ปรับปรุงแนวทางการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ในระบบUC

Read Time:2 Minute, 35 Second

อ้างถึง

๑) หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช.๒.๕๗/ว.๒๐๑๔ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๔
๒) หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช.๒.๕๗/ว.๓๘๗๖ ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔
๓) หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช.๖.๗๐/ว.๔๓๒๒ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔

ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งแนวทางขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีการตรวจคัดกรองและตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามรายละเอียดที่ทราบแล้วนั้น ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นวงกว้าง เพื่อเป็นการเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองของประชาชนไทยทุกคน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีข้อแนะนำแนวทางการใช้ Antigen Test Kit (ATK) สำหรับการตรวจการติดเชื้อโควิด 19 และ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้รับทราบ และเห็นชอบให้นำไปดำเนินการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ดังนี้

  • ๑) กรณีการออกตรวจนอกพื้นที่ ให้ใช้ ATK เป็นหลักในการตรวจเนื่องจากทราบผลได้ทันที ให้ยกเลิกการทำ Active Case Finding (ACF) โดย RT-PCR และให้ใช้ ATK ในการคัดกรองเบื้องต้นแทน
  • ๒) กรณีการมาขอรับบริการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ที่สถานพยาบาล หากที่ไม่เข้าข่ายของ ARI Clinic ให้ดำเนินการตรวจด้วย ATK ทั้งหมด
  • ๓) เมื่อทราบผล ATK จึงเข้าสู่กระบวนการตามแนวทางของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังนี้
    • ๓.๑) กรณีผล ATK เป็นลบ แนะนำให้สังเกตอาการ และป้องกันตนเองโดยหลัก DMHTT อย่างเคร่งครัด เนื่องจากอาจมีผลลบปลอม (false negative) แต่หากมั่นใจว่าสัมผัสใกล้ชิด หรือเสี่ยงชัดเจนให้ตรวจซ้ำหลังจากนั้น 3 – 5 วัน หรือทันทีที่มีอาการ
    • ๓.๒) กรณีผล ATK เป็นบวก ให้ประเมินอาการผู้รับบริการ และให้บริการตามแนวทาง คือ ระดับสีเขียว จัดบริการ Home Isolation (HI) กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำ แต่ถ้าจะนำเข้า Community Isolation (CI) ขอให้ยืนยันผลอีกครั้งด้วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อในกลุ่ม CI กรณีประเมินแล้วมีอาการ ระดับสีเหลืองหรือสีแดง ให้เข้าสู่ระบบบริการในโรงพยาบาล และตรวจซ้ำด้วย หากพบผล Negative อาจไม่ใช่การติดเชื้อ COVID-19 แต่ก็สามารถให้การดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์ กรณี Positive ให้รายงานยืนยันการป่วย และรักษาตามแนวทางการรักษาที่กรมการแพทย์กำหนด

ในการนี้ สปสช.ขอซักซ้อมแนวทางการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสถานบริการอื่น ให้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ กรณีแพทย์ผู้ดูแลรักษาพิจารณาแล้วมีความจำเป็น ต้องตรวจยืนยันการติดเชื้อ ด้วยวิธี RT-PCR สามารถส่งสิ่งส่งตรวจไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ที่ขึ้นทะเบียนเป็นของหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเทคนิคการแพทย์ หรือสถานบริการอื่น ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยขอรับค่าใช้จ่ายการตรวจ RT-PCR มายัง สปสช.ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่กำหนด

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Previous post ประกาศแนวทาง HI CI สิทธิประกันสังคม
Next post สปส. ประกาศหลักเกณฑ์ช่วยเหลือกรณีความเสียหายจากการฉีดวัคซีนcovid-19