ต่างด้าว68-แนวทางตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าวปี68
ตัวชี้วัด68-ร้อยละของหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน (ระดับ 6 และ ระดับ 7)
โปรแกรมการจัดตั้งและปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ
แผนงานโครงการและตัวชี้วัด สธ. ปี 2568
KPI Template 68
ประกาศกองทุนปี68
ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การดำเนินงานและการบริหารจัดการ
กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
และค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติอุปกรณ์ใช้เก็บของเสีย
การประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และ แนวปฏิบัติในการเลือกใช้วัสดุ/อุปกรณ์ใช้เก็บของเสียในผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม(Colostomy bag) ผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรมไทยภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
วันจันทร์ที่ 11 เดือน กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.30 12.00 น.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สถานการณ์เรียกเก็บรายได้รพ.สต.2566
สถานการณ์การเรียกเก็บเงินรายได้ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น สังกัด อบจ.ขอนแก่น ปี 2566 ประกอบการประชุมร่วมระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ตัวแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่ข่าย ตัวแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดขอนแก่น
ประกาศ Home Ward 2566
ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้านพ.ศ. ๒๕๖๖
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อให้ผู้ป่วยในที่ บ้านได้รับบริการสาธารณสุขที่ มีมาตรฐานและครอบคลุมกลุ่มโรคหรือกลุ่มอาการที่จำเป็นมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ และข้อ ๒๐.๑๐.๘ แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
แนวปฏิบัติในการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในการทำงาน
แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กระทรวงสาธารณสุข
การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ทำงานในเรื่องชีวิตทางเพศและสิทธิในการทำงานที่บุคคลควรได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้งยังขัดขวางโอกาสต่าง ๆ ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ โดยมีสาเหตุสำคัญ คือ การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ แม้ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้กฎหมายที่มุ่งส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และกำหนดโทษ สำหรับผู้กระทำการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศหลายฉบับแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ของการล่วงละเมิด หรือคุกคามทางเพศยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานของบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข จัดทำแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓ ที่เห็นชอบการปรับปรุงมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะส่งผลให้บุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกคน ได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี ปราศจากการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน มีความตระหนักและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ตลอดจนกำหนดมาตรการป้องกันและจัดการกับปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานที่เกิดขึ้นให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ