่า ทั้งนี้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้นำเงื่อนไข มาใช้ในการจัดกลุ่มโรงพยาบาลที่ประสบวิกฤตทางการเงินเป็น 7 ระดับ ดังนี้
- ระดับ 0 – 1 ปกติ
- ระดับ 2 คาดว่าจะดีขึ้นภายใน 3 เดือน
- ระดับ 3 คาดว่าจะดีขึ้นภายหลัง 3 เดือน
- ระดับ 4 คาดว่าจะประสบปัญหาภายหลัง 6 เดือน
- ระดับ 5 คาดว่าจะประสบปัญหาภายใน 6 เดือน
- ระดับ 6 คาดว่าจะประสบปัญหาภายใน 3 เดือน
- ระดับ 7 มีภาวะวิกฤตทางการเงินขั้นรุนแรง
การประเมินหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะประเมินทุกสิ้นไตรมาส โดยกำหนดให้หน่วยบริการที่ได้ระดับ 7 ซึ่งมีภาวะวิกฤตทางการเงินขั้นรุนแรง และระดับ 6 ที่คาดว่าจะประสบปัญหาภายใน 3 เดือน ทั้งนี้ ระบบข้อมูลบัญชีของหน่วยบริการที่ดีมีคุณภาพมีส่วนสำคัญที่ทำให้ผลการประเมินสถานะทางการเงินที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นได้
การบันทึกเบิกกรณีผู้ป่วยเบาหวาน (T1DM GDM PDM)
กรณีผู้ป่วยเบาหวาน (T1DM GDM PDM) ที่มีการปรับเปลี่ยนอัตราจ่าย ระบบดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ทั้งส่วนของรหัสเบิก และการแก้ไขวันที่ลงทะเบียนหน้าเว็บ
หมายเหตุ กรณีใช้ offline ขอให้หน่วยบริการ update databasepatch DatabasePatch25650425 ก่อน เพื่อ update รหัสเบิกที่ถูกต้อง หากเบิกรหัสที่ยกเลิกไปแล้วจะไม่ได้รับการจ่ายชดเชย
การบันทึกเบิกค่าจัดการศพโควิด
สำหรับการให้บริการแก่ประชาชนไทยทุกคน
- นิยาม
- “ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด 19 สำหรับบุคลากรที่จัดการศพผู้เสียชีวิต”หมายถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด 19 ไปยังบุคลากรทางการแพทย์บุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยถือว่าเป็นบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคโควิด 19
- หลักเกณฑ์เงื่อนไขการจ่าย
- เป็นค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับบุคลากรที่จัดการศพผู้เสียชีวิต เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด 19 ไปยังบุคลากรทางการแพทย์ บุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
- อัตราจ่ายค่าใช้จ่าย
- จ่ายในอัตราเหมาจ่าย 2,500 บาทต่อผู้เสียชีวิต
ประชุมชี้แจงการเบิกจ่ายค่าบริการสาธารณสุขกรณี Covid-19
ประชุมชี้แจงการเบิกจ่ายค่าบริการสาธารณสุขกรณี Covid-19
เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการชดเชยค่าบริการสาธารณสุข กรณีโรคโควิด 19 สำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในวันจันทร์ ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น .