Guideline for Intermediate Care in Hip Fracture
คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลางสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก Guideline for Intermediate Care in Hip Fracture (Fragility Fracture) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan)
กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรง (fragility hip fracture) เป็นปัญหาสำคัญที่พบมากขึ้นทั่วโลก รวมทั้งอุบัติการณ์กระดูกสะโพกหักในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน คาดการณ์แนวโน้มที่สูงขึ้นเนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นในโรงพยาบาบาล ภายหลังจากกระดูกสะโพกหักส่งผลให้เกิดภาวะทุพพลภาพภาวะแทรกช้อนจากการนอนติดเตียงและอัตราการเสียชีวิต (mortalty rate) โดยเฉพาะอัตราการเสียชีวิตที่สูง โดยเฉพาะในปีแรกหลังกระดูกสะโพกหัก) สาเหตุของกระดูกสะโพกหักที่สำคัญคือ การพลัพลัดตกหกล้ม โดยมีเหตุส่งเสริมคือ ภาวะกระดูกพรุน ทั้งนี้การผ่าตัดเป็นการรักษาที่จำเป็นในผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก โดยเฉพาะภายใน 48-72 ชั่วโมง
การดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักตามมาตรฐานในระยะเวลาที่เหมาะสม จึงมีความสำคัญยิ่งในการช่วยผู้ป่วยฟื้นคืนสภาพสู่สภาวะปกติ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และลดความพิการถาวรที่อาจเกิดขึ้น ทีมสหสาขาวิชาชีพและระบบการจัดการดูแลรักษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักแบบองค์รวมตั้งแต่ในโรงพยาบาล และหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลไปยังชุมชนนั้น สามารถช่วยลดโอกาสการเกิดกระดูกสะโพกหักซ้ำ และประหยัดภาระงบประมาณในการดูแลรักษาและฟื้นฟู ตลอดจนภาระการดูแลทางสังคมและครอบครัวรวมถึงช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้
- ส่วนที่ 1 Policy brief Intermediate care สำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก
- ส่วนที่ 2 คำนิยามสำคัญในงาน Intermediate care สำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก
- ส่วนที่ 3 วัตถุประสงค์ของ Intermediate care สำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก
- ส่วนที่ 4 การพัฒนาระบบบริการ Intermediate care สำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก
- ส่วนพี่ 5 แนวทางการดูแล Intennedate care สำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกพัก
- ส่วนที่ 6 รูปแบบการให้บริการ Intermediate care สำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก
- ส่วนที่ 7 ตัวอย่าง Care protocol สำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกทัก
- ส่วนที่ 8 ตัวอย่างการดำเนินงานในพื้นที่