วิธีการที่กำหนดให้มีการพิสูจน์ตัวตนของผู้รับบริการเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการ (Authentication) ปีงบประมาณ 2567

  • 1.) สปสช.กำหนดรายการบริการที่ให้มีการพิสูจน์ตัวตนของผู้รับบริการเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการ (Authentication) ด้วยวิธีการใช้บัตรประชาชน Smart Cardโดยกำหนดช่วงเวลาในการดำเนินการเป็นระยะ เริ่มดำเนินการสำหรับรายการบริการบางกรณีตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป
  • 2) การให้บริการของหน่วยบริการในจังหวัดนำร่อง ตามนโยบายบัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ ที่ใช้วิธีการแสดงตนยืนยันสิทธิเมื่อสิ้นสุดการรับบริการด้วยวิธีการในข้อ 6 การพิสูจน์ตัวตน (Authentication) และการส่งข้อมูลเบิกจ่ายภายในวันที่รับบริการ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง มาตรการในการดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการ พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.2567 เป็นต้นไป กำหนดรายการและวิธีการ Authentication ตามที่ระบุ
  • 3) กรณีที่หน่วยบริการมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทำให้ไม่สามารถใช้วิธีการพิสูจน์ตัวตนของผู้รับบริการเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการ (Authentication) ด้วยวิธีการใช้บัตรประชาชน Smart Card ให้แจ้งเหตุผลความจำเป็นต่อ สปสช. เป็นรายกรณี
  • 4) กรณีผู้ต้องขัง เด็กในสถานพินิจ เด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี พระภิกษุ สามารถดำเนินการ Authentication ด้วยวิธีการอื่นตามที่ สปสช. กำหนด
  • 5) ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2567 เป็นต้นไป มีการขยายพื้นที่ดำเนินการตามนโยบายบัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ครอบคลุมทั้งประเทศซึ่งตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง มาตรการในการดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการ พ.ศ.2567 หน่วยบริการต้องจัดให้ผู้มีสิทธิแสดงตนยืนยันสิทธิเมื่อสิ้นสุดการรับบริการเพื่อประกอบการขอรับค่าใช้จ่าย โดยกรณีที่หน่วยบริการใช้วิธีการตามข้อ 6 การพิสูจน์ตัวตน (Authentication) และการส่งข้อมูลเบิกจ่ายภายในวันที่รับบริการ ตามประกาศดังกล่าว ให้ใช้วิธีการ Authentication ด้วยการใช้บัตรประชาชน Smart Card ในทุกรายการบริการที่กำหนดให้มีการ Authentication ยกเว้น
    • 5.1 กรณีมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ให้แจ้งเหตุผลความจำเป็นต่อ สปสช. เป็นรายกรณี
    • 5.2 กรณีการให้บริการแก่กลุ่มผู้ต้องขัง เด็กในสถานพินิจ เด็กอายุต่ากว่า 7 ปี พระภิกษุ สามารถดำเนินการ Authentication ด้วยวิธีการอื่นตามที่ สปสช. กำหนด
  • 6) การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการ ที่ผู้มีสิทธิไม่มีการพิสูจน์ตัวตนของผู้รับบริการเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการ (Authentication) หรือผู้มีสิทธิไม่ได้แสดงตนยืนยันสิทธิเมื่อสิ้นสุดการรับบริการ ตามวิธีการที่กำหนด สปสช.ไม่สามารถจ่ายค่าใช้จ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับหน่วยบริการได้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ให้แจ้งความจำเป็นต่อ สปสช. เพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณี

ลิงค์ Video FB Live

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Previous post ประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว